การวิจัยและประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อ่านต่อไ
ผู้วิจัย นางสาวธาริณี มั่นคง
โรงเรียนที่ทำวิจัย โรงเรียนบ้านโพนเมือง ตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
โรงเรียนปัจจุบัน โรงเรียนบ้านตาโสม ตำบลตะเคียนราม อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยและประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกิจกรรม R: Reading
คิด อ่าน เขียน ก้าวหน้า กับคอนโด 6 ชั้น เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านการเขียนในชั้นเรียน โรงเรียน
บ้านโพนเมือง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการโดยใช้เทคนิคการประเมินแบบ CIPPIEST Model ตามแนวคิดของ Stufflebeam and Shinkfield (2007) ประกอบด้วยการประเมินใน 8 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)
ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation)
2) เพื่อศึกษาความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรค และประเด็นเสนอแนะเพื่อการพัฒนาโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) นักเรียนจำนวน 33 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratify random sampling) ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน (Yamane) และกลุ่มตัวอย่างสำหรับการสนทนากลุ่ม (Focus group) ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 12 คน ระยะเวลาที่ใช้
ในการวิจัยคือ ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 ใช้สอบถามความคิดเห็นผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้สอบถามย่อย 8 ด้าน คือ ด้านบริบท
ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน
และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ จำนวน 85 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.24 – 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 ฉบับที่ 2 ใช้สอบถามความคิดเห็นของนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ
ใช้สอบถามย่อย 4 ด้าน คือ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้าน
การถ่ายทอดส่งต่อ สำหรับนักเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.35 – 0.72
และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิจัยและประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกิจกรรม
R: Reading คิด อ่าน เขียน ก้าวหน้า กับคอนโด 6 ชั้น เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านการเขียน
ในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านโพนเมือง โดยใช้เทคนิคการประเมินแบบ CIPPIEST Model ตามแนวคิด
ของ Stufflebeam and Shinkfield โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, S.D.= 0.65)
ข้อที่มีระดับคุณภาพมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านผลผลิต (P: Product) อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.58, S.D.= 0.60) รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ (P: Process) อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.56, S.D.= 0.61) และด้านผลกระทบ (I: Impact Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.52, S.D.= 0.63) ส่วนข้อที่มีระดับคุณภาพน้อยที่สุด คือ ด้านการถ่ายโยงความรู้
(T: Transportability) อยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D.= 0.71)
2. เพื่อศึกษาความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรค และประเด็นเสนอแนะเพื่อการพัฒนาโครงการการดำเนินงานของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกิจกรรม R: Reading คิด อ่าน เขียน ก้าวหน้า กับคอนโด 6 ชั้น เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านการเขียนในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านโพนเมือง พบว่า โรงเรียนมีการนำนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การคิด อ่าน เขียน และการแก้ไขปัญหาการอ่านการเขียนในชั้นเรียน และการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่การปฏิบัติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล นักเรียนมีความรู้ ทักษะ เจตคติ สมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดีขึ้น โรงเรียนมีสารสนเทศในกาบริหารจัดการโครงการ มีการบูรณาการการจัดกิจกรรมการคิด อ่าน เขียน
ในการจัดการเรียนรู้ มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล โดยเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วม มีการนำผลการวิจัยและประเมินไปใช้ มีการเผยแพร่ผลการดำเนินงานจนเกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และหน่วยงานในสังกัดได้เป็นอย่างดี แต่มีข้อจำกัด คือ บุคลากรไม่เพียงพอ งบประมาณ วัสดุ สื่อ อุปกรณ์ไม่เพียงพอ ซึ่งแก้ปัญหาด้วยการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้เพื่อให้โครงการเกิดประสิทธิภาพมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการวิเคราะห์องค์กร (SWOT Analysis) ควรขับเคลื่อนด้วยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC: Professional Learning Community) การทำ MOU การสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Show and Share มีการขยายผล
โดยเป็นแหล่งศึกษาดูงาน และมีการยกย่อง เชิดชูเกียรตินักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน