หัวข้องานวิจัยหัวข้องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทย
ผู้วิจัย นางภัชรินทร์ อาจชัยศรี
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดการสอนแบบ Inquiry Cycle และ Active Learning เพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดการสอนแบบ inquiry cycle และ active learning 2) พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดการสอนแบบ inquiry cycle และ active learning 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดการสอนแบบ inquiry cycle และ active learning และ 4) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดการสอนแบบ inquiry cycle และ active learning กลุ่มตัวอย่างแยกเป็น ผู้ให้ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) 12 คน ผู้ทดลองใช้รูปแบบ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ประเด็นสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดการสอนแบบ Inquiry Cycle และ Active Learning แบบประเมินทักษะ การคิดวิเคราะห์ แบบประเมินคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และการวิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน พบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวัฏจักร การสืบเสาะหาความรู้ (inquiry cycle) และการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ใช้กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กิจกรรมที่ใช้จะต้องเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแก้ปัญหาด้วยวิธีการและการหาคำตอบที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า โดยผู้เรียนจะแสวงหาความรู้และลงมือปฏิบัติหรือกระทำจริงจนเกิดความรู้ด้วยตนเอง ทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ทักษะการจำแนก ทักษะการจัดหมวดหมู่ ทักษะการเชื่อมโยง ทักษะการสรุปความ และ ทักษะการประยุกต์ โดยนักเรียนต้องการให้เน้นการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม และให้มีกิจกรรมปฏิบัติมากกว่าการบรรยาย เมื่อนักเรียนเกิดข้อสงสัยต้องอนุญาตให้สอบถามครูได้ทั้งในและนอกห้องเรียน ด้านครูและผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้เห็นว่า เมื่อนักเรียนเกิดข้อสงสัยต้องสามารถสอบถามครูได้ทั้งในและนอกห้องเรียน ส่วนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้ เห็นว่ารูปแบบที่ออกแบบไว้มีความเหมาะสม เห็นควรให้มีการดำเนินการได้
2. ผลการพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ พบว่า รูปแบบฉบับร่าง มีองค์ประกอบสำคัญ คือ 1) องค์ประกอบเชิงโครงสร้าง ได้แก่ หลักการ และ วัตถุประสงค์ 2) องค์ประกอบเชิงกระบวนการ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการสอนแบบกระบวนการวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (inquiry cycle : 5Es) และการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) มีส่วนประกอบสำคัญคือ แผนการจัดการเรียนรู้ ใบความรู้ ใบงานหรือใบกิจกรรม แบบทดสอบการเรียนรู้ และ 3) องค์ประกอบด้านเงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ ผลการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ปรากฏว่า รูปแบบมีค่าความสอดคล้องเชิงโครงสร้างและกระบวนการด้านความสมเหตุสมผล เชิงทฤษฎี ด้านความเป็นไปได้ และด้านความสอดคล้องเชิงโครงสร้างของรูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบจากการทดลองแบบภาคสนามผ่านเกณฑ์คุณภาพตามที่กำหนด
3. ผลการทดลองใช้ พบว่า ประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีแบบเปิด (Open Approach) เพื่อส่งเสริมทักษะภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
4. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง นักเรียนมีคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก