นางสาวปานฤทัย จอมเกาะ
ตามแนวคิดไฮสโคป
ผู้วิจัย ปานฤทัย จอมเกาะ
สถานที่ทางาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตาบลโดด สังกัดเทศบาลตาบลโดด อาเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ
จังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่พิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ
80/80 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคปเพื่อพัฒนา
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ตามเกณฑ์ประสิทธิผลตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป 3) เพื่อ
เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตาม
แนวคิดไฮสโคป ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1/2
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตาบลโดด สังกัดเทศบาลตาบลโดด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จานวน
15 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2) แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples
t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.69/85.58 สูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนดไว้ คือ
80/80
2. ประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิผลร้อยละ 64.38 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 50
ขึ้นไป
3. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป มีคะแนนเฉลี่ยทักษะ
พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป มีพฤติกรรมการเรียนรู้
โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ( X = 2.75, S.D. = 0.28)