LASTEST NEWS

23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567

นวัตกรรม PALECO PLUS SS กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (อ.ส.)

usericon

แบบรายงานนวัตกรรม
1. นวัตกรรม PALECO PLUS SS
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
3. แนวคิดการคิดค้นนวัตกรรม
    แสวงหานวัตกรรม/แบบอย่างที่ดีจากแหล่งต่าง ๆ ที่เคยมีผู้สร้างหรือทำไว้แล้ว แล้วนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาใหม่
4. ประเภทของนวัตกรรม
    การจัดการเรียนรู้
5. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
    พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ซึ่งเป็นกฎหมายการศึกษาฉบับแรกของประเทศไทยในหมวด 4 แนวการจัดการศึกษาที่เน้นโดยสรุปว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ใช้กระบวนการเรียนรู้หาความรู้ มีการบูรณาการ ใช้แหล่งการเรียนรู้หลากหลาย เป็นการวัดประเมินตามสภาพจริง (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564) และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579 ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพคนในสังคมไทยให้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 แนวการพัฒนาคนดังกล่าวมุ่งเตรียมเด็กและเยาวชนให้มีทัศนคติและพฤติกรรมตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทันสถานการณ์ มีความรับผิดชอบและทำประโยชน์ต่อส่วนรวม มีสุขภาพกายและใจที่ดี ตลอดจนเป็นคนเก่งที่มีทักษะความรู้ความสามารถและพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (สำนักนายกรัฐมนตรี, 2560) ซึ่งแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุคศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม มีความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (กระทรวงศึกษาธิการ ,2551)
    การงานอาชีพเป็นวิชาที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม เนื้อหาวิชาส่วนใหญ่เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิตและทักษะการปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะในการจัดการและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน พัฒนางาน ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความเพียรพยายาม ขยันอดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ภูมิใจในผลงานของตนเอง ตลอดจนสร้างทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต และหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่สนใจ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูสร้างนวัตกรรม โดยมีการประชุม วิเคราะห์ การจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2564 พบว่า นักเรียนขาดทักษะในการคิด และการปฏิบัติงาน ส่งผลให้คะแนนผลสัมฤทธิ์จากการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ชิ้นงานออกมาได้ในระดับปานกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพเล็งเห็นถึงปัญหาและต้องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้อยู่ในระดับดีและดีมาก และเพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ กลุ่มสาระฯ จึงนำเอาระบบ PDCA เป็นวงจรสู่ความสำเร็จมาใช้ในการดำเนินงาน ได้ข้อสรุปเป็นนวัตกรรม PALECO PLUS SS มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ในปีการศึกษา 2565 เพื่อพัฒนาทักษะการคิด การปฏิบัติงานและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น
6. วัตถุประสงค์
6.1 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น
7. กลุ่มเป้าหมาย
    7.1 ประชากร คือ นักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
    7.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์
8. หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้
    การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้กระทำลงไป (Bonwell, 1991 ; Merrill Harminand Melanie Toth, 2006 ; xxx, 1993 ; วิจารณ์ พานิช, 2556 ; วิริยะ ฤๅชัยพาณิชย์, 2560) เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การนําความรู้ไปประยุกต์ใช้เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองนักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนการสอน มีการสร้างองค์ความรู้ การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน ได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทำงาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิด เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิดขั้นสูงเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนบูรณาการข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ และหลักการสู่การสร้างความคิดรวบยอด ผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เป็นที่ปรึกษาคอยชี้แนะเพื่อให้ผู้เรียนได้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้เป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ หรือการลงมือทำ ซึ่งความรู้ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่การวิเคราะห์การสังเคราะห์และการประเมินค่า เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน 2 ประการคือ 1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์และ 2) แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน (Meyers and Jones, 1993) โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ (receive) ไปสู่การ
มีส่วนร่วมในการสร้างความรู้(co-creators) (Fedler and Brent, 1996) การให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ความเข้าใจนำไปประยุกต์ใช้สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าหรือ สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ และพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้นักเรียนได้มีโอกาสร่วมอภิปรายให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสาร ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 70 เปอร์เซ็นต์การนำเสนองานทางวิชาการ เรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบัติในสภาพจริง มีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง 90 เปอร์เซ็นต์ (ไชยยศ เรืองสุวรรณ,2533)
9. การออกแบบนวัตกรรม
การพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุคศตวรรษที่ 21 มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม มีความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ซึ่งการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้กระทำลงไป เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การนําความรู้ไปประยุกต์ใช้เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนการสอน มีการสร้างองค์ความรู้ การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน ได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทำงาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิด เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิดขั้นสูงเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนบูรณาการข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ และหลักการสู่การสร้างความคิดรวบยอด ผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เป็นที่ปรึกษาคอยชี้แนะเพื่อให้ผู้เรียนได้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้เป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ หรือการลงมือทำ ดังนั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพจึงได้ออกแบบนวัตกรรม PALECO PLUS SS มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ในปีการศึกษา 2565 เพื่อพัฒนาทักษะการคิด การปฏิบัติงานและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น
10. วิธีดำเนินการ
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้นนั้น ทางกลุ่มสาระฯมีการดำเนินงานต่อเนื่อง โดยมีแผนการดำเนินงานตามหลัก PDCA ดังนี้
    Plan : วางแผน
1. ขั้นวางแผนการสอน (PLAN)
1.1    การวิเคราะห์มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
การวิเคราะห์มาตรฐาน/ตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
1.2    วิเคราะห์บทบาทครู
        การวิเคราะห์บทบาทครู วางแผนร่วมกันและกำหนดกระบวนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
1.2.1    ครูร่วมกันวางแผน กำหนดเนื้อหาที่จะจัดการเรียนการสอน เน้นการปฏิบัติ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และเข้าใจในเนื้อหารายวิชา
1.2.2    ครูร่วมกันคิดวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยนวัตกรรม PALECO PLUS SS
        นวัตกรรม PALECO PLUS SS พัฒนากระบวนการด้วย SAMER PLUS SS MODEL ของโรงเรียนมาบริหารกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ    
        P - Plan          คือ ประชุมวิเคราะห์วางแผน
A - Active learning    คือ การจัดการเรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติ
L - Life skills        คือ ทักษะชีวิต
E - Evaluate         คือ การประเมินผล
C - Create          คือ การสร้างสรรค์ชิ้นงาน                        
O - Operate         คือ กระบวนการดำเนินงาน                    
S - Sustainable         คือ การพัฒนางานให้ถาวรและยั่งยืน                
S - Standard        คือ การมีแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน
1.3    วิเคราะห์บทบาทผู้เรียน
1.3.1    ศึกษาหลักสูตร โครงสร้างรายวิชา คำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ เนื้อหาสาระ บริบทต่าง ๆ
1.3.2    ศึกษารูปแบบและวิธีการ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning ที่เหมาะสมกับเนื้อหา
1.3.3    จัดเตรียมแหล่งเรียนรู้ สื่อ และอุปกรณ์การเรียนการสอน ประสานงานบุคลากร ชุมชน

Do : ปฏิบัติตามแผน
    2. ขั้นปฏิบัติการ (DO)
        การประเมินก่อนเรียน ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดประเมินผลการเรียนรู้
การเก็บข้อมูล
ขั้นตอนการปฏิบัติ ดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้
        
    Check : ตรวจสอบ
    3. ขั้นตรวจสอบ (Check)
     ประเมินผลจากการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนและการตรวจผลงาน ดังนี้
1) การสังเกตพฤติกรรม ทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียน
2) การสังเกตการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน
    3) ตรวจผลงานจากกิจกรรมการเรียนการสอน
4) ผลการทดสอบก่อนและหลังเรียน
5) ประเมินผลการดำเนินงานการใช้นวัตกรรม
Act : ดำเนินการให้เหมาะสม
4. ขั้นดำเนินการให้เหมาะสม (Act)
ภายหลังจากได้ผ่านกระบวนการตามวงจรมาทั้ง 3 ขั้นตอน ข้างต้นแล้ว ต่อไปเป็นขั้นตอนที่นำผลจากขั้นตรวจสอบมาดำเนินการต่อให้เหมาะสม
กรณีผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้
ให้นำวิธีการหรือกระบวนการปฏิบัตินั้น ๆ มาพยายามปรับใช้ให้กลายเป็นมาตรฐานสำหรับใช้ปฏิบัติกับแผนอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
กรณีผลที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้
เมื่อผลกับแผนไม่เป็นไปตรงตามวัตถุประสงค์ ให้นำข้อมูลที่รวบรวมไว้มาวิเคราะห์ แล้วกลับไปวางแผนใหม่
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^