บทคัดย่อวิชาสังคมศึกษา ป5
คำสำคัญ: รูปแบบการเรียนการสอน/โครงงานเศรษฐกิจพอเพียง/ภาระงาน/ความคิดสร้างสรรค์
ธนกร ทาริน :
รูปแบบการเรียนการสอนโครงงานเศรษฐกิจพอเพียงโดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นภาระงานเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้ทรงคุณวุฒิ : ผศ.ดร.วาฑิต ธรรมเชื้อ, ผศ.ดร. ณัฐนรินทร์ เมธีวุฒินันทน์ ภาณุภัทรธนวัฒน์, ดร. ณัฐวรรณ พุ่มดียิ่ง, ดร.พรรณมาส พรมพิลา และดร.จิรวรรณ สุรเสียง.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1)พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนโครงงานเศรษฐกิจพอเพียงโดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นภาระงานเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนโครงงานเศรษฐกิจพอเพียงโดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นภาระงานเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโครงงานเศรษฐกิจพอเพียงโดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นภาระงานเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3)ศึกษาพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนและความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโครงงานเศรษฐกิจพอเพียงที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลป่าตันนาครัว ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 19 คน ได้มาจากการสุ่ม แบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ระยะเวลาในการทดลอง 16 คาบ เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนและแบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนา วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าความเชื่อมั่น แบบวิธีคูเดอร์-ริชาร์ดสัน ค่าความเชื่อมั่น แบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (α- Coefficient)สถิติที่แบบไม่อิสระ t-test dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนโครงงานเศรษฐกิจพอเพียงโดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นภาระงาน
เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีชื่อว่า “EPAEP Model” มีองค์ประกอบ 7 ประการ คือ 1) ความเป็นมาของรูปแบบ 2) แนวคิดที่ใช้เป็นพื้นฐาน 3) หลักการ 4) วัตถุประสงค์ 5) เนื้อหา 6) กระบวนการจัดการเรียนการสอน 7) การวัดและประเมินผล และกระบวนการจัดการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน คือ 1)ขั้นการเตรียมความพร้อม 2) ขั้นวางแผนการจัดทำโครงงาน 3) ขั้นลงมือปฏิบัติโครงงาน 4) ขั้นการประเมินโครงงาน 5)ขั้นการนำเสนอโครงงาน โดยที่รูปแบบการเรียนการสอนโครงงานเศรษฐกิจพอเพียงที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.35/81.20
2.หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโครงงานเศรษฐกิจพอเพียงโดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นภาระงานเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มตัวอย่างหลังการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน
โครงงานเศรษฐกิจพอเพียงโดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นภาระงานเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีพัฒนาการสูงขึ้นระดับดีมาก ( x = 4.13)
4. ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโครงงานเศรษฐกิจพอเพียงโดยการจัด
การเรียนการสอนที่เน้นภาระงานเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( x = 4.74, S.D. = 0.55)
Master of Education (Social study, Religion and Culture)
Key words : Sufficiency Economy/ obligation/Creative
Mr. Thanakorn Tharin : Integrated Leaning of Sufficiency Economy to emphasize the obligation andcreative thinking for Students in Prathom 5. Special expert. Asst.Prof.Dr. Wathit Thamchur, Asst.Prof.Dr. NatnarinMetheewuttinan Panuphatthanawat, Dr.Nuttawan Pumdeeying, Dr.Phannamas Prompila and Dr.Jirawan Surasiang. The objectives of this research were to 1) To develop and search the efficiency of on Task sufficiency economy that focusing on emphasize task to develop creative thinking for elementary school 5 to have quality 80/802. To evaluate the effectiveness the efficiency of on Task sufficiency economy that Focusing on emphasize Task to develop creative thinking for elementary school 5 to comparison of achievement before and after learning follow on
Task sufficiency economy Focusing on emphasize Task to develop creative thinking for elementary school 5. 3. To study the development of creative thinking and the satisfaction towards the developed teaching model. The sample were the elementary school 5 Patunnakrue School Semester 1 academic year 2021. One class has 19 students (cluster random sampling) We use to experiment 16 periods. The instruments were the pretest and
posttest reading comprehension test, the test for creative thinking, we use satisfaction survey form to estimate the learning and developing analyze the average, mean deviation, confidence value (Kuder Richardson) standard deviation, t-test dependent, t-test independent and content analysis.
The research shows that :
1. The Instruction system of sufficiency economy that focusing on emphasize task and creative thinking for elementary school 5. Its name EPAEP Model consisted of 7 steps like these 1) history 2) based thinking 3) Principle 4) Objective 5) Substance 6) Learning process 7) Measurement and evaluation system y Knowledge has 5 methods. 1) preparation 2) Planning Project. 3) Perform acts. 4). Estimate project. 5) Presentation the instruction system of sufficiency economy that develop to increase the efficiency with equal 81.35/81.20
2. The curriculums of the instruction system of sufficiency economy that focusing on emphasize task andcreative thinking for elementary school 5 was significantly higher than before the developed model at 0.5
3. The development of creative thinking after instruction system on Task sufficiency economy that focusing on emphasize task to develop creative thinking for elementary school 5 and have developed in the best level ( x =4.13)
4. The students’ satisfaction towards this instruction system on Task sufficiency economy that focusing on emphasize task to develop creative thinking for elementary school
5. All perspectives were in the high satisfy ( x =4.74 S.D. = 0.55)