บทคัดย่องานวิจัย ของนางพัทธนันท์ ศรวิชัย ปีที่รายงาน 2564
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร่วมด้วยช่วยรักษ์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร่วมด้วยช่วยรักษ์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) 2) เพื่อทดลองใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร่วมด้วยช่วยรักษ์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) 3) เพื่อประเมินผลการใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร่วมด้วยช่วยรักษ์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร่วมด้วย ช่วยรักษ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนสนามบิน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 41 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เวลาที่ใช้ทำการทดลองทั้งหมด 16 ชั่วโมง แบบแผนการทดลองครั้งนี้เป็นแบบ one-group pretest–posttest design และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคด้านการเรียนรู้ พบว่า รายงานผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสนามบิน ปีการศึกษา 2561 ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 60.26 ปีการศึกษา 2562 ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ย 62.32 เมื่อดำเนินการวิเคราะห์ผลการสอบจะเห็นว่าคะแนนการสอบในสาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยต่ำไม่เป็นที่น่าพอใจ จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนสนามบิน จำนวน 4 คน ถึงปัญหาความจำเป็นของการปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนในชั้นเรียน สรุปปัญหาของการปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม พบว่า ครูยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ความเอาจริงเอาจังในการปลูกจิตสำนึกให้กับนักเรียน และไม่เห็นความสำคัญว่าอะไรคือแก่นแท้ของการรักษ์สิ่งแวดล้อมและดูแลทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ มีกระบวนการในการพัฒนาและประเมินอย่างไร พฤติกรรมใดบ้างที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีจิตสำนึกตามที่ต้องการพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดความยั่งยืน ครูเน้นที่เนื้อหาสาระมีความจำเป็นมากกว่ากระบวนการคิดรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ จึงเน้นเฉพาะการเรียนการสอนและการประเมินเนื้อหาสาระเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับครูยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกตามที่ต้องการ ครูจึงปฏิบัติการประเมินไม่ถูกต้องตามหลักการและแนวทาง ครูเลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผลไม่เหมาะสม ครูไม่ตระหนักถึงความสำคัญ ครูไม่เห็นถึงคุณค่า มองไม่เห็นประโยชน์และคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ครูละเลยการประเมิน ตลอดจนครูขาดทักษะในการสร้างและการวิเคราะห์หาคุณภาพของเครื่องมือการประเมิน การเลือกใช้เครื่องมือไม่หลากหลาย เครื่องมือที่ใช้วัดเน้นการวัดเฉพาะความรู้ ความจำและความเข้าใจเพียงเท่านั้น
2. ผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร่วมด้วยช่วยรักษ์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ก่อนนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ปรากฏผลดังนี้ การหาประสิทธิภาพรายบุคคล 71.19/70.83 การหาประสิทธิภาพกลุ่มย่อย 75.09/75.28 และการหาประสิทธิภาพภาคสนาม 82.34/80.33
3. ผลการใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร่วมด้วยช่วยรักษ์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 โดยชุดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น มีค่าประสิทธิภาพเป็น 83.46/84.33 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ร่วมด้วยช่วยรักษ์ ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ภายหลังที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร่วมด้วยช่วยรักษ์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สูงกว่าก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร่วมด้วยช่วยรักษ์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) พบว่า ในภาพรวมมีระดับความความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก