การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์บูรณาการแนวใหม่
สำหรับครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กปฐมวัย
ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2
ผู้วิจัย พิมพรรณ อนันทเสนา
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนา การจัดประสบการณ์บูรณาการแนวใหม่สำหรับครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 2) เพื่อพัฒนา รูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์บูรณาการแนวใหม่สำหรับครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์บูรณาการแนวใหม่สำหรับครูผู้สอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจและการนำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสู่การปฏิบัติของครูผู้สอนก่อนและหลังการนิเทศการจัดประสบการณ์บูรณาการ แนวใหม่ 3.2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการจัดประสบการณ์บูรณาการแนวใหม่สำหรับครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการนิเทศการจัดประสบการณ์บูรณาการแนวใหม่ 3.3) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการในการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (อายุ 5-6 ปี) ก่อนและหลังการนิเทศการจัดประสบการณ์บูรณาการแนวใหม่ 3.4) เพื่อประเมินระดับความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์บูรณาการแนวใหม่สำหรับครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์บูรณาการแนวใหม่สำหรับครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ในปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 117 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 11 คน ครูผู้สอนระดับปฐมวัยที่รับผิดชอบชั้นอนุบาลปีที่ 3 (อายุ 5-6 ปี) จำนวน 117 คน เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (อายุ 5-6 ปี) จำนวน 2,806 คน กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในพื้นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 20 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 8 คน ครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 30 คน และเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (อายุ 5-6 ปี) จำนวน 110 คน วิธีดำเนินการวิจัย มี 4 ระยะ กล่าวคือ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาการจัดประสบการณ์บูรณาการแนวใหม่สำหรับครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กปฐมวัย จากแบบสอบถาม การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการประชุมกลุ่มย่อยแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์รวบรวมผลการสรุป ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์บูรณาการแนวใหม่ โดยการจัดทำร่างรูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์บูรณาการแนวใหม่นำไปตรวจสอบความสมเหตุสมผล ความเป็นไปได้ของผู้เชี่ยวชาญและความเหมาะสม ความเป็นไปได้และการใช้ประโยชน์จากกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์บูรณาการแนวใหม่กับครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 10 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ระยะที่ 4 ประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์บูรณาการแนวใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ด้านสถิติการวิเคราะห์และการประชุมกลุ่มย่อย จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ท่าน เพื่อรับรองรูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์
บูรณาการแนวใหม่
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาการจัดประสบการณ์บูรณาแนวใหม่สำหรับครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 พบว่า มีสภาพปัญหาและความต้องการ ด้านที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ด้านที่ 2 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยและความต้องการนิเทศ ด้านที่ 3 จุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา ด้านที่ 4 ขอบข่ายการนิเทศการศึกษา และด้านที่ 5 บทบาทหน้าที่ของผู้รับการนิเทศ
2. รูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์แนวใหม่สำหรับครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กปฐมวัย มีชื่อเรียกว่า การนิเทศแบบ “4CD2I Model” (โฟร์ซีดีทูไอ โมเดล) มี 3 องค์ประกอบหลัก 7 ขั้นตอนย่อย ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การวางแผนการนิเทศ มี 1 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ความท้าทาย (Challenge Stages : C) องค์ประกอบที่ 2 การปฏิบัติการนิเทศ มีขั้นตอนย่อย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 2 การอภิปรายและสะท้อนความคิด (Discussion and Reflect Stages : D) ขั้นตอนที่ 3 ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา (Identification Development of the problem Stages : I) ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบร่วมกัน (Co-Operation Stages : C) และขั้นตอนที่ 5 การปฏิบัติการสาธิต (Implementation Stages : I) และองค์ประกอบที่ 3 การสรุปผลการนิเทศ
มีขั้นตอนย่อย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 6 การตรวจสอบมโนทัศน์ (Conceptualization Stages : C) และขั้นตอนที่ 7 การเสริมคุณลักษณะและความสามารถแห่งตน (Characterization Stages : C)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการแนวใหม่สำหรับครูผู้สอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กปฐมวัยในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 พบว่า
3.1 ความรู้ความเข้าใจและการนำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสู่การปฏิบัติของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กปฐมวัยหลังการนิเทศแบบ 4CD2I Model
สูงกว่าก่อนการนิเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ความสามารถในการจัดประสบการณ์บูรณาการแนวใหม่สำหรับครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กปฐมวัยหลังการนิเทศแบบ 4CD2I Model สูงกว่าก่อนการนิเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 พัฒนาการในการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (อายุ 5-6 ปี) หลังการ นิเทศแบบ 4CD2I Model สูงกว่าก่อนการนิเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.4 ครูผู้สอนระดับปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศ แบบ 4CD2I Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับพึงพอใจมาก
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศ แบบ 4CD2I Model เพื่อรับรองรูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์บูรณาการแนวใหม่สำหรับครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กปฐมวัย มีการปรับปรุงแก้ไข องค์ประกอบที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบร่วมกันและการปฏิบัติการสาธิต และได้รับรองรูปแบบการนิเทศ แบบ 4CD2I Model จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ท่าน ว่ามีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้นิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้สอนระดับปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ