รายงานผลการประเมินโครงการเกษตรพึ่งตนเอง
ผู้รายงาน : ศรายุทธ แก้วเรือน
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านนาหลวง(ประชาพัฒนา) อำเภอสอง จังหวัดแพร่
ปีการศึกษา : 2564
บทคัดย่อ : รายงานผลการประเมินโครงการเกษตรพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้าน นาหลวง(ประชาพัฒนา) มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตของโครงการ ประเมินผลสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรม ประกอบด้วย 1) กิจกรรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) 2) กิจกรรมการเพาะเห็ดนางฟ้า 3) กิจกรรมการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง 4) กิจกรรมการปลูกผักสลัดในวัสดุเหลือใช้ 5) กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ (ในแปลงผัก) ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนจากการประเมินของครูผู้รับผิดชอบกิจกรรม และประเมินความพึงพอใจของครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ที่มีต่อ โครงการเกษตรพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนาหลวง(ประชาพัฒนา) ประชากร ที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนโรงเรียนบ้านนาหลวง(ประชาพัฒนา) จำนวนทั้งหมด 79 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนที่มีต่อด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ของโครงการเกษตรพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนาหลวง(ประชาพัฒนา) 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ด้านผลผลิต ของแต่ละกิจกรรม 3) แบบสอบถามการประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน จากการประเมินของครูผู้รับผิดชอบกิจกรรม 4) แบบสอบถาม ความพึงพอใจของครู บุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการดำเนิน โครงการเกษตรพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนาหลวง(ประชาพัฒนา) 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการเกษตรพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนาหลวง(ประชาพัฒนา) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () แปลผลและนำเสนอในรูปตารางประกอบการบรรยายผลการประเมินพบว่า
1. ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักเรียน จำนวน 66 คน คิดเป็น ร้อยละ 83.54 ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 16.46
2. การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ผลการประเมินพบว่า มีความเหมาะสม มีความสอดคล้อง และเพียงพออยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ การกำหนดหลักการและเหตุผลของโครงการ มีความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 และวัตถุประสงค์เป้าหมายของโครงการ ทำให้เกิดการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่ผู้เรียน
3. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินพบว่า มีความเหมาะสม มีความสอดคล้อง และเพียงพออยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมตามโครงการเป็นผู้มีความรู้ความสนใจความสามารถเหมาะสม จำนวนบุคลากรเพียงพอ สำหรับการดำเนินโครงการ ครูและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ สำหรับวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอสำหรับการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ
4. การประเมินด้านกระบวนการ ผลการประเมินพบว่า ความเหมาะสม มีความสอดคล้อง และเพียงพออยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ผู้รับผิดชอบ และผู้เกี่ยวข้องโครงการมีความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ การกำหนดระยะเวลาและสถานที่ในการดำเนินกิจกรรมในโครงการมีความเหมาะสม การกำหนดขั้นตอน การจัดทำโครงการมีความเหมาะสม กิจกรรมของโครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ การประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง การเผยแพร่และขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชนมีการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ
5. การประเมินด้านผลผลิต ผลการประเมินพบว่ากิจกรรมที่มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ 1) ผลการดำเนินกิจกรรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) ทำให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มากขึ้น และนักเรียนแสดงออกถึงความมีวินัย มุ่งมั่นในการทำงาน และมีจิตสาธารณะ 2) การดำเนินกิจกรรมการเพาะเห็ดนางฟ้า ทำให้นักเรียนแสดงออกถึงความมีวินัย มุ่งมั่นในการทำงาน และมีจิตสาธารณะ และนักเรียนเกิดทักษะกระบวนการคิด จากการปฏิบัติกิจกรรม 3) กิจกรรมการปลูกผักสลัดในวัสดุเหลือใช้ ทำให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มากขึ้น ผู้บริหารให้การส่งเสริมและสนับสนุนดำเนินการโครงการอย่างต่อเนื่อง
5.1 ผลประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการเกษตรพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนาหลวง(ประชาพัฒนา) ตามความคิดเห็นของครู และบุคลากรทางการศึกษา ในภาพรวมพบว่าการปฏิบัติกิจกรรมนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักเรียนมีมุ่งมั่นในการทำงาน รองลงมาคือมีจิตสาธารณะ และด้านความมีวินัยตามลำดับ
5.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการดำเนินโครงการเกษตรพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนาหลวง (ประชาพัฒนา) ในภาพรวม มีความพึงพอใจในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความพึงพอใจ ต่อการดำเนินโครงการ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ รองลงมาคือการจัดกิจกรรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) ทำให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการพึ่งตนเอง และการจัดการเรียนรู้ส่งเสริม ให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง
5.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการเกษตรพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนาหลวง(ประชาพัฒนา) ในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า นักเรียนได้รับการฝึกทักษะการปฏิบัติงานกิจกรรมในโครงการ รองลงมาคือนักเรียนได้นำผลผลิตจากโครงการไปประกอบอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการและนักเรียนได้เรียนรู้กิจกรรมของโครงการอย่างมีความสุข นักเรียนสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ นักเรียนได้นำความรู้จากสิ่งที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้