LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567เช็กด่วน!! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 25 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 5 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.- บาท สนใจสมัครตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

usericon

ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย     : นายฉัตรชัย ไชยราช ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนพิบูลมังสาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่วิจัย    : 2564

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) ประเมินผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีโดยวิธีการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครูคณิตศาสตร์ที่สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และการศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับครูที่เป็นตัวแทนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 10 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาโดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม และระยะที่ 4 ประเมินผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น แผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตรวจสอบหาคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) วิเคราะห์ค่าความยาก (P) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น (KR – 20) และค่าความเที่ยง () สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย (x-bar) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที่ทดสอบสมมติฐาน คือ ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พบว่า การปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อการปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ใช้สื่อที่มีความเหมาะสมกับเนื้อหาที่สอน ส่วนความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยความต้องการในการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ จัดบรรยากาศภายในห้องเรียน เอื้อต่อการเรียนรู้การสอนให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการเรียนคณิตศาสตร์
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) การจัดการเรียนรู้ และ 5) การวัดและประเมินผล โดยใช้แนวคิดทฤษฎีพื้นฐานที่สนับสนุน ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) แนวคิดการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และแนวคิดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งในขั้นตอนการจัดการเรียนรู้มี 6 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นจัดกลุ่ม ขั้นที่ 2 ขั้นเชื่อมโยงปัญหาและระบุปัญหา ขั้นที่ 3 ขั้นกำหนดแนวทางแก้ไข ขั้นที่ 4 ขั้นศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล ขั้นที่ 5 ขั้นการสะท้อนผลการเรียนรู้ และขั้นที่ 6 ขั้นสรุปและประเมินผลการเรียนรู้
3. การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
3.1 นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มพูนประสบการณ์ มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มพูนประสบการณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ ทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^