กลยุทธ์การศึกษาแผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2566-2570)
โรงเรียนบ้านห้วยน้ำดิบ จังหวัดเชียงใหม่
A strategy for the creation of recreation center alongside the King's
philosophy Banhuainumdib school, Chiang Mai Province
ม่อนถิ่น นพคุณ
Montin Nopprahum
บทคัดย่อ
การวิจัยกลยุทธ์การศึกษาแผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2566-2570) โรงเรียนบ้านห้วยน้ำดิบ จังหวัดเชียงใหม่ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนากลยุทธ์การศึกษาแผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2566-2570) 2) สร้างกลยุทธ์การศึกษาแผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2566-2570) และ 3) ประเมินกลยุทธ์การศึกษาแผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2566-2570) เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research : PAR) โดยการศึกษาเอกสาร การประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษา การจัดเวทีเสวนาระดมความคิด สำรวจความคิดเห็น การสนทนากลุ่ม การรับฟังสาธารณะ (Public Hearing) และการประเมิน กลยุทธ์ ประชากร คือ ผู้บริหาร ครูและบุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 ทั้งหมด จำนวน 130 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนากลยุทธ์การศึกษาแผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2566-2570) โรงเรียนบ้านห้วยน้ำดิบ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า
1.1 ผลการวิเคราะห์ข้อค้นพบสะท้อนผลการประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษา (ปีการศึกษา 2561-2564) และการคาดคะเนแนวโน้มผลกระทบในอนาคต และความท้าทายเชิงกลยุทธ์ ด้วยกระบวนการ Scenario Analysis ด้วยเทคนิค S-T-E-E-P Approach โดยการจัดเวทีสาธารณะเสวนาระดมความคิด (Brain Storming) พบว่า (1) สภาพสังคมมีการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันและเฉียบพลัน ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำรงอยู่ของมนุษย์ การจัดการเรียนรู้ต้องพลิกโฉม (Changing) เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงตอบสนองความถนัดสนใจของผู้เรียน และสอดคล้องกับทิศทางนโยบายการพัฒนาประเทศและ (2) แถลงเจตนารมณ์ (Mission Statement) พลิกโฉมสถานศึกษาเชิงวิถีชุมชน มุ่งสู่...การเป็นระบบนิเวศชุมชนการเรียนรู้ (Community Learning Eco-System) อย่างมีความสุข ที่ตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยมีฉันทานุมัติให้โรงเรียนจัดระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐาน...BBL (Brain based Learning) ขับเคลื่อนพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนที่มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เป็นฐานปฏิบัติการเสริมสร้างอัตลักษณ์และทักษะอนาคตที่มุ่งให้ผู้เรียนเผชิญสถานการณ์จริง (Active Learning) แบบมีปฏิสัมพันธ์ร่วม (Interactive Leaning) เน้นการมีส่วนร่วมของหุ้นส่วนการศึกษา (Education Partnership) และการให้บริการผู้ปกครอง ชุมชน และสาธารณะ (Public Service Agreement)
1.2 ผลการสำรวจความคิดเห็น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสำรวจความต้องการพัฒนากลยุทธ์การศึกษา พบว่า อัตลักษณ์ผู้เรียนคือ... “คนเพียงพอ” หมายถึง บุคคลสมบูรณ์แบบ ที่มีคุณลักษณะสำคัญ 4 ประการ ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา และมีสมรรถนะสำคัญ ได้แก่ 1) สมรรถนะผู้เรียนที่มีความต้องการพัฒนาประกอบด้วย (1)ภาวะผู้นำ (2)บุคคลแห่งการเรียนรู้ (3)นวัตกร และ (4)พลเมืองดิจิทัล และ 2) แนวทางการพัฒนาการศึกษา ประกอบด้วย (1) สร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ฐาน BBL (2) บูรณาการเรียนรู้แบบองค์รวม (3) ยกขีดสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษา และ (4) เสริมสร้างสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมบริหารจัดการเรียนรู้
2. ผลการสร้างกลยุทธ์การศึกษาแผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2566-2570)โรงเรียนบ้านห้วยน้ำดิบ จังหวัดเชียงใหม่ โดยกระบวนการวางแผนเชิงอนาคต (The Future of Strategic Planning Process) พบว่า กลยุทธ์การศึกษาแผนพัฒนาการศึกษา ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) สถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มความท้าทายในอนาคต 2) ทิศทางการพัฒนาการศึกษา 3) กลยุทธ์พัฒนาการศึกษา 11 กลยุทธ์ และ 4) ปัจจัยแห่งความสำเร็จและกลไกการบริหารแผน
3. ผลการประเมินกลยุทธ์การศึกษาแผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2566-2570) โรงเรียนบ้านห้วยน้ำดิบ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า
1) ผลการรับฟังสาธารณะ (Public Hearing) ร่างกลยุทธ์การศึกษาแผนพัฒนาการศึกษา จากผู้ มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยภาพรวม มีผู้ที่เห็นด้วย ร้อยละ 93.58 และผู้ที่ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 4.44
2) ผลการประเมินกลยุทธ์การศึกษาแผนพัฒนาการศึกษา ของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ภาพรวมมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D. = 0.59)
คำสำคัญ : กลยุทธ์, แผนพัฒนาการศึกษา ,ปัจจัยความสำเร็จ
______________________________________
*นายม่อนถิ่น นพคุณ Mr. Montin Nopprahum
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าหลุก รักษาการผู้อำนายการโรงเรียนบ้านห้วยน้ำดิบ จังหวัดเชียงใหม่