LASTEST NEWS

23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567

การจัดสวน

usericon

เรื่อง การจัดสวนและการดูแล
ชื่อ เจนจรินทร์ ห่วงเอี่ยม
การตกแต่งสวน
การจัดสวน คือกิจกรรมที่เป็นศาสตร์ศิลป์และงานฝีมือที่เกี่ยวกับการปลูกและดูแลพืชรวมถึงสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างบรรยากาศที่สวยงาม โดยทั่วไปแล้วจะเป็นกิจกรรมในบริเวณที่อยู่อาศัย ในบริเวณที่เรียกว่าสวน
การจัดสวนอาจทำนอกบริเวณที่อยู่อาศัยก็ได้เช่น สวนสาธารณะ สวนพฤกษาศาสตร์ บริเวณสถานที่ท่องเที่ยว บริเวณโรงแรม/ห้างร้าน/บริษัท/หน่วยงานต่างๆ โดยทั่วไปจะทำกลางแจ้งและทำบนดินแต่ก็อาจทำในร่มได้เช่น การจัดสวนในเรือนกระจก หรืออาจทำในน้ำได้การปลูกเลี้ยงสระบัว หรือแม้แต่การทำสวนพืชรากอากาศ อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น สวนดอกไม้ สวนหิน สวนที่มีลักษณะที่สมดุลเช่นการจัดสวนแบบยุโรป หรือ ลักษณะการผสมผสานความไม่สมดุลเช่นการจัดสวนแบบญี่ปุ่น เป็นต้น
นอกเหนือจากการตกแต่งบ้านให้สวยงามแล้ว การจัดสวนก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้บ้านน่าอยู่น่าอาศัย เพราะการที่เรามีสวนที่สวยงามจะทำให้เรารุ้สึกว่าบ้านของเรานั้นหน้าอยู่

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบจัดสวน
คือการจะทำให้สวนมีความสวยงาม จะต้องมีความรู้พื้นฐาน ค่อนข้างจะสูงมาก ในเรื่องของการออกแบบ นอกจากนี้ สวนสวย ไม่ใช่ว่า สวนจะอยู่ได้นาน จะต้องดูว่าสวนสวย จะต้องมีการดูแลรักษาที่ดี เพื่อให้เขามีชีวิต ที่อยู่ได้ยาวนาน ด้วย หลักการออกแบบ จึงมีความ จำเป็น ต่อการจัดสวนมาก เพราะถือว่าการออกแบบ การเขียนแบบ เป็นจุดเริ่มต้น ของงาน การออกแบบ ที่ดีต้องอาศัยความรู้อยู่ 2 อย่างด้วยกัน
1.องค์ประกอบของศิลป์
การจัดสวนเป็นศิลป์ที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบทั้งที่เป็นธรรมชาติและสิ่งที่ มนุษย์สร้างขึ้นมา ผสมผสาน เพื่อให้เกิด สภาพแวดล้อม ที่ดีให้ตอบสนองต่อพฤติกรรมของมนุษย์ รวมทั้งสัมพันธ์กับตัวอาคารและสิ่งก่อสร้างทุกชนิด
การศึกษา เกี่ยวกับ องค์ประกอบของศิลป์ นั้น จำเป็นจะต้องมี ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ ศิลป์ โดยทั่วไปเป็นพื้นฐานก่อน จะต้องรู้ว่าศิลป์คืออะไร มีความหมายอย่างไร
ความหมายของศิลป์ (Art)
คำว่าศิลป์ มีความหายและขอบเขตกว้างขวางมาก นักปราชญ์ในแต่ละยุคแต่ละสมัยจะให้ความหมายของศิลป์แตกต่างกันไป จนดูเสมือนว่าศิลป์เป็น สิ่งที่เราไม่อาจจับความหมายที่แท้จริงได้ แต่ความเป็นจริงจะพบว่าศิลป์เป็นเกือบทุกสิ่งที่ทุกคนกล่าวไว้ โดยคนหนึ่งเน้นความเห็นของตนหนักไปแง่หนึ่ง อีกคนหนึ่งก็จะเน้นไปอีกแง่หนึ่ง เป็นการมองของสิ่งเดียวกันในแง่มุมต่างกัน เช่น
ศิลป์คือการเลียนแบบ
ศิลป์คือการเป็นตัวแทน (ของชีวิต)
ศิลป์คือการแสดงออก
ศิลป์ไม่ใช่การเลียนแบบธรรมชาติ
ธรรมชาติเลียนแบบศิลป์
ศิลป์คือรูปทรง
ศิลป์คือความสมปรารถนา
ศิลป์คือประสบการณ์
ศิลป์คือการเห็นแจ้ง
จากทัศนะของนักปราชญ์ทั้งหลาย ศิลป์มีคุณลักษณะที่เป็นตัวร่วมสำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ การแสดงออก เพราะไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ประสบการณ์ ความงาม ความเห็นแจ้ง สัญลักษณ์ เรื่องราว หรือเหตุการณ์ ล้วนแต่แสดงออกโดยผ่าน ทางรูปทรง ที่ศิลปินเลอกสรร หรือสร้างสรรค์ขึ้นทั้งสิ้น ดังนั้นความหมายของศิลป์ในแนวกว้าง ๆ ก็คือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อแสดงออกซึ่ง อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และ/หรือความงาม
2.หลักศิลปในการออกแบบ
1. ความกลมกลืนกัน (Unity)
2. รูปแบบของสวย (Styles)
3. เวลา (Time)
4. xxxส่วน (Scale)
5. การแบ่งพื้นที่จัดสวน (Space Division)
6. เส้น (Line)
7. รูปร่าง (Form)
8. ผิวสัมผัส (Texture)
9. สี (Color)
10. หลักจิตวิทยาในการออกแบบ (Psychology of Design)
นอกเหนือจากความรู้เรื่องโครงสร้างของบ้าน บุคคล และปัญหาค่าง ๆ แล้ว การออกแบบจัดสวน ก็มิอาจจะสมบูรณ์ได้ ถ้าปราศจาก รอบรู้ทางด้านศิลป์ ซึ่งนับเป็นหัวใจ และเป็นรากฐานสำคัญในการออกแบบเบื้องต้นไปจนถึง การออกแบบที่ยุ่งยากต่อไป ซึ่งความรู้ทางด้านศิลปนี้ผู้ใช้จำต้องทราบ และเก็บส่วนละเอียดปลีกย่อยทั้งหมดเอาไว้ เมื่อถึงจังหวะและเวลา ที่เหมาะสม ก็ต้องนำ เอาความรู้เหล่านี้ ออกมาใช้ได้ทันทีจนบางครั้งผู้ใช้ก็แทบจะไม่รู้สึกตัวว่าได้ใช้ความรุ้ทางศิลปออกไป หรืออีกนัยหนึ่งก็นับว่า เป็นการฝึกรสนิยมของตนเอง ให้มีพื้นฐาน ความงามของด้านศิลปเพียงพอ ที่จะนำไปใช้ได้ทุกกรณีไม่ว่าจะเป็น การจัดสวน การตกแต่งภายในบ้านการเลือกเสื้อผ้าเลือกข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ เนื่องจากไม่มีกฎตายตัวว่า ของดีมีรสนิยม จำเป็นจะต้อง แพงเสมอไป เพราะฉนั้นศิลปจะช่วยดัดแปลง ให้ของทุกอย่างแลดู มีคุณค่าน่าใช้ยิ่งขึ้น
ศิลป์ เกี่ยวกับ การจัดสวน มีพื้นฐานคล้ายคลึงกับศิลป์ กับด้านอื่น ๆ เช่น ด้านจิตรกรรม ประติมากรรม มีเพียงบางส่วนเท่านั้น ที่แตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสม
3.หลักการออกแบบแปลนสวน



1. หลักศิลปะในการออกแบบสวน เช่น ความกลมกลืนกัน รูปแบบของสวน เวลา xxxส่วน การแบ่งพื้นที่จัดสวน เส้น รูปร่าง ผิวสัมผัส สี หลักจิตวิทยาในการออกแบบแปลนสวน
2. เครื่องมือ และการใช้เครื่องมือ สัญลักษณ์ ในการออกแบบแปลนสวน
2.1 เครื่องมือเขียนแบบ
2.2 หลักการเขียนแบบแปลนสวน
3. ขั้นตอนการออกแบบแปลนสวน
3.1 สำรวจสภาพพื้นที่
3.2 สัมภาษณ์ข้อมูลจากเจ้าของสวน
3.3 การเขียนแบบแปลนสวน รูปด้านบน - รูปด้านข้างหรือรูปทัศนียภาพ
3.4 องค์ประกอบต่างๆในการออกแบบแปลนสวน

ขั้นตอนการออกแบบตามที่กล่าวมาแล้วจะช่วยให้ผู้ออกแบบทํางานได้ถูกต้องจากข้อมูล ต่าง ๆ ที่ร่างไว้ เมื่อเริ่มเขียนแปลน ก็จะเริ่มจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

1. กําหนดทางเดิน ให้สอดคล้องทั้งภายในและภายนอกตัวอาคาร สังเกตทางเข้าออก ตัวบ้าน จัดวางทางเดิน ให้ได้โดยรอบตัวบ้าน จากหน้าบ้านไปหลังบ้าน จากหลังบ้านมาหน้าบ้าน ทางเดินไปจุดต่าง ๆ จัดให้ไหลเวียนไปโดยไม่ติดขัด จากโรงรถ ก็ควรจะมี ทางเดิน ไปหลังบ้านได้โดยไม่ต้องผ่านภายในบ้าน ทางเดินแต่ละจุด อาจเชื่อมต่อกัน โดยไม่ทําให้สนามหญ้าเสียไป และ ไม่ควรทํา ทางเดิน ที่ไร้จุดหมาย วัสดุที่ใช้ทําทางเดินขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ของการใช้งาน และรูปแบบของการจัดสวนนั้น ๆ


2. วางตําแหน่งไม้ต้น เมื่อกําหนดทางเดินภายในสวนแล้ว งานต่อไปคือวางตําแหน่ง ไม้ต้น เพราะไม้ต้นจะเป็นไม้ใหญ่มีระดับสูงสุด และเป็นไม้ที่ให้ร่มเงาในจุดต่าง ๆ ตําแหน่งที่ปลูกไม้ต้น ได้แก่ บริเวณรั้วรอบบ้าน จุดที่ต้องการร่มเงาใช้พักผ่อน ริมถนน ไปยัง ที่จอดรถ ด้านทิศตะวันตกของอาคาร ที่ใช้เป็นห้องพักฟ่อนรับแขก เหล่านี้ เป็นต้น
การจัดวางไม้ต้น ถ้าเป็น สวนแบบประดิษฐ์ มักจะปลูกเรียงแถวเป็นเส้นตรงตามแนวทางเดินที่กําหนดไว้ ถ้าเป็น สวนธรรมชาติ จะปลูกเป็นกลุ่ม 3-5 ต้น การปลูกไม้ต้นนี้อาจจะเป็นชนิดเดียวกัน หรือปลูกสลับกับไม้พุ่มก็ได้ การเลือกใช้พรรณไม้จะต้องระมัดระวัง เพราะ พรรณไม้ บางชนิดจะต้องการ การดูแลทําความสะอาดบริเวณนั้น ๆ ค่อนข้างมาก เนื่องจากการทิ้งใบของพรรณไม้ หรือในกรณีที่มีโรคแมลงรบกวนมาก ก็ควรจะหลีกเลี่ยงไม่นํามาใช้ และตําแหน่งการใช้งานก็ควรจะพิจารณาเลือกพรรณไม้ให้ถูกต้อง


3. กําหนดพื้นที่เพื่อประโยชน์ใช้สอยและความงาม

เมื่อกําหนดทางเดิน และวางตําแหน่งต้นไม้แล้ว พื้นที่ส่วนที่เหลือจะต้องวิเคราะห์ดูว่า จุดไหน เหมาะสําหรับความต้องการอะไร โดยยืดหลักเรื่องประโยชน์ใช้สอยก่อน แล้วจึงตกแต่งให้เกิดความสวยงามตามมา เช่น บริเวณหลังบ้าน จะต้องใช้พื้นที่เป็น ส่วนบริการ ใช้ซักผ้า ตากผ้า เก็บของ เหล่านี้ เป็นต้น ลานซักล้าง จะต่อเนื่องจาก ห้องครัว บริเวณพื้นต้องเป็นซีเมนต์ เมื่อกําหนดส่วนใช้สอยแล้วจึงพิจารณาพรรณไม้ประดับตกแต่ง ปิดบังส่วนที่ไม่ต้องการให้บุคคลอื่นเห็น บริเวณใกล้ ห้องรับแขก ห้องพักผ่อน วางตําแหน่งจัดสวนหย่อม อาจจะทํานํ้าตก นํ้าพุหรือสระนํ้า เลี้ยงปลา ปลูกบัว เพื่อให้มองเห็นได้จากภายในสู่ภายนอก การจัดสวนหย่อม ควรมีเพียง 1-2 จุดเท่านั้น หากมีมากเกินไปจะทําให้ความเด่นของสวน ลดน้อยลง ส่วนพื้นที่อื่น ๆ เช่น มุมพักผ่อน สนามเด็กเล่น แปลงไม้ดอก ควรจะ กําหนดลงไปพร้อมพรรณไม้และวัสดุอื่น ๆ

การวางพรรณไม้ลงในจุดต่าง ๆ จะต้องพิจารณาเรื่องแสงประกอบด้วยเพราะพรรณไม้ที่ใช้ต้องการแสงสว่างมากน้อยต่างกัน ในจุดที่มีแสง เช่น ริมทางเดิน ถนน ควรเลือกใช้ไม้ต้นหรือไม้พุ่ม เช่น หูปลาช่อน เข็ม หรือจะเลือกใช้ไม้ดอก เช่น บานบุรี พวงทอง ช้องนาง ปลูกสลับกับ ไม้ต้น ก็ได้บริเวณมุมสนามระหว่างถนนกับระเบียง จุดนี้จะต้องมี การจัดวางพรรณไม้ เพื่อเพิ่มความสวยงาม ลดความกระด้างของแนวถนน การจัดวางพรรณไม้อาจจะใช้ไม้ตระxxxลปาล์มร่วมกับไม้คลุมดิน หรือไม้พุ่ม ก้อนหินร่วมกับ ไม้คลุมดิน ก็ได้
ในกรณีที่เจ้าของสถานที่ต้องการปลูกไม้ผลและทําสวนครัว ก็ควรจะกําหนดจุดนี้ไว้ บริเวณหลังบ้านที่ได้รับแสงแดดจัด มีไม้ผลบางชนิด เช่น สาเก ละมุดสีดา ซึ่งสามารถนํามาปลูกตกแต่งบริเวณบ้านได้
ในการออกแบบจัดสวน หากมีพื้นที่มากพอควรทําสนามหญ้าด้วย เพราะสนามหญ้าจะช่วยให้สวนนั้นสวยงามยิ่งขึ้น บริเวณพื้นที่ที่ทําสนามหญ้า ควรเป็นด้านหน้าซึ่งได้รับแสงแดดเต็มที่ รูปแบบของสนามหญ้าจะเป็นรูปใดขึ้นอยู่กับชนิดของสวนนั้น ๆ
การจัดสวนก็คล้ายกับการเขียนภาพสี ซึ่งภาพที่ออกมาจะสวยงามหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการจัดวางสิ่งต่าง ๆ รู้จักธรรมชาติของพรรณไม้ รวมถึงสีสัน ทรงต้น ตลอดจนการดูแลรักษาพรรณไม้เหล่านั้น การออกแบบสวนที่สวยงามจะต้องมีความเป็นระเบียบไม่ว่าจะเป็น สวนแบบประดิษฐ์ หรือ สวนแบบธรรมชาติ มีจุดเด่นไม่มากเกินไป มีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่างจุดต่างๆ ตลอดจนให้ประโยชน์ใช้สอยในพื้นที่นั้น ๆ ได้ตามความต้องการการออกแบบแต่ละครั้ง ถ้าหากผู้ออกแบบได้ศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วน ทราบปัญหาทุกอย่างในสถานที่นั้น ๆ แล้ว แบบที่ออกมาจะมีโอกาสใช้ได้เป็นที่น่าพอใจถึง 80 เปอร์เซ็นต์ การออกแบบที่ดีควรให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบน้อยที่สุด เมื่อนําไปใช้จัดสวนจริงๆ เพราะในขณะทํา การจัดสวน ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงแบบมากเกินไป ก็จะทําให้ ความเชื่อถือลดน้อยลง

ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการออกแบบสวน การออกแบบแต่ละครั้งแม้จะดีที่สุด แต่บ่อยครั้งพบว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบบ้างบางส่วน ข้อผิดพลาดที่ทําให้ต้องเปลี่ยนแปลงแบบเกิดจากพรรณไม้ องค์ประกอบและสิ่งก่อสร้างในสวน รวมทั้งโครงสร้างของสวน

พรรณไม้ ข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นเป็นเพราะไม่ได้ศึกษารายละเอียดของพรรณไม้นั้น ทําให้วางตําแหน่ง การปลูกผิดพลาด ทั้งตําแหน่งที่ปลูก ระยะปลูก บางครั้งจํานวน พรรณไม้ ที่ระบุไว้ในแบบมาก ทําให้ไม่สามารถ จะหาได้เพียงพอ เหล่านี้ เป็นต้น นอกจากนี้ การจัดกลุ่มพรรณไม้ เข้าด้วยกันจะต้องคํานึงถึง หลักของศิลปะ ที่จะต้อง พิจารณาความสมดุล ความกลมกลืน ลักษณะพื้นผิว รวมทั้งความสูงและการเจริญเติบโตของพรรณไม้แต่ละชนิดด้วย การจัดสวนเลียนแบบธรรมชาติ จะต้องจัดหาพรรณไม้ที่ให้บรรยากาศของป่า สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องใช้การสังเกต และอาศัยระยะเวลาใน การสะสมประสบการณ์ซึ่งจะช่วยให้ การออกแบบจัดสวน ในครั้งต่อ ๆ ไปดียิ่งขึ้น
องค์ประกอบและสิ่งก่อสร้างในสวน การจัดสวนนอกจากจะใช้พรรณไม้ต่าง ๆ แล้วยังมีองค์ประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย เช่น หิน ตอไม้ โอ่ง ไห รูปปั้น สระนํ้า นํ้าพุศาลาพัก ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะมีให้เลือกมากมายหลายชนิด ราคาก็แตกต่างกัน ผู้ออกแบบที่รู้จักวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้มาก รู้แหล่งใน การจัดซื้อก็สามารถจัดหา นํามาใช้ประกอบ การจัดสวน ได้มากขึ้น ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับว่ารู้รายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ เพียงใด รู้ขนาด ความเหมาะสมใน การนํามาใช้ประกอบ การจัดสวน ตลอดจนรู้ราคาและความยากง่ายในการจัดซื้อ หากออกแบบไว้แล้วไม่สามารถจัดหาได้ แบบแปลนนั้นก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างของสวน การจัดสวนที่สวยงามนอกจากการออกแบบดี พรรณไม้และองค์ประกอบเหมาะสมแล้ว โครงสร้างพื้นฐาน ก็เป็นสิ่งสําคัญ เพราะโครงสร้างของสวนก็เปรียบเสมือนฐานรากของสวน การศึกษาเรื่องวิธี การปลูกพรรณไม้ ตลอดจน การดูแลรักษา เป็นสิ่งจําเป็นสําหรับนักจัดสวน เพราะความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้จัดเตรียมโครงสร้างของสวนได้ถูกต้อง ทั้งในส่วนของการเตรียมดิน เตรียมหลุมปลูกที่เหมาะสม พรรณไม้ต่าง ๆ ที่จัดลงไปก็จะเจริญเติบโตได้ดี ปัญหาใน การดูแลรักษา จะน้อย

4.ขั้นตอนการจัดสวน


หลังจากได้ออกแบบสวน ประเมินราคา เรียบร้อยแล้ว นักจัดสวนต้องวางแผน และเตรียมงานเป็นขั้นต่อไป เพื่อกะระยะให้ สวนเสร็จตามวัน และ เวลาที่ต้องการจากการจัดสวนโดยทั่วไปจะพบว่า มีลำดับการทำงานเป็นขั้น ๆ เพื่อความสะดวก ในการ ทำงาน และมีผลให้งานแต่ละส่วนได้ผลดี

1) การเลือกซื้อพรรณไม้ (Getting plant)

เป็นการสำรวจ และ หาแหล่ง พรรณไม้ ที่มีในแบบตามแหล่งต่าง ๆ ของร้านขายพรรณไม้ภายในเมืองนั้น โดยพยายามหาทั้ง ชนิดของต้นไม้, ขนาด, รูปทรง และราคาให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ ควรพยายามหลีกเลี่ยง การเปลี่ยนต้นไม้จากแบบเดิม นอกจากจำเป็นจริง ๆ เช่น ในกรณีที่ไม่สามารถจะหาไม้ชนิดนั้นได้ หรือมีแต่ไม่ได้ขนาด ตามที่ต้องการ ก็ควรเป็นอย่างอื่นแทน แต่นักจัดสวน ควรจะอธิบายเหตุผล ให้เจ้าของบ้าน เข้าใจถึงปัญหา และทราบถึงสิ่งนำมาทดแทนว่า เป็นชนิดใด และราคาใกล้เคียงกันหรือดีกว่าอย่างไรบ้าง เมื่อได้เลือก พรรณไม้ ตามที่ต้องการแล้ว ควรจะฝากไว้ที่ร้านค้านั้น ก่อนจนกว่า จะปรับที่เตรียมหลุม พร้อมที่จะปลูกได้จึงต้อง ขนย้ายในวันเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อเป็น การประหยัดเวลา น้ำมัน โดยการขนจากหลาย ๆ ร้านรวมกันวันเดียว อีกทั้งจะได้ไม่เป็นภาระ ในการรดน้ำต้นไม้ ถ้านำเอาต้นไม้ไปไว้บ้านที่จัดสวนนานเกินไป

2) การปรับที่ (Grading)

การปรับที่ก่อนจะมีการปลูกต้นไม้นั้น เป็นงานที่ยาก ใช้เวลาและแรงงานมาก ปัญหามีมากถ้าหากว่า การก่อสร้างบ้านไม่เสร็จเรียบร้อย เพราะอาจมีการขุดท่อวางสายไฟ ประปา อีกก็ได้ และหลังจากที่ปรับที่เสร็จ เมื่อฝนตกฝนก็จะชะหน้าดิน เป็นร่องทำให้เสียเวลา ในการปรับที่ใหม่ เนินที่แต่งไว้อาจจะถูกเหยียบย่ำโดยคนงาน ที่มาทำงานอื่นในบ้าน เช่น ทาสี, ตั้งศาลพระภูมิ ฯลฯ ดังนั้นการปรับที่จึงต้องรอเวลาที่เหมาะสม โดยให้งานก่อสร้างส่วนใหญ่เสร็จแล้ว จะใช้ผู้ที่มีฝีมือที่จะปรับที่ให้เป็นรูปร่างตามที่นักออกแบบได้
การปรับที่อาจเริ่มจาก การปรับหน้าดินให้เรียบตามระดับที่ต้องการ ซึ่งต้องใช้จอบย่อยดินให้ละเอียด และนำดินมาถมตามจุดที่ต่ำไป หรือถากดินออก บริเวณที่หน้าดินสูงเกินไป ช่วงใดที่ต้องการให้เป็นเนิน ก็เอาปูนขาวโรย แสดงขอบเขตของเนินนั้น ๆ (ดูจากแปลน) และทยอยเอาดินมาถมในบริเวณปูนขาว ให้สูงตามที่ต้องการ โดยไล่จากจุดต่ำสุด มายังจุดสูงสุดของเนิน เมื่อถมที่ได้ตามที่ต้องการแล้วควรรดน้ำและย่ำให้ดินแน่นไม่เป็นโพรง ทั้งนี้เพื่อกัน การทรุดตัวของเนินในภายหลัง หลังจากการใส่ดินตามจุดที่ต้องการแล้ว ควรรดน้ำให้ชุ่มมาก ๆ แล้วทิ้งไว้ 1 คืน ให้ดินหมวดจึงใช้ลูกกลิ้งบดดินให้เรียบ ถ้าช่วงไหนที่ดินยุบมากควรเพิ่มดินอีก
การปรับดินควรปรับถึงการระบายน้ำด้วยโดยทั่วไปไล่ระดับของดินให้สูงไปหาต่ำตรงบริเวณที่เป็นท่อระบายน้ำ เพราะไม่ให้น้ำขังเมื่อฝนตก ทุกจุดของการจัดสวนต้องคิดถึงเรื่องการระบายน้ำ โดยเฉพาะสวนช่วยที่อยู่ใกล้ชายคาที่น้ำไหลลงมาเมื่อฝนตก ควรระวัง เลือกใช้พรรณไม้ และ ปรับทาง ระบายน้ำ บริเวณนั้นให้ดี ส่วนของสนาม ที่ระดับดิน เท่ากันแต่งให้เรียบเสมอขอบธรรมดา และถ้าในดินมีสนาม สูงกว่าถนน ที่ควรแต่งขอบให้โค้งและ ปูหญ้า ถึง ขอบถนน เพื่อกันดินพัง

3) การปรับหลุมปลูกต้นไม้ (Soil Preparation)

ควรปลูกต้นไม้หรือไม้ประธานก่อน แล้วจึงเป็นไม้พุ่ม ให้คลุมดิน ตามลำดับ วิธีการเตรียมก็ดูตำแหน่งของต้นไม้นั้น ๆ จากแปลน จะทราบถึงระยะห่างของต้นไม้จากำแพง หรือผนังบ้านได้ เมื่อได้ตำแหน่งของต้นไม้แต่ละต้นแล้ว ใช้ปูนขาวไปวงตามจุดนั้น เพื่อที่จะเตรียมขุดโดยกะขนาดหลุมให้ตามชนิดของต้นไม้ เมื่อขุดดินออกแล้ว ควรย่อยดินให้ละเอียดผสมกับปุ๋ยที่ขายทั่วไป ผสมปุ๋ยสูตรสเสมอและปูนขาวอย่างละกำ เพื่อช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี แล้วกลบลงไปในหลุมตามเดิมเพื่อเตรียมรอปลูกต้นไม้ต่อไป
การขุดหลุมปลูกไม้พุ่มควรขุดลึกประมาณ 0.4 – 0.5 m ถ้าไม้พุ่มอยู่ติดกันหลายต้น ควรขุดต่อกันเป็นแปลง ตามรูปร่างของตำแหน่งที่จะปลูก แล้วผสมดินใส่ปุ๋ยและปูนขาว ตามสูตรหลังจากนั้น ก็ขุดหลุมปลูกไม้คลุมดินควรขุดลึกเพียง 0.25 – 0.3 m ก็พอ ดินปลูกก็ดูตามชนิดของต้นไม้ด้วย ไม้คลุมดินที่นิยมปลูกทั่วไป คาดตะกั่ว, หัวใจม่วง, ก้ามปูหลุด, มหากาษ, โป๊ยเซียนแคระ ฯลฯ

4) การกำจัดวัชพืช (Weed Control)

ในระยะที่ทำการขุดหลุม เพื่อเตรียมปลูกต้นไม้นั้นหรือหลังจากปรับที่ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ วัชพืชก็จะงอกขึ้นมาภายหลัง ก็ควรกำจัดวัชพืชบริเวณนั้นออกให้ได้มากที่สุด ถ้ามีมากควรใช้ยากำจัดวัชพืชฉีด แต่ถ้าฉีดก็ควรทิ้งไว้นานพอสมควร (ตามฉลากยา) จึงปลูกหญ้าได้การกำจัดวัชพืชก็ควรมีเรื่อย ๆ แม้ว่าจะปลูกหญ้าไปแล้ว ก็ตามก็ควรจะขุดวัชพืชทิ้งเมื่อเกิดขึ้นมาอีก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^