การประเมินโครงการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน โรงเรียนบ้านชุมขลิง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวกัญญา ยอดแก้ว
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านชุมขลิง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินโครงการในด้านบริบทเด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทเ(ContextเEvaluation) เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานโครงการ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ ความเหมาะสมของกิจกรรม และความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร งบประมาณ สถานที่ สื่อและวัสดุอุปกรณ์ 3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เกี่ยวกับการเตรียมการ การวางแผนการดำเนินกิจกรรม การดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ การนิเทศกำกับติดตามการดำเนินงาน การประเมินผลการจัดกิจกรรมและการสรุปและรายงานผลโครงการ 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับการมีจิตสาธารณะของนักเรียนเพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะและด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านชุมขลิง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน 137 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) จำนวน 47 คน ประกอบด้วย 1) ครูผู้สอน จำนวน 7 คน 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 30 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 30 คน (ผู้ปกครองนักเรียนที่ถูกเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง) 5) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่รวมตัวแทนครูและผู้บริหารโรงเรียน) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าเ5เระดับ จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามประเมินบริบทของโครงการ จำนวน 4 ตัวชี้วัด ข้อคำถาม จำนวน 29 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินปัจจัยนำเข้า จำนวน 4 ตัวชี้วัด ข้อคำถาม จำนวน 22 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินกระบวนการ จำนวน 6 ตัวชี้วัด ข้อคำถาม จำนวน 42 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามประเมินผลผลิตเกี่ยวกับการมีจิตสาธารณะของนักเรียน จำนวน 3 ตัวชี้วัด ข้อคำถาม จำนวน 30 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 ฉบับที่ 5 แบบวัดพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะของนักเรียน ข้อคำถาม จำนวน 20 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 ฉบับที่ 6 แบบสอบถามประเมินความ พึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนิน ข้อคำถาม จำนวน 20 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าสถิติ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows 16.0 ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด โดยทั้ง 4 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด โดยความต้องการจำเป็นของโครงการ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ ความเหมาะสมของกิจกรรมในการดำเนินงานโครงการ ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยทั้ง 4 ตัวชี้วัดพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด โดยด้านสถานที่ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านบุคลากรเด้านสื่อและวัสดุอุปกรณ์ และด้านงบประมาณ ตามลำดับ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยทั้ง 6 ตัวชี้วัดพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด ด้านการเตรียมการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการวางแผนการดำเนินกิจกรรม ด้านการสรุปและรายงานผลโครงการ ด้านการประเมินผลการจัดกิจกรรมของโครงการ ด้านการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนด และด้านการนิเทศกำกับติดตามการดำเนินงาน ตามลำดับ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพบว่า โดยรวมนักเรียนโรงเรียนบ้านชุมขลิง มีจิตสาธารณะผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุดเโดยมีรายละเอียดการประเมินดังนี้
4.1 การประเมินด้านผลผลิต ในการมีจิตสาธารณะของนักเรียน โรงเรียนบ้านชุมขลิง จำนวน 3 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยพบว่า การมีจิตสาธารณะต่อตนเองมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือการมีจิตสาธารณะต่อครอบครัว และการมีจิตสาธารณะต่อสังคม ตามลำดับ
4.2 การประเมินด้านพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะของนักเรียน โรงเรียนบ้านชุมขลิง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพบว่า การได้ร่วมกิจกรรมจิตอาสาทำให้นักเรียนรู้สึกมีคุณค่าและภาคภูมิใจในตัวเอง มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือนักเรียนชอบทำงานช่วยเหลือสังคมแม้งานจะหนักแค่ไหน ก็ตาม นักเรียนช่วยเพื่อนในการไปทำธุระเรื่องต่างๆ, นักเรียนมีความรู้สึกสงสารบุคคลที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ตามลำดับ
4.3 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อโครงการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านชุมขลิง พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมของโครงการมีประโยชน์และส่งผลดีต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มากที่สุด รองลงมาคือ อาคารสถานที่มีความเหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ นักเรียนมีคุณลักษณะเป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะจากการทำกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ ตามลำดับ