รายงานการประเมินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนประชารัฐพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
ชื่อผู้ประเมิน นางบุญชนิต ธรรมสาร
ปีที่ประเมิน 2565
การประเมินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนประชารัฐพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการ 4 ด้าน คือ 1) ด้านสภาพบริบท (Context) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) 3) ด้านกระบวนการ (Process) และ 4) ด้านผลผลิต (Product) ประกอบด้วย ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายโยงความรู้ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบ (CIPPiest Model) ในปีการศึกษา 2565 ประชากรที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 79 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 6 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 33 คน ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 33 คน และกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน ไม่รวมผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ และแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
สรุปผลการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนประชารัฐพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
โดยภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.71 , σ = 0.48) และมีผลการประเมินทั้ง
4 ด้าน พบว่า
1. ด้านสภาพบริบท พบว่า มีผลการดำเนินงานโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, σ = 0.50) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ โครงการมีหลักการการดำเนินการที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 และฉบับที่ 3 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553 และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โครงการมีหลักการการดำเนินการที่สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ นโยบาย พันธกิจ เป้าประสงค์ของโรงเรียน ( = 4.88, σ = 0.35)
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีผลการดำเนินงานมีความเหมาะสมโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, σ = 0.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีระดับมากที่สุด ( = 4.88, σ = 0.35) คือ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานมีความเหมาะสม รองลงมาในระดับมากที่สุด ( = 4.86, σ = 0.37) คือ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ/คอมพิวเตอร์ มีการเป็นผู้นำในการดำเนินงานตามโครงการและครู และวิทยากร มีความรัก ความเอื้ออาทร และเข้าใจนักเรียน ดูแลช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79, σ = 0.57)
3. ด้านกระบวนการ มีผลการประเมิน ดังนี้
3.1 ผลการดำเนินงานด้านกระบวนการมีความเหมาะสม โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.69 , σ = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79 , σ = 0.46) คือ 1) ขั้นการเตรียมการโครงการ 2) รองลงมา ระดับมากที่สุด ( = 4.70 , σ = 0.48) คือขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการ 3) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าข้ออื่น คือ ขั้นการประเมินผล สรุปผล และรายงาน ( = 4.63 , σ = 0.48)
3.2 ผลการดำเนินงานด้านกระบวนการมีความเหมาะสม ของขั้นการนำไปใช้ของโครงการโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63 , σ = 0.53) เมื่อพิจารณาแล้ว รายการที่มีระดับความเหมาะสมสูงสุดในระดับมากที่สุด ( = 4.88 , σ = 0.35) คือ การดำเนินกิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัว รองลงมา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79 , σ = 0.57) คือ การกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและปฏิทินการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการไว้อย่างชัดเจน การสนับสนุนและให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ และการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75 , σ = 0.46) และรายการที่มีระดับความเหมาะสมต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (= 4.25 , σ = 0.46) คือ การนำผลการประเมินกิจกรรมไปใช้แก้ปัญหาในการดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิต มีผลการประเมิน ดังนี้
4.1 ผลการดำเนินงานด้านผลผลิตเกี่ยวกับผลกระทบ สรุปโดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76 , σ = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนให้ความเห็นในระดับมากที่สุด ( = 4.80 , σ = 0.36) รองลงมา ความเห็นของครู อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75 , σ = 0.45) และรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72 , σ = 0.50)
4.2 ผลการดำเนินงานด้านผลผลิตเกี่ยวกับประสิทธิผล ประกอบด้วย
4.2.1 ผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 94.39 ผ่านเกณฑ์เป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ที่ร้อยละ 70 เมื่อพิจารณาเป็นรายชั้น พบว่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้ร้อยละ 100.00 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ร้อยละ 95.71 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ร้อยละ 95.63 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้ร้อยละ 95.00 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ร้อยละ 93.33 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ร้อยละ 86.67
4.2.2 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5 ประการของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ( = 4.75 , σ = 0.42) เมื่อพิจารณารายกลุ่ม พบว่า ครูมีความเห็นสูงสุดในระดับมากที่สุด ( = 4.75 , σ = 0.42) และผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74 , σ = 0.42)
4.2.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด ( = 4.74 , σ = 0.41) โดยนักเรียนมีความพึงพอใจสูงสุดค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ( = 4.80 , σ = 0.39) และครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด ( = 4.68 , σ = 0.42)
4.3 ผลการดำเนินงานด้านผลผลิตเกี่ยวกับความยั่งยืน ประกอบด้วย
4.3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ผ่านเกณฑ์เป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ มีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมเกินร้อยละ 80 ได้เท่ากับร้อยละ 75.01
4.3.2 ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานคือ ครู นักเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ได้รับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ
4.4 ผลการดำเนินงานด้านผลผลิตเกี่ยวกับการถ่ายโยงความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74 , σ = 0.46) โดยผู้ปกครองมีความเห็นในระดับมากที่สุด ( = 4.75 , σ = 0.43) และครูมีความเห็นในระดับมากที่สุด ( = 4.72 , σ = 0.48)