Happy School Model
โรงเรียนวัดรางกำหยาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จากการประชุมปรึกษาหารือระหว่าง ผู้บริหาร ครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายผู้ปกครอง และคณะกรรมการสภานักเรียน ได้ร่วมกันพิจารณาหาแนวทางในการจัดกิจกรรม โดยมุ่งเน้นการแก้ปัญหา 3 ประเด็นหลัก ในด้านข้อจำกัดของการบริหารจัดการศึกษา ดังนี้
1) ด้านผู้เรียน ต้องการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 9 ประการให้เกิดกับผู้เรียน
2) ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา มีการย้ายสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาระงานขาดความต่อเนื่องและไม่เข้าใจในบริบทของงานอย่างแท้จริง
และ 3) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจหลักการบริหารจัดการสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้รับบริการ มติที่ประชุมจึงเห็นชอบในการจัดรูปแบบ “โรงเรียนแห่งความสุข : HAPPY School Model”
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการและการจัดการสถานศึกษาคุณภาพด้วยรูปแบบ โรงเรียนแห่งความสุข : HAPPY School Model โดยใช้กิจกรรม 5 รัก 5 ดี (D) วิถีพอเพียง ของโรงเรียนวัดรางกำหยาด
2) เพื่อพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการและการจัดการสถานศึกษาคุณภาพด้วยรูปแบบ โรงเรียนแห่งความสุข : HAPPY School Model โดยใช้กิจกรรม 5 รัก 5 ดี (D) วิถีพอเพียง ของโรงเรียนวัดรางกำหยาด และ
3) เพื่อศึกษาการใช้รูปแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการและการจัดการสถานศึกษาคุณภาพด้วยรูปแบบ โรงเรียนแห่งความสุข : HAPPY School Model โดยใช้กิจกรรม 5 รัก 5 ดี (D) วิถีพอเพียง ของโรงเรียนวัดรางกำหยาดสู่ความยั่งยืน ดำเนินการจัดโครงการ / กิจกรรมให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจของโรงเรียน โดยนำพันธกิจหลักของโรงเรียนมากำหนดรูปแบบดำเนินการจัดโครงการ / กิจกรรม ขับเคลื่อนโดยใช้วงจรคุณภาพแดมมิ่ง (P-D-C-A) ควบคู่กับกิจกรรม 5 รัก 5 ดี (D) วิถีพอเพียง
รูปแบบ“โรงเรียนแห่งความสุข : HAPPY School Model” ขับเคลื่อนโดยใช้กระบวนการ P-D-C-A ควบคู่กับกิจกรรม 5 รัก 5 ดี (D) วิถีพอเพียง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณธรรมตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน และการบริหารจัดการสถานศึกษาคุณภาพ ปัจจัยส่งเสริมกิจกรรมให้ประสบความสำเร็จ ตั้งแต่การศึกษาข้อมูลพื้นฐานตามนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนพัฒนาการศึกษาชาติ นโยบายหน่วยบังคับบัญชา แผนพัฒนาการศึกษาโรงเรียน สภาพแวดล้อมและบริบทของโรงเรียน ปัจจัยการบริหารจัดการ ๔ M ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และบริหารจัดการสู่กระบวนการปฏิบัติ (Process) ซึ่งมีการบริหารจัดการแบบองค์รวม (Holistic Management : H) การปฏิบัติกิจกรรม (Activities : A) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (Participation : P) การเผยแพร่และพัฒนาต่อยอด (Publication : P) ผลงานเชิงประจักษ์ (Yield : Y) ไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนและการบริหารจัดการสถานศึกษาคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนักเรียนเป็นสุข ครูเป็นสุข สภาพแวดล้อมเป็นสุข ผู้ปกครองเป็นสุข ชุมชนเป็นสุข
รูปแบบ“โรงเรียนแห่งความสุข : HAPPY School Model” ขับเคลื่อนโดยใช้กระบวนการ P-D-C-A ควบคู่กับกิจกรรม 5 รัก 5 ดี (D) วิถีพอเพียง โดยจัดกิจกรรมประจำวัน 5 รัก ได้แก่ 1) วันจันทร์ : กิจกรรมรักโรงเรียน (ร่วมแรงร่วมใจ คนรุ่นใหม่ใส่ใจ สิ่งแวดล้อม) 2) วันอังคาร : กิจกรรมรักศาสนา (ศีล สมาธิ ปัญญา นำพาชีวีให้มีสุข) 3) วันพุธ : กิจกรรมรักการออม ซ้อมการอ่าน (เกิดศรัทธา ปัญญา และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง) 4) วันพฤหัสบดี : กิจกรรมรักตนเอง (รู้รักสามัคคี มีวินัย ใส่ใจตนเอง) และ 5) วันศุกร์ : กิจกรรมรักความเป็นไทย (แต่งกายสะอาด มารยาทงาม รักความเป็นไทย) เกิดคุณธรรมความพอเพียงด้วยกิจกรรม 5 ดี (D) คือ1) สถานที่ดี D1 = Democracy หมายถึง ดำเนินชีวิตด้วยวิถีประชาธิปไตย ทำงานร่วมกันโดยยึดหลักการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกัน ยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้เกียรติ เคารพกติกาการอยู่ร่วมกัน และร่วมมือกันประสานประโยชน์ให้เกิดกับโรงเรียน มีจิตอาสาเพื่อส่วนรวม รักษ์สิ่งแวดล้อม เกิดอัตลักษณ์เฉพาะตน “รักความสะอาด 2) ชุมชนดี D2 = Decency หมายถึง เกิดคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม มีจิตสำนึกความภาคภูมิใจ และยึดมั่นในความดีตามหลักพระพุทธศาสนา สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 3) เวลาดี D3= Development หมายถึง กระตุ้นการพัฒนาตนเองอย่างสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้านแบบค่อยเป็นค่อยไป4)สถานที่ดี D4= Daily routine หมายถึง เกิดสำนึกดีปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวัน สร้างความรักความผูกพันต่อโรงเรียน ทำตามระเบียบของโรงเรียน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รู้จักหลีกเลี่ยง ป้องกันตนเองให้ห่างไกลยาเสพติดและอบายมุขต่าง ๆ หันมาดูแลใส่ใจสุขภาพอนามัยของตนเอง และสร้างภูมิต้านทานที่ดีให้กับตนเองทั้งกายและใจ ใช้สติในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ 5) บุคลากรดี D5 = Decorum หมายถึง เกิดสำนึกในมารยาทที่ดีมีคุณลักษณะประจำตัวของบุคคล ควรประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีจนเป็นนิสัย รักในประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นและวัฒนธรรมไทย ฝึกมารยาท เพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณธรรมตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน และการบริหารจัดการสถานศึกษาคุณภาพโดยกระบวนการปฏิบัติซึ่งมีการบริหารจัดการแบบองค์รวม (Holistic Management : H) การปฏิบัติกิจกรรม (Activities : A) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (Participation : P) การเผยแพร่และพัฒนาต่อยอด (Publication : P) ผลงานเชิงประจักษ์ (Yield : Y) ไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนและการบริหารจัดการสถานศึกษาคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนักเรียนเป็นสุข ครูเป็นสุข สภาพแวดล้อมเป็นสุข ผู้ปกครองเป็นสุข ชุมชนเป็นสุข
การใช้นวัตกรรมการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและการจัดการสถานศึกษาคุณภาพโดยใช้นวัตกรรม โรงเรียนแห่งความสุข : HAPPY School Model มีผลการพัฒนาดังนี้
ผลที่เกิดขึ้นกับผู้บริหาร
- ผู้บริหารมีแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษาไปสู่โรงเรียนแห่งความสุข
- ผู้บริหารมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบโดยใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เหมาะสมต่อสภาพบริบทและความต้องการจำเป็นในปัจจุบัน
- ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับการยอมรับ จากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ
หน่วยงานต้นสังกัด ตลอดจนหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยได้เข้ามาศึกษา เยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
- ผู้บริหารได้รับความร่วมมือระหว่างผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาในการปลูกฝังและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีความรู้ คู่คุณธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดีสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมของนักเรียนโรงเรียนวัดรางกำหยาด
- ผู้บริหารได้มีการนำนวัตกรรมรูปแบบการบริหารจัดการและการจัดการสถานศึกษามาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
- ผู้บริหารมีการบริหารจัดการที่ดี ที่มีความเข้มแข็ง สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาจากผู้ปกครอง และชุมชน มีความพร้อมให้การสนับสนุน และพัฒนาโรงเรียนทุก ๆ ด้านด้วยความเต็มใจ
ผลที่เกิดขึ้นต่อครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ
- ครูผู้สอนมีการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม
- ครูผู้สอนมี ความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการใช้นวัตกรรม มีการวิเคราะห์ข้อมูล O-NET เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้วยกระบวนการ Active Leaning
- ครูผู้สอนมีการเตรียมการสอน มีแผนการจัดการเรียนรู้ และมีสื่อการจัดการเรียนรู้ที่เพียงพอ
- ครูผู้สอนพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย จนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากหน่วยงานต้นสังกัด
- ครูผู้สอนมีเทคนิคการสอนที่ดี มีความอดทน มีความรับผิดชอบ มุ่งมั่น เสียสละในการปฏิบัติงาน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละครั้ง
- ครูผู้สอนมีการนิเทศภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีการนิเทศที่หลากหลายและนำผลการนิเทศไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียน
- ครูผู้สอนสามารถพัฒนาหลักสูตร ออกแบบการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ ส่งเสริมสนับสนุนประสานกับชุมชนให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชุมชนหรือองค์กรภายนอกจัดขึ้น
- คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ มีการติดต่อประสานงานในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
- คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาฯ