รายงานการประเมินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนประชารัฐพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
ชื่อผู้ประเมิน นางบุญชนิต ธรรมสาร
ปีที่รายงาน 2565
การประเมินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนประชารัฐพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการ 4 ด้าน คือ 1) ด้านสภาพบริบท (Context) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) 3) ด้านกระบวนการ (Process) และ 4) ด้านผลผลิต (Product) โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ในปีการศึกษา 2565 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 79 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 6 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 33 คน ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 33 คน และกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วยฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นการดำเนินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนประชารัฐพัฒนา สำหรับครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และฉบับที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนประชารัฐพัฒนา สำหรับนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ("x" ̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุปผลการประเมิน
การประเมินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนประชารัฐพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 โดยภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.70, S.D. = 0.48) และมีผลการประเมินทั้ง 4 ด้าน พบว่า
1.ด้านสภาพบริบท พบว่า มีผลการดำเนินงานโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.76, S.D. = 0.50) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ โครงการมีหลักการการดำเนินการที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 และฉบับที่ 3 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553 และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โครงการมีหลักการการดำเนินการที่สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ นโยบาย พันธกิจ เป้าประสงค์ของโรงเรียน ("x" ̅ = 4.88, S.D. = 0.35)
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีผลการดำเนินงานมีความเหมาะสมโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.65, S.D = 0.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.88, S.D = 0.35) คือ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานมีความเหมาะสมรองลงมาในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.86, S.D = 0.37) คือ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ/คอมพิวเตอร์ มีการเป็นผู้นำในการดำเนินงานตามโครงการและครู และวิทยากร มีความรัก ความเอื้ออาทร และเข้าใจนักเรียน ดูแลช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.79, S.D = 0.57)
3. ด้านกระบวนการ มีผลการประเมิน ดังนี้
3.1 ผลการดำเนินงานด้านกระบวนการมีความเหมาะสม โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ("x" ̅ = 4.71, S.D = 0.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.79, S.D = 0.46) คือ 1) ขั้นการเตรียมการโครงการ 2) รองลงมา ระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.70, S.D = 0.48) คือขั้ นตอนการดำเนินงานของโครงการ 3) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าข้ออื่น คือ ขั้นการประเมินผล สรุปผล และรายงาน ("x" ̅ = 4.63, S.D = 0.48)
3.2 ผลการดำเนินงานด้านกระบวนการมีความเหมาะสม ของขั้นการนำไปใช้ของโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.66, S.D = 0.48) เมื่อพิจารณาแล้ว รายการที่มีระดับความเหมาะสมสูงสุดในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.75, S.D = 0.41) ได้แก่ การคัดเลือกนักเรียนเป็นสมาชิกโครงการใช้แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น และจากการวางแผนขั้นตอนการดำเนินงาน ("x" ̅ = 4.75, S.D = 0.44)
4. ด้านผลผลิต มีผลการประเมิน ดังนี้
4.1 ผลการดำเนินงานมีความเหมาะสมของการดำเนินงานโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านผลผลิต สรุปโดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.67, S.D = 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.81, S.D = 0.30) คือ กระบวนการดำเนินงาน
4.2 ผลการสอบถามความความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนประชารัฐพัฒนา พบว่า ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน เกี่ยวกับคุณภาพนักเรียน และการมีส่วนร่วมในภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.70, S.D. = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อรายการ พบว่า ข้อรายการที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ คุณภาพนักเรียน นักเรียนร่าเริงแจ่มใส มีมนุษยสัมพันธ์ และปรับตัว ("x" ̅ = 4.85, S.D. = 0.27)