การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
สถานการณ์ รายวิชาภาษาอังกฤษ รหัสวิชา อ22101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางอรุณรุ่ง ภักดี
หน่วยงาน โรงเรียนวิชิตสงคราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต
ปีที่รายงาน 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ 4 ขั้น และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ รายวิชาภาษาอังกฤษ อ222101 โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ 4 ขั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวิชิตสงคราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ 2) แบบทดสอบเพื่อพัฒนาทักษะ การสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ 4 ขั้น สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ รายวิชาภาษาอังกฤษ อ22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจในด้านบรรยากาศในการเรียน มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านประโยชน์และการนำไปใช้ ตามลำดับ
Research Title The Development of English Communication Skills through the Situational
Confrontation Learning Process in an English Subject (E22101) for Mathayomsuksa
two Students
Researcher Aroonroong Phukdee
School Wichitsongkram School, Phuket Primary Educational Service Area Office
Year of Report 2022
Abstract
The research objectives were to 1) compare English communication skills of Mathayomsuksa two students before and after the use of four steps of situational confrontation learning process to manage classroom learning and 2) investigate the satisfaction of Mathayomsuksa two students towards the management of learning process to develop their English communication skills through the four steps of the situational confrontation learning process in an English subject (E22101). Study samples were 26 students from the class of Mathayomsuksa 2/2 enrolling in the first semester of 2022 academic year at Wichitsongkram School which is under the responsibility of the Office of Phuket Primary Educational Service Area. These samples were selected through cluster random sampling. Data collection tools consisted of 1) lesson plans to develop English communication skills using the situational confrontation learning process,2) a test to develop English communication skills through the situational confrontation learning process, and 3) a questionnaire to explore the students’ satisfaction on the use of the situational confrontation learning process to manage learning classroom for developing English communication skills. The statistics employed in the study were percentage, mean ( ), standard deviation (S.D) and t-test.
The results have revealed that:
1) The English communication skills of Mathayomsuksa two students were significantly increased after learning with the 4 steps of situational confrontation learning process at .05 level, and it indicated strong evidence against the hypothesis.
2) Overall, the students’ satisfaction towards the management of learning processes to develop their English communication skills by using the situational confrontation learning process in English subject (E22101) was found at the highest level. They were very satisfied with the learning atmosphere, followed by learning and teaching activities, benefits and implementations respectively.