เผยแพร่ผลงานวิชาการของนายศุภณัฐ วงศ์สกุล
ชื่อผู้รายงาน นายศุภณัฐ วงศ์สกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสร่างโศก
ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านวังลึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินความเหมาะสมของบริบทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ (Context Evaluation: C) 2. เพื่อประเมิน ความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินโครงการ(Input Evaluation: I) 3. เพื่อประเมินความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานของโครงการ (Process Evaluation: P) 4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation: P) โดยมีการประเมินอยู่ 2 ด้าน คือ 4.1 คุณธรรมจริยธรรมนักเรียน จำนวน 10 ด้าน ได้แก่ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความขยัน ความซื่อสัตย์ ความมีสติและละเอียดรอบคอบ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ อยู่อย่างพอเพียง ความสุภาพ และความสามัคคี 4.2 เพื่อประเมินคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านวังลึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ในการประเมินโครงการนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ รวม 56 ข้อคำถามและดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน สรุปได้ดังนี้
โรงเรียนบ้านวังลึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านวังลึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.73 , S.D. = 0.07) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เป็นลำดับแรก คือ ปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินโครงการ (Input Evaluation: I) ( = 4.80, S.D. = 0.14) รองลงมา คือ ด้านบริบทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ (Context Evaluation: C) ( = 4.77, S.D. = 0.16) ด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation: P) ด้านที่ 2 คุณค่าและผลประโยชน์ของโครงการ ( =4.72, S.D.=0.02) ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ (Process Evaluation: P) ( =4.71, S.D.=0.14) และด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation: P) ด้านที่ 1 คุณธรรมจริยธรรม( = 4.65, S.D. = 0.02) ตามลำดับ และเมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้าน ปรากฏดังนี้
1.1 ด้านบริบทของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านวังลึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษามี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.77, S.D. = 0.16) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 12 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โครงการสามารถแก้ปัญหาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนได้ ( =5.00, S.D. = 0.00) รองลงมา โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนได้อย่างชัดเจน ( = 4.93, S.D. = 0.27) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ โครงการสอดคล้องกับความต้องการของครู ผู้ปกครอง และชุมชน,กิจกรรมของโครงการสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้,กิจกรรมของโครงการช่วยให้นักเรียนมีการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนให้ดีขึ้นและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนมีความเหมาะสมและเอื้อต่อการดำเนินโครงการ ( = 4.64, S.D. = 0.27) ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านวังลึกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.80, S.D.=0.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 11 ข้อ และระดับมาก 1 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ มีแผนการดำเนินงานโครงการอย่างชัดเจนและระยะเวลาในการดำเนินโครงการ มีความเหมาะสม ( =5.00, S.D.=0.00) ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน รองลงมา กิจกรรมในโครงการ มีความเหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์, ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถ ในการดำเนินโครงการและมีอาคารสถานที่ในการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการอย่างเหมาะสมและเพียงพอ ( =4.93, S.D.=0.27)ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ งบประมาณ ในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ ( =4.36, S.D.=0.21)
1.3 ด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน บ้านวังลึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.71, S.D.=0.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 11 ข้อ และระดับมาก 1 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการวางแผนการดำเนินงานโครงการสู่การปฏิบัติ ( =5.00, S.D.=0.00) รองลงมา กิจกรรม ในโครงการช่วยให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ( =4.93, S.D.=0.27) ส่วนข้อที่ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบแก่บุคลากรในการดำเนินโครงการ ( =4.50, S.D.=0.00)
1.4 ด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านวังลึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนั ( =4.65, S.D.=0.02) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เมื่อเรียงลำดับคุณธรรมจริยธรรม ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย สามารถเรียงลำดับได้ดังนี้คือ ความมีวินัย ( =4.76, S.D. =0.07) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ( =4.75, S.D.=0.04) ความรับผิดชอบ ( =4.70, S.D. = 0.02) ความขยัน ( =4.69, S.D.=0.02) ความสุภาพ ( = 4.65, S.D. = 0.02) ความซื่อสัตย์( =4.63, S.D.=0.02) ความมีสติและละเอียดรอบคอบ ( =4.63, S.D.=0.02) ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ( =4.61, S.D.=0.03) ความสามัคคี ( =4.53, S.D.=0.02) และอยู่อย่างพอเพียง ( =4.52, S.D.=0.01) และด้านที่ 2 คุณค่าและผลประโยชน์ของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนบ้านวังลึก ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.72, S.D.=0.02) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการเวลา ( =4.84, S.D.=0.03) รองลงมา คือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติตนให้มีความรับผิดชอบ ในการปฏิบัติงาน ( =4.83,S.D.=0.09) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์สิ่งแวดล้อม และระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ( =4.59,S.D.=0.06)