LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567เช็กด่วน!! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 25 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 5 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.- บาท สนใจสมัครตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567

การจัดการดูแลในการเลี้ยงผึ้งโพรง

usericon

เรื่อง การจัดการดูแลในการเลี้ยงผึ้งโพรง
ชื่อ นางสาวเจนจรินทร์ ห่วงเอี่ยม
การจัดการดูแลในการเลี้ยงผึ้งโพรง
ผู้เลี้ยงผึ้งโพรงจะต้องหาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ซึ่งรวมทั้ง
นิสัยและพฤติกรรมต่าง ๆ ของผึ้ง หลักสำคัญที่สุดของการเลี้ยงผึ้งอยู่ที่การจัดการดูแล และการปฏิบัติภายในรังผึ้งให้ถูกต้องโดยจัดการปรับสภาพแวดล้อมภายในรังผึ้งให้เหมาะสม ให้ผึ้งมีสุขภาพอนามัยดี และรังผึ้งมีประชากรที่มีคุณภาพ การจัดการภายในรังผึ้งนั้นมีเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้ให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่ ซึ่งผู้เลี้ยงผึ้งโพรงโดยทั่วไปเมื่อได้นำผึ้งโพรงมาเลี้ยงแล้ว มักจะไม่มีการเคลื่อนย้ายรังผึ้งเหมือนผึ้งพันธุ์ ซึ่งการจัดการดูแลผึ้งโพรงจะกระทำได้ดังนี้
1. การคัดเลือกสถานที่หรือทำเลที่ตั้งรังผึ้ง ควรมีลักษณะดังนี้
1.1 ต้องมีน้ำสะอาดและอาหารธรรมชาติเพียงพอ คือ ต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ควรแยกตัวรับผึ้งเป็นกลุ่ม ๆ ละประมาณ 30-50 รัง สถานที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้ป่าตาล ป่าจาก สวนมะพร้าว หรือสวนผลไม้ สวนดอกไม้ใหญ่ ๆ หรือตามป่าที่มีดอกไม้มาก ๆ เช่น ป่าแสม ป่าโกงกาง เป็นต้น
1.2 ที่ตั้งรังผึ้งต้องอยู่ในที่ร่มเย็น หรือใต้ร่มไม้ ไม่มีลมโกรก
1.3 ห่างจากแหล่งชุมชน เพื่อป้องกันผึ้งต่อยผู้อื่น
1.4 สถานที่ที่ไม่ควรตั้งรังผึ้ง คือบริเวณที่แห้งแล้ง เช่น ทุ่งนา บริเวณที่มีแสง ไฟในเวลากลางคืน เพราะผึ้งจะบินมาเล่นไฟทำให้ผึ้งตาย

สถานที่ตั้งรังผึ้งโพรงควรอยู่ใต้ร่มไม้
2. แหล่งอาหารผึ้ง
ผู้เลี้ยงผึ้งจะต้องทราบถึงแหล่งอาหารของผึ้งที่สำคัญในการดำรงชีวิตของผึ้ง ได้แก่
2.1 เกสรดอกไม้ ซึ่งผึ้งจะไปเก็บเกสรจากดอกไม้ต่าง ๆ เช่น มะพร้าว ลำไย พืชตระxxxลปาล์ม นุ่น เงาะ ข้าวโพด เป็นต้น เพื่อใช้เป็นอาหารโปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน ของผึ้ง
2.2 น้ำหวาน ผึ้งจะเก็บน้ำหวานจากต่อมน้ำหวานของพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ดอกเสม็ด มะพร้าว กาแฟ ลำไย ทุเรียน เป็นต้น โดยผึ้งจะนำมาบ่มเป็นน้ำผึ้งซึ่งจะเป็นสารคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานแก่ผึ้ง
นอกจากนี้ผู้เลี้ยงผึ้งควรจัดน้ำสะอาดให้ผึ้งไว้บริโภค ถ้าในบริเวณใกล้เคียงไม่มีแหล่งน้ำในธรรมชาติ การจัดหาน้ำสะอาดให้ผึ้งมีน้ำบริโภคอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องที่จำเป็นเพราะผึ้งจะนำน้ำไปเจือจางน้ำผึ้งสำหรับไปเลี้ยงตัวอ่อน และช่วยในการละลายความร้อนภายในรังผึ้ง รวมทั้งรักษาความสมดุลและความชื้นภายในรวงรังในการช่วยให้ไข่ฟักออกเป็นตัวหนอน ผึ้งจะชอบน้ำอุ่นเล็กน้อย การจัดน้ำสะอาด ๆ ให้ผึ้งโดยการใส่น้ำสะอาดลงไปในภาชนะแล้วใส่ก้อนหินลงไปตามความเหมาะสมเพื่อใช้เป็นที่เกาะของผึ้งขณะมากินน้ำ แต่ต้องคอยเติมน้ำเรื่อย ๆ อย่าให้น้ำขาดโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน
3. การให้น้ำหวานแก่ผึ้ง
3.1 ในกรณีนำผึ้งมาจากแหล่งอื่น การนำผึ้งไปเลี้ยงในที่ที่เราเตรียมไว้เป็นการบังคับสถานที่อยู่ของผึ้งที่เรา นำxxxบเลี้ยงไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่ หากสถานที่นั้นมีการเลี้ยงผึ้งอยู่บ้างแล้ว เราควรนำxxxบผึ้งใหม่ไปวางให้ห่างจากxxxบเลี้ยงที่อยู่เดิม เพราะเมื่อเปิดทางออกแล้วผึ้งงานจะบินเข้าออกชุลมุน ผึ้งงานที่บินเข้าผิดรังจะกัดกันตาย บางครั้งก็จะทำให้ผึ้งหนีรังได้ ในระยะแรกของการนำผึ้งมาเลี้ยงอาจจะต้องนำน้ำเชื่อมมาให้ผึ้งได้กินสักระยะหนึ่ง (โดยสังเกตจากรวงผึ้งว่ามีปริมาณน้ำผึ้งเพียงพอหรือไม่ ถ้ามีน้ำผึ้งน้อยก็เติมน้ำเชื่อมให้) เนื่องจากผึ้งในรังต้องใช้น้ำหวานมาเลี้ยงตัวอ่อนและซ่อมแซมรัง และต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ใหม่ จึงไม่มีเวลาออกหาน้ำหวาน
3.2 ในกรณีแหล่งอาหารในธรรมชาติไม่เพียงพอ
สังเกตว่าคอนด้านบนส่วนที่เป็นน้ำผึ้งนั้นมีน้ำผึ้งอยู่น้อยหรือไม่มี ถ้าไม่ มีควรจะเติมน้ำหวานให้แก่ผึ้ง เพื่อจะให้ผึ้งมีอาหารกินและเลี้ยงดูตัวอ่อนต่อไป
วิธีการให้น้ำหวานแก่ผึ้ง โดยใช้น้ำหวานผสมน้ำสะอาดอัตราส่วนประมาณ 1:1 โดยน้ำหนัก นำไปตั้งไฟแล้วปล่อยให้เย็น น้ำเชื่อมที่ได้จะมีความเข้มข้นพอเหมาะกับความต้องการของผึ้ง แล้วหาถ้วยแก้วธรรมดาหรือใช้พลาสติกใส่น้ำเชื่อม แล้วหาจานเล็ก ๆ ซึ่งมีขนาดโตกว่าปากถ้วยเล็กน้อยนำมาคว่ำปิดที่ปากถ้วยแล้วค่อย ๆ ประคองเมื่อคว่ำถ้วยแก้วลงจานเล็ก แล้วน้ำเชื่อมจะซึมออกมารอบ ๆ ถ้วยแก้ว นำไปวางไว้ในxxxบเลี้ยงผึ้งที่เพื่อป้องกันผึ้งอื่นมาเอาน้ำหวานไป
4. การดูแลตรวจตราและจัดการภายในรังผึ้ง
4.1 เวลาในการตรวจเช็ครัง ควรเป็นช่วงเช้าหรือช่วงเย็นที่มีอากาศแจ่มใส ท้องฟ้าโปร่งไม่อบอ้าวหรือร้อนเกินไปเพราะผึ้งจะมีอารมณ์ดี ไม่ค่อยดุและผึ้งไม่ตื่น แต่ถ้าผึ้งขาดอาหารและถูกรบกวนบ่อย ผึ้งรังนั้นก็จะดุ

การตรวจเช็ครังผึ้ง
4.2 ระยะเวลาในการตรวจรังผึ้ง ผู้เลี้ยงผึ้งควรตรวจเช็ครังผึ้งทุก 7-10 วัน ต่อครั้ง
4.3 การตรวจเช็ครังผึ้ง เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งจะต้องตรวจเช็ครังผึ้งเพื่อตรวจ สอบสภาพของผึ้งที่เลี้ยงว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร แบ่งออกเป็น
4.3.1 การตรวจเช็คภายนอกรัง ถ้าตัวผึ้งที่เราเลี้ยงมีสุขภาพดีแล้ว เราจะ พบว่า
- ผึ้งงานจะบินเข้าออกจากปากทางเข้าอย่างสม่ำเสมอ
- จะพบว่าผึ้งงานที่บินเข้าออกจากรังจะมีเกสรติดมาที่ขาหลัง เป็นสีตามเกสรดอกไม้ที่ไปเก็บ เช่น สีส้ม สีเหลือง สีดำ เป็นต้น
- ลักษณะหน้ารังสะอาด ไม่มีฝุ่นหรือหยากไย่สกปรก
- ไม่มีศัตรูรบกวน เช่น มด คางคก เป็นต้น
1. การตรวจเช็คภายในรังผึ้ง

รวงผึ้งที่ใส่คอนสามารถยกขึ้นมาตรวจสอบได้
1) รังเลี้ยงผึ้งแบบสมัยเก่า ซึ่งเราจะเลี้ยงผึ้งโพรงในโพรงไม้ หรือกล่องไม้ที่ไม่มีคอน แต่มีฝาเปิดปิดให้เห็นภายในรังผึ้งได้ ดังนั้นเราจึงสามารถตรวจเช็คว่าในรังนั้นมีผี้งอยู่หรือไม่ และหากมีผึ้งอยู่ควรเช็คว่ามีจำนวนผึ้งมากหรือน้อย ภายในรังนั้นมีศัตรูรบกวนหรือไม่ และสามารถตรวจเช็คได้คร่าว ๆ ว่ารังนั้นมีหลอดนางพญาเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีเราก็ทำลายทิ้ง เป็นต้น
2) รังเลี้ยงผึ้งแบบสมัยใหม่ การเลี้ยงผึ้งโพรงแบบนี้เรา สามารถตรวจเช็คได้ละเอียด เพราะสามารถจะยกคอนผึ้งมาตรวจเช็คได้ทุกคอน ในการตรวจเช็คนั้นเราสามารถตรวจเช็คในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
- เรื่องศัตรูผึ้ง เราจะตรวจเช็คว่ามีศัตรูผึ้งหรือไม่ เช่น หนอนผีเสื้อ กินไข่ผึ้ง ไรศัตรูผึ้ง ถ้ามีจะต้องดำเนินการป้องกันและกำจัดเสีย
- ปริมาณผึ้ง ปริมาณผึ้งกับปริมาณคอนที่มีอยู่ในรังนั้นมีความ สมดุลกัน โดยที่มีผึ้งเกาะเต็มทุกด้านของคอนและไต่ตอมขึ้นมาถึงด้านบนของคอน
- การตรวจดูนางพญาผึ้ง นางพญาผึ้งที่ดีนั้นจะมีการวางไข่สร้าง ดักแด้ ผึ้งไม่ดุ ขยันออกหากิน ไม่เป็นโรค มีดักแด้ผึ้งงานเต็มสม่ำเสมอดี ด้านบนสุดมีการเก็บน้ำผึ้งมาก และไม่ควรให้มีการสร้างหลอดนางพญาบ่อย ๆ ถ้าหากเราตรวจเช็คในรังพบว่าในรังนั้นมีการสร้างหลอดนางพญาขึ้นเราก็ทำลายทิ้งเพื่อไม่ให้เกิดการแยกรัง ถ้าไม่พบนางพญาในรังนั้นก็จะยุบรังนั้นไปรวมกับรังอื่น
อนึ่ง ในการเลี้ยงผึ้งโพรงนั้นเราสามารถแยกรังผึ้งโพรงให้เป็นสองรังได้ โดยที่เมื่อ เราพบเห็นหลอดนางพญาผึ้งเกิดขึ้น และรังนั้นมีประชากรผึ้งหนาแน่นเราจะแยกคอนที่มีหลอดนางพญาผึ้งพร้อมกับคอนที่มีผึ้งงานและดักแด้ตัวอ่อน 2-3 คอน ไปใส่ในรังใหม่ และไปตั้งให้ห่างจากรังเดิมพอสมควร โดยที่ให้นางพญาผึ้งดั้งเดิมอยู่ในรังเดิม เราก็จะได้ผึ้งเพิ่มขึ้นเป็น 2 รัง
- การตรวจดูอาหารผึ้ง ในธรรมชาติผึ้งจะเก็บน้ำผึ้งไว้ที่ส่วนบน ของรวงต่อจากที่เก็บน้ำผึ้งลงมาจะเป็นส่วนที่ใช้เก็บเกสร แล้วถึงจะมาเป็นบริเวณที่มีดักแด้ หนอนและไข่ตามลำดับ ในปัจจุบันนอกจากการเก็บน้ำผึ้งและเกสรจะอยู่ในสภาพดังกล่าวแล้ว คอนที่อยู่ชิดริมนอกสุดมักจะเป็นคอนน้ำผึ้ง ถัดเข้ามาจะเป็นคอนเก็บเกสร แล้วถึงเป็นคอนที่มีตัวหนอน มีไข่และดักแด้ที่ปิดฝาแล้วอยู่ตรงกลางคอน โดยคอนที่มีไข่และตัวหนอนนั้น ตรงหัวคอนก็จะมีน้ำผึ้งเก็บอยู่บ้างเหมือนกัน ให้ตรวจดูว่ามีน้ำผึ้งหรือเกสรเก็บอยู่มากพอไหม ถ้าพบว่าในคอนมีน้ำผึ้งเต็มอยู่ 1 คอน หรือด้านหัวของคอนอื่น ๆ มีน้ำผึ้งอยู่แล้ว แสดงว่าน้ำผึ้งที่เก็บมาเพียงพอเลี้ยงรังในช่วงนั้น ส่วนเกสรอยู่ในหลอดรังมีประมาณ 1 คอน ก็นับเพียงพอ

ลักษณะของน้ำผึ้งภายในรวง

ลักษณะการเว้นเกสรดอกไม้ในหลอดรวงผึ้ง (เป็นสีส้ม)
- การตรวจดูไข่ ภายในรังผึ้งที่ตรวจสอบนั้นบางครั้งจะไม่ สามารถหานางพญาได้ ซึ่งเราก็มีวิธีการที่จะดูว่าภายในหลอดรวงผึ้งมีไข่อยู่หรือไม่ ถ้าพบว่ามีไข่อยู่ภายในหลอด หลอดละหนึ่งใบอยู่อย่างสม่ำเสมอภายในรวงก็แสดงว่าผึ้งโพรงนั้นมีนางพญาอยู่ (เพราะไข่จะมีอายุไม่เกิน 3 วัน) และนางพญาตัวนั้นเป็นนางพญาที่ดี แต่ถ้าไข่อยู่ในหลอดไม่สม่ำเสมอทั่วรวงแสดงว่านางพญาตัวนั้นไม่ดีควรจะเปลี่ยนใหม่ หรือในกรณีที่พบว่าไข่ผึ้งวางไม่เป็นระเบียบมีหลายฟองในหลอดเดียวกันก็แสดบงว่ารังนั้นอาจจะขาดนางพญา หรือนางพญาไข่ไม่ดีก็ได้ ให้ทำการตรวจเช็คให้ละเอียดอีกครั้ง และพิจารณาว่าควรจะเปลี่ยนนางพญา หรือยุบรังไปรวมกับรังอื่นต่อไป
- การตรวจดูตัวอ่อน ภายในรังผึ้งจะพบผึ้งระยะต่าง ๆ ผึ้งทุก ระยะโดยเฉพาะตัวอ่อนนั้นมีความสำคัญมากที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ที่แข็งแรงพร้อมที่จะเป็นประชากรผึ้งต่อไป ดังนั้นตัวอ่อนจะต้องสมบูรณ์ ไม่เป็นโรค มีการเจริญเติบโตที่ปกติ หากผิดปกติก็ให้ดำเนินการแก้ไขต่อไป
- การตรวจรวงผึ้งถ้าผู้เลี้ยงผึ้งโพรงเลี้ยงผึ้งไประยะหนึ่งเมื่อทำ การตรวจเช็ครวงผึ้งก็จะพบว่ารวงผึ้งที่ผึ้งสร้างรวงนั้นมีสีเข้มขึ้นจนถึงสีดำ ก็แสดงว่ารวงผึ้งนั้นเก่าไม่เหมาะที่จะใช้เลี้ยงผึ้ง (เพราะขนาดของหลอดรวงจะเล็กลงผึ้งที่เกิดใหม่จะตัวเล็กลงด้วย) ดังนั้นควรยกคอนนั้นไปไว้ด้านข้างรอให้ผึ้งออกจากหลอดรวงหมด แล้วจึงนำคอนนั้นไปหลอมละลายเป็นไขผึ้งต่อไป
- การจัดคอนภายในรังผึ้ง เมื่อตรวจสอบหรือเช็คภายในรังผึ้ง แล้วจะต้องตรวจสอบคอนผึ้งด้วยว่าระบบการวางคอนในรังนั้นเป็นไปตามระบบธรรมชาติหรือไม่ เพราะการจัดคอนที่ถูกต้องจะทำให้การทำงานจของผึ้งทุกตัวภายในรังเป็นไปอย่างมีระบบ ทำงานได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้จัดอันดับดังนี้
1. คอนอาหาร (น้ำผึ้งและเกสร) ให้อยู่ริมด้านใดด้านหนึ่ง
2. คอนหนอนหรือตัวอ่อน
3. คอนไข่และหนอน
4. คอนไข่
5. คอนดักแด้อ่อน
6. คอนดักแด้แก่
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^