รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัย
ผู้รายงาน นางสาวอาอีฉ๊ะ มะแซ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนบ้านปากบางนาคราช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบทและสภาพแวดล้อม ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ประกอบด้วย ความสำเร็จของโครงการและกิจกรรม พฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักเรียน และความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 50 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 7 คน ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2564 จำนวน 50 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 7 ฉบับ โดยเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) มากกว่า .05 ทุกฉบับ และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟา โดยมีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไปทุกฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฯ โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านความต้องการจำเป็น ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน ด้านความเป็นไปได้ของโครงการ โดยภาพรวม ทั้ง 2 กลุ่ม ที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก (μ= 4.24, σ = 0.35) และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกรายการ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฯ โดยประเมิน 5 ด้าน คือ ด้านความพร้อม ด้านบุคลากร ด้านความเพียงพอของงบประมาณ ด้านวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านหน่วยงานที่สนับสนุน โดยภาพรวม ทั้ง 2 กลุ่ม ที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก (μ= 4.25, σ = 0.45) และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกรายการ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฯ โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผนการดำเนินงาน (P) ด้านการดำเนินการจัดกิจกรรม (D) ด้านการติดตามประเมินผล (C) และด้านการนำผลการประเมินไปปรับปรุง/พัฒนา (A) โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมิน พบว่า มีระดับการปฏิบัติ/คุณภาพ อยู่ในระดับ มาก (μ= 4.29, σ = 0.27) และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกรายการ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 สรุปผลสำเร็จของโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตามความคิดเห็นของนักเรียนครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับ มาก ( = 4.23, = 0.25) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.2 สรุปผลสำเร็จของกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม พบว่ามีผลการประเมิน อยู่ในระดับ มาก (= 4.31 , = 0.37) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.3 สรุปคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนจาการดำเนินงานโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีผลการประเมินคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน จากการดำเนินงานโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัย โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติ/คุณภาพ อยู่ในระดับ มาก ( =4.31 , = 0.23) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.4 สรุปความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัย อยู่ในระดับ มาก ( = 4.37, = 0.40) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. จากผลการประเมินประเด็นบริบท พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก ดังนั้นผู้บริหารจึงควรกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้ละเอียดและชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติกิจกรรมได้จริง เพราะบริบทของโครงการถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการการดำเนินโครงการ การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและความเป็นไปได้ของโครงการจะเป็นเข็มทิศชี้นำการปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จได้ดี จึงควรมีการพิจารณาถึงความต้องการจำเป็นของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพปัญหา ตามบริบทของโรงเรียนและชุมชน อันเป็นการตอบสนองความต้องการของนักเรียนและชุมชนอย่างแท้จริง
2. จากผลการประเมินในประเด็นปัจจัยนำเข้าโครงการ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก ดังนั้น ผู้บริหารจึงควรระดมทรัพยากรและงบประมาณจากภาคส่วนต่าง ๆ นอกเหนือจากเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมให้เพียงพอและเหมาะสมกับการทำกิจกรรม และควรสร้างขวัญกำลังใจและพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้พร้อมก่อนการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
3. จากผลการประเมินในประเด็นกระบวนการ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก ดังนั้นผู้บริหารควรมีการแต่งตั้งกรรมการรับผิดชอบโครงการและกิจกรรมตามความรู้ความสามารถและความถนัด เมื่อดำเนินกิจกรรมแล้วควรมีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินกิจกรรมเป็นระยะในรูปแบบต่าง ๆ ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ มีการขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกหรือพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถให้คำแนะนำช่วยเหลือ และติดตามผลในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมมาปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นและหลากหลายเพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ยิ่งขึ้น
4. จากผลการประเมินในประเด็นผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากนักเรียน ผู้ปกครอง และครู มีความพึงพอใจต่อโครงการในระดับ มาก จึงควรจัดกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะกับความต้องการและสภาพปัญหาของนักเรียน เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และครู และเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะในการวิจัย หรือประเมินครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาสภาพปัญหา หรือปัจจัยจำเป็น ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้าน ต่าง ๆ เพื่อจัดทำโครงการให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
2. ควรส่งเสริมให้มีการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความพร้อมให้กับโรงเรียน ผู้เรียน และชุมชน
3. ควรดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐ และเอกชน ชุมชน ห้างร้านต่าง ๆ เพื่อการสนับสนุนโรงเรียนในด้านทรัพยากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และประชาสัมพันธ์ แก่สาธารณชนได้รับรู้