LASTEST NEWS

23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567

กระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู

usericon

หัวข้อการวิจัย    กระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีการศึกษา        2564
ชื่อผู้วิจัย        นางเพ็ชชรี อ้นทองทิม ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนพนมมาศพิทยากร อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา การดำเนินงานส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน การดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครู และแนวทางในการพัฒนากระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ 2) เพื่อพัฒนากระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ 3) เพื่อทดลองใช้กระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐานพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ และ 4) เพื่อประเมินคุณภาพกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์โดยดำเนินการวิจัย ใน 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา การดำเนินงานส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน การดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครู และแนวทางในการพัฒนากระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 451 คน ประกอบด้วย นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารระดับนโยบาย ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) แล้วจึงสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารระดับนโยบายเป็นการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) พบว่า 1) ระดับการดำเนินงานส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน (1) ด้านนโยบาย มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (x= 3.32, S.D. = 0.66) และการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์หรือแผนงาน มีความสำคัญมากต่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ (2) ด้านปัจจัยการดำเนินงาน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (x= 3.30, S.D. = 0.58) และหน่วยงานต้นสังกัดและผู้บริหารสถานศึกษาต้องสนับสนุน ทั้งงบประมาณและระบบที่จะเอื้ออำนวยให้ครูมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานในการส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยอาจใช้เครือข่ายความร่วมมือจากภายนอก ทั้งในรูปแบบของความร่วมมือด้านวิชาการและการเปิดโอกาสให้ครูแสดง ผลงานเพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติงานของตนให้ดียิ่งขึ้น (3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.39, S.D. = 0.68) และควรมีการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเร่งด่วน ในด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง และ (4) ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (x= 3.47, S.D. = 0.64) และผลคะแนนการทดสอบระดับชาติด้านการคิดวิเคราะห์ คิดคำนวณ ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศทุกรายการ 2) สภาพปัจจุบันในการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครู (1) ด้านนโยบาย มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.41, σ = 0.63) และโรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมาย ในการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครูได้อย่างเหมาะสม (2) ด้านปัจจัยการดำเนินงาน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.44, σ = 0.56) และรัฐบาลและหน่วยงานต้นสังกัดต้องสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาสมรรถนะครู (3) ด้านกระบวนการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครู มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.41, σ = 0.62) และครูได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียนในการพัฒนาตนเอง และ (4) ด้านสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครู มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.45, σ = 0.65) และครูนําผลการวิจัยมาใช้และแก้ไขปรับปรุงพัฒนาด้านการเรียนการสอน 3) สภาพปัญหา การดำเนินการส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ข้อมูลดังนี้ (1) ด้านนโยบาย พบว่า รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานต้นสังกัด และโรงเรียน ล้วนกำหนดนโยบายที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการวิเคราะห์อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม แต่ขาดความชัดเจนในแนวการดำเนินการส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน (2) ด้านปัจจัยการดำเนินงาน พบว่า ครูขาดโอกาสการอบรม ทบทวน เพิ่มศักยภาพในการวิเคราะห์หลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ (3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูผู้สอนไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอน เน้นให้นักเรียนท่องจำ มิได้ปลูกฝังให้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา (4) ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน พบว่า ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 4) สภาพปัญหาการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครู ของโรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ข้อมูลดังนี้ (1) ด้านนโยบาย พบว่า การพัฒนาครูในปัจจุบัน ยังไม่มีเอกภาพด้านนโยบายและมาตรฐานที่ชัดเจน แม้ว่าหน่วยงานต่าง ๆ จะจัดโครงการพัฒนาครูเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังซ้ำซ้อน ไม่เป็นระบบ ขาดประสิทธิภาพและขาดความต่อเนื่อง (2) ด้านปัจจัยการดำเนินงาน พบว่า ขาดงบประมาณในการสนับสนุนให้ครูได้รับการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงาน (3) ด้านกระบวนการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครู พบว่า กระบวนการพัฒนาสมรรถนะของครูขาดความต่อเนื่อง และขาดความจริงจัง ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน (4) ด้านสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครู พบว่า สมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 5) แนวทางในการพัฒนากระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน พบว่า ควรพัฒนาสมรรถนะครูในด้านความรู้ ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน ด้านความเป็นครู และด้านการพัฒนาตนเอง โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูควบคู่กันไปด้วย

ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ดำเนินการออกแบบและพัฒนากระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู ตรวจสอบความถูกต้องครอบคลุมของรูปแบบการบริหาร โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติมีประสบการณ์เกี่ยวกับบริหารสถานศึกษา ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามและเทคนิคเดลฟาย พบว่า 1) กระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มี 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 สมรรถนะในการปฏิบัติงานของครู ประกอบด้วยสมรรถนะ 4 ด้าน ได้แก่ สมรรถนะด้านความรู้ สมรรถนะด้านทักษะในการปฏิบัติงาน สมรรถนะด้านความเป็นครู และสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเอง องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการพัฒนาสมรรถนะ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 สำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนา (Exploring Needs) ขั้นที่ 2 วางแผนการพัฒนา (Designing Program) ขั้นที่ 3 ดำเนินการตามแผนพัฒนา (Taking Action) และขั้นที่ 4 ติดตาม และประเมินผลการพัฒนา (Evaluate Program) องค์ประกอบที่ 3 ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู โดยแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้ (1) กำหนดเป้าหมายในการพัฒนา (Goal setting) (2) ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้/กิจกรรม (Lesson planning) (3) วิพากษ์แผนการจัดการเรียนรู้/กิจกรรม (Debate) (4) การปฏิบัติ (Learning activities) (5) สะท้อนผลการปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนา (Reflection) และ (6) สร้างเครือข่าย ขยายผล (Network) องค์ประกอบที่ 4 ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ประกอบด้วย 5 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการจำแนก ทักษะการจัดหมวดหมู่ ทักษะการเชื่อมโยง ทักษะการสรุปความ และทักษะการประยุกต์ 2) ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกัน ว่าองค์ประกอบของกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครูที่กำหนด สมควรใช้เป็นองค์ประกอบของกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐานและมีความถูกต้องครอบคลุมมากที่สุด ทุกองค์ประกอบ

ระยะที่ 3 การทดลองใช้กระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ จากนั้นสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการดำเนินงานตามกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู และวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย ปัญหาและอุปสรรค ของกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยการสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารระดับนโยบาย จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง พบว่า 1) ระดับ การดำเนินงานตามกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.62, σ = 0.51) 2) ผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินงานตามกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู มีดังนี้ (1) ครูได้รับการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะ ในรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ การเรียนรู้ขณะปฏิบัติงาน การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการจัดการความรู้ คิดเป็นร้อยละ 100 (2) ระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครู ในภาพรวมมีทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด (x= 4.63, S.D. = 0.47) (3) ครูทุกคนจัดทำงานวิจัยในชั้นเรียนจากกระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน (4) ผลการประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 อยู่ในระดับมีทักษะมากที่สุด (5) ผลคะแนนการทดสอบระดับชาติด้านการคิดวิเคราะห์ คิดคำนวณ สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศทุกรายการ 3) จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหาและอุปสรรค ของกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู (1) จุดเด่น คือ มีกระบวนการในพัฒนาสมรรถนะครูด้วยรูปแบบที่หลากหลาย และเป็นไปตามความต้องการจำเป็นของครูจากการสอบถามความเห็นของครู อาทิ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การเรียนรู้ขณะปฏิบัติงาน การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การจัดการความรู้ จึงเป็นกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครูที่ตรงตามความต้องการ สภาพปัจจุบัน ปัญหา และบริบทของโรงเรียน (2) จุดด้อย คือ การที่พัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูให้ยั่งยืน ต้องอาศัยการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ผู้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาตนเอง ด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทุกปีการศึกษา (3) ปัญหาและอุปสรรค คือ สมรรถนะในการปฏิบัติงานและศักยภาพของครูและบุคลากรมีความหลากหลาย ทั้งด้านความรู้ ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน ด้านความเป็นครู และด้านการพัฒนาตนเอง ที่มาจากพื้นฐานและบริบทที่หลากหลายและแตกต่างกัน เป็นปัจจัยที่จำเป็นต้องมีการสนับสนุนการพัฒนาให้ตรงตามศักยภาพของครูและบุคลากรให้มีสมรรถนะเท่าเทียมกัน

ระยะที่ 4 กระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารระดับนโยบาย จำนวน 283 คน ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองนักเรียนโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) แล้วจึงสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารระดับนโยบาย เป็นการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ที่มีต่อกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู ในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ พบว่า กระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู มีคุณภาพในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^