การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง พลเมืองดิจิทัล ตามแนวคอนสตรัคติวิส
เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางสาวดวงดาว โกกะพันธ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่ศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง พลเมืองดิจิทัล ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่อง พลเมืองดิจิทัล ตามแนวคอนสตรัค
ติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง พลเมืองดิจิทัล ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง พลเมืองดิจิทัล ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ การวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย (1) บทเรียนออนไลน์ เรื่อง พลเมืองดิจิทัล ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง พลเมืองดิจิทัล ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (4) แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ เรื่อง พลเมืองดิจิทัล ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที (t- test dependent)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องต้องการให้มีการสร้างบทเรียนออนไลน์ เรื่อง พลเมืองดิจิทัล ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2. ผลการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง พลเมืองดิจิทัล ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริม
การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 81.75/82.14 ซึ่งเป็นไป
ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
3. ผลการนำบทเรียนออนไลน์เรื่อง พลเมืองดิจิทัล ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่อง พลเมืองดิจิทัล ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่อง พลเมืองดิจิทัล ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ เรื่อง พลเมืองดิจิทัล ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.62 ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.36)