การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ
โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
ผู้วิจัย นายภูริวัต ขุนสุนทร ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
ปีที่ศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ 1.เพื่อศึกษาสภาพและแนวการบริหารจัดการงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 2.เพื่อสร้างการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 2 สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 3.เพื่อประเมินการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี และ 4.เพื่อศึกษาผลการใช้การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จำนวน 56 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 283 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 283 คน ซึ่งการคัดเลือกนักเรียนกลุ่มตัวอย่างใช้เกณฑ์ความสามารถสื่อสารได้ ในปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ 2) แบบตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 4 ฉบับ 3) แบบตรวจสอบผลการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน 4) แบบตรวจสอบผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ 5) รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ NTและ O-NET ดำเนินการตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศโดยผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และครูผู้มีประสบการณ์สอนไม่น้อยกว่า 10 ปี วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและแนวการบริหารจัดการงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พบว่า ผู้บริหารขาดการวางแผนงานมีการกำหนดเป้าหมายแต่ขาดการปฏิบัติตามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ๆ ด้านครูและกิจกรรมการเรียนรู้ ไม่มีการวิเคราะห์หลักสูตร ขาดการวางแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลไม่เป็นระบบ ด้านคุณภาพของนักเรียนระบบการประเมินผลไม่สอดคล้องกับสภาพจริง และด้านการรายงานผลไม่จัดทำเอกสารเกี่ยวกับการประเมินและสรุปงาน และแนวทางการบริหารจัดการงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พบว่า ผู้บริหารต้องมีระบบการวางแผนงาน มีการจัดทำแผน พันธกิจ เป้าหมายให้ชัดเจน และควรจัดวางระบบการนิเทศอย่างต่อเนื่อง ด้านครูควรมีการวิเคราะห์หลักสูตร วางแผนระบบการบริหารจัดการชั้นเรียน มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ โดยมีการกำหนดรูปแบบการวัดและประเมินอย่างชัดเจน และบันทึกหลังสอนให้เห็นถึงปัญหาในการจัดการชั้นเรียน แนวทางการแก้ปัญหา ผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียนหลังจากแก้ไขปัญหา และควรจัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อเผยแพร่แนวทางการแก้ไขปัญหาให้ครูผู้สอนในบริบทใกล้เคียงกันนำมาปรับใช้กับผู้เรียนต่อไป
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พบว่า ผลการยกร่างรูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 กำหนดนโยบาย (Policy) ขั้นที่ 2 นำนโยบายสู่ห้องเรียน (Do) ขั้นที่ 3 ร่วมนำสู่การปฏิบัติ (Acting) ขั้นที่ 4 ร่วมสะท้อนผลสู่การพัฒนา (Reflecting) และขั้นที่ 5 พัฒนางานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ (Excellence) และผลการประเมินความเหมาะสม และความสอดคล้องของร่างรูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และครู พบว่า ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X-bar =4.28, S.D.=0.56)
3. ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยผู้บริหารสถานศึกษาและครู พบว่า ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X-bar =4.26, S.D.=0.56)
4. ผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี สรุปได้ 3 ประเด็นหลัก ดังนี้
4.1 ผลการบริหารงานของรูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กำหนดนโยบาย (Policy) ขั้นที่ 2 นำนโยบายสู่ห้องเรียน (Do) มี ขั้นที่ 3 ร่วมนำสู่การปฏิบัติ (Acting) ขั้นที่ 4 ร่วมสะท้อนผลสู่การพัฒนา (Reflecting) ขั้นที่ 5 พัฒนางานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ (Excellence) พบว่า ค่าเฉลี่ยในภาพรวมทุกขั้นตอนอยู่ในระดับมาก
4.2 ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้รูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (X-bar =4.33 ; S.D.=0.51) เมื่อพิจารณาคะแนนพัฒนาการสองปีติดต่อกันในปีการศึกษา 2563 – 2564 ตามกลุ่มสาระฯ พบว่า กลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีคะแนนพัฒนาการสูงที่สุด รองลงมามี 2 อันดับ คือ กลุ่มสาระฯ ภาษาต่างประเทศ และกลุ่มสาระฯ การงานอาชีพ ผลการประเมินการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2563 - 2564 พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นทุกกลุ่มสาระฯ ตลอดสองปีการศึกษาเมื่อเทียบกับต้นสังกัด ในขณะที่ผลการพัฒนาของการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O- NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าต้นสังกัดทุกกลุ่มสาระฯ ทั้งสองปีการศึกษา แต่เมื่อพิจารณาผลการพัฒนาของการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O- NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า กลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าต้นสังกัด ในขณะที่กลุ่มสาระฯ อื่นมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าต้นสังกัด ตลอดสองปีการศึกษา
4.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ปีการศึกษา 2563 -2564 พบว่า มีความพึงพอใจภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar =4.64, S.D.= 0.48)