รายงานผลการดำเนินกิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา ปีการศึกษา 2565
กิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑. เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมป้องกัน แก้ไข พฤติกรรมของนักเรียนตามแนวทางระบบดูแลช่วยเหลือนักเรีย ๒. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการดำรงชีวิตและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และ ๓. เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างโรงเรียนกับบ้าน การปฏิบัติกิจกรรมใช้วงจรคุณภาพ PDCA เดมิ่ง (Edward W. Deming , 1995 : 56) ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การวางแผน 2. การปฏิบัติตามแผน 3. การตรวจสอบ และ 4. การปรับปรุง การดำเนินงานนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา ได้น้อมนำ ศาสตร์พระราชา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ ๙ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” สู่การพัฒนานักเรียนอย่างยั่งยืน มาเป็นแนวทางการการปฏิบัติกิจกรรมใช้ คำว่า “พัฒนานักเรียนที่มาขอรับการปรึกษาตามพระบรมราโชบาย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรารามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ์ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ ๑๐ ไว้ว่า การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน ๔ ด้าน มาเป็นแนวทางการปฏิบัติกิจกรรม
ผลที่เกิดกับผู้เรียน
กิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองอย่างถูกต้อง รู้ถึงข้อบกพร่อง และความสามารถพิเศษของตนเอง มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพิจารณาตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง สามารแก้ปัญหาต่างๆ ที่ตนประสบได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถวางแผนการดำเนินชีวิตในอนาคตของตนเอง และสามารถนำตนเองไปสู่เป้าหมายที่วางไว้รวมทั้งสามารถที่จะปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
ผลที่เกิดกับครู
กิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาช่วยให้ครูเข้าใจผู้เรียนได้ดีขึ้นทุกๆ ด้าน ทำให้ยอมรับและเข้าใจว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ ทำให้ยอมรับและเข้าใจว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ สามารถปรับปรุง การเรียนการสอน และการปกครองได้เหมาะสม สามารถจัดแบ่งผู้เรียนออกตามความสามารถและจัดบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะช่วยให้สถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมและบริการต่างๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน ซึ่งจะเป็นการช่วยลดปัญหาเรื่องความประพฤติของผู้เรียนอีกด้วย
ผลที่เกิดกับผู้ปกครอง
กิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาช่วยให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจบุตรของตนเองดีขึ้น เข้าใจถึงแนวทางการดูแลช่วยเหลือบุตรของตนเองให้มีพฤติกรรมดีขึ้นทั้งด้านการเรียน ด้านพฤติกรรม ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านโอกาสในการศึกษาต่อ และด้านการประกอบอาชีพ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถชี้แนะแนวทางแก่บุตรของตนได้ดีขึ้น นอกจากนี้กิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาจะช่วยให้ผู้ปกครองยอมรับขีดจำกัดความสามารถของบุตรจะไม่เร่งรัดให้บุตรทำงานเกินความสามารถอันจะเป็นผลเสียแก่เด็ก และให้ความร่วมมือแก่ทางสถานศึกษาในการส่งเสริมพัฒนาบุตรของตน
ผลที่เกิดกับสถานศึกษา
สถานศึกษาได้น้อมนำนำศาสตร์พระราชามาขับเคลื่อนกิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาในสถานศึกษาเป็นขั้นตอน โดยผู้บริหารสถานศึกษาได้วางนโยบายและแผนการปฏิบัติงานในการบริหารจัดการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาแนะนำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการนำศาสตร์พระราชาไปปฏิบัติงานกิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาและปฏิบัติตนให้ถูกต้อง การจัดระบบในการจัดกิจกรรม และการวางแผนขั้นตอนการจัดกิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา ประสานสัมพันธ์ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อนที่ปรึกษา จัดเตรียมการบริหารจัดการอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนด้วยกันหรือโรงเรียนกับชุมชน การสร้างเครือข่ายและขยายผลสู่ภายนอกสถานศึกษา และนักเรียนสามารถถ่ายทอดประสบการณ์การจัดกิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษามาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน นับเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน