LASTEST NEWS

23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567

รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา

usericon

หัวข้อ : รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : กรณีศึกษาโรงเรียนชัยสิทธาวาส “พัฒน์ สายบำรุง” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี
ผู้วิจัย : ชนัญชิดา ม่วงทอง
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม โดยใช้การสังเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากข้อมูลเชิงประจักษ์ของสถานศึกษาต้นแบบ ในการสร้างรูปแบบและพัฒนารูปแบบโดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย และ 2) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม ของโรงเรียนชัยสิทธาวาส “พัฒน์ สายบำรุง” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมและการประเมินความเหมาะสม ความพึงพอใจ ตลอดจนผลเชิงประจักษ์ที่เกิดจากการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน สรุปผลวิจัยดังนี้
รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม ประกอบด้วย 2 มิติ คือ 1) มิติด้านองค์ประกอบของการเป็นองค์การนวัตกรรมในสถานศึกษา ประกอบด้วย 1.1) การกำหนดเป้าหมาย 1.2) การทำความเข้าใจร่วมกัน 1.3) การเปลี่ยนแปลง 1.4) การปรับพฤติกรรมการทำงาน 1.5) การพัฒนาการเรียนการสอน1.6) สร้างบรรทัดฐานการทำงาน 1.7) การประเมินผล และ 2) มิติการขับเคลื่อนองค์การ ประกอบด้วย 2.1)การใช้กระบวนการชุมชนทางวิชาชีพ (PLC) และ 2.2) การใช้ระบบบริหารเชิงคุณภาพ (PDCA) การพัฒนารูปแบบด้วยเทคนิคแบบเดลฟาย (3 รอบ)โดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่ามัธยฐาน (Mdn) มากกว่า 3.50และพิสัยควอไทล์(IR) น้อยกว่า 1.50 ทุกประเด็นการพิจารณา และผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรมของโรงเรียนชัยสิทธาวาส “พัฒน์ สายบำรุง” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี พบว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยรวมในระดับมาก และส่งผลให้สถานศึกษามีผลงานเชิงประจักษ์และได้รับรางวัลด้านนวัตกรรมในระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับประเทศ
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 2 มิติ ดังนี้
1.1 มิติด้านองค์ประกอบของการจัดการสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม ประกอบด้วย 7 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการกำหนดเป้าหมาย 2) ด้านการสร้างความเข้าใจร่วมกัน 3) ด้านการมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลง 4) ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน 5) ด้านการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ 6) ด้านเสริมสร้างวิธีการทำงานแนวใหม่ และ7) ด้านการประเมินผล
1.2 มิติการใช้กระบวนการขับเคลื่อนสู่องค์การนวัตกรรม เป็นการบริหารจัดการเพื่อผลักดันให้องค์ประกอบทั้ง 7 ด้าน ของสถานศึกษาได้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมหลัก 2 ด้าน ดังนี้ 1) การเสริมสร้างชุมชนทางวิชาชีพในองค์การ (PLC) และ 2) การใช้กระบวนการบริหารเชิงคุณภาพ (PDCA)
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้เทคนิคแบบเดลฟาย (3 รอบ) โดยผู้เชี่ยวชาญสรุปความเห็นต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม พบว่าทุกด้านในแต่ละองค์ประกอบทั้งมิติด้านองค์ประกอบของสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม และมิติการบริหารขับเคลื่อนที่เน้นการมีส่วนร่วม ด้วยการสร้างชุมชนทางวิชาชีพและการบริหารด้วยระบบคุณภาพ มีค่ามัธยฐานมากกว่า 3.50 และพิสัยควอไทล์น้อยกว่า 1.50 ทุกประเด็นการพิจารณาจากขั้นตอนที่ 1 และ ขั้นตอนที่ 2 สรุปผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่องค์การนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้น
TURBINE Model โมเดล เป็น โมเดลเชิงตรรกะ (Logic Model) รูปกังหัน เป็นรูปแบบเชิงระบบที่
แสดงด้วยรูปภาพ ประกอบข้อความที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างองค์ประกอบและกระบวนการดำเนินงานเพื่อสื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการบริหารจัดการขององค์การสู่องค์การนวัตกรรมที่มีองค์ประกอบหลัก 7 ด้านและต้องมีการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาหรือผลักดันให้องค์ประกอบขององค์การดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายหรือการเป็นองค์การนวัตกรรม มีองค์ประกอบ ดังนี้
T : Target (เป้าหมาย) ; สถานศึกษาต้องมีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาหรือดำเนินการอย่างชัดเจน โดยใช้กระบวนการที่ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ตั้งแต่การกำหนดแนวทาง การพัฒนา และการรับรู้ความสำเร็จ
U : Understanding (ความเข้าใจ) ; สถานศึกษาจะต้องมีการสื่อสารความเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจน โดยใช้กระบวนการ PLC และ PDCA ในการร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา ดำเนินการหาแนวทางแก้ไขปัญหา และสะท้อนความคิดเห็น จนเกิดเป็นความเข้าใจร่วมกัน แล้วหาข้อสรุปเพื่อเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน
R : Reform (เปลี่ยนแปลง) ; สถานศึกษาต้องสร้างความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมในศตวรรษที่ 21 โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งด้านโครงสร้างการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ กระบวนการเรียนการสอนโดยเปลี่ยนแปลงจากวิธีการสอนแบบเดิมเป็นการร่วมกันใช้ความรู้จากประสบการณ์เดิม และนำทฤษฎีการสอนแบบใหม่อย่างหลากหลาย มาใช้จัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
B : Behavioral change (การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม) ; สถานศึกษาต้องเสริมสร้างการทำงานเป็นทีม/เป็นกลุ่มสาระ สร้างพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อปรับปรุง แก้ไขและพัฒนารูปแบบการ
เรียนการสอน ด้วยกระบวนการ PLC นำมาซึ่งการปรับวิธีคิด และลงมือปฏิบัติ สร้างสรรค์สื่อ และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ พัฒนาเทคนิควิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้
I : Instruction (การแนะนำ/การนิเทศ) ; สถานศึกษาต้องมีกระบวนการบริหารจัดการและกระบวนการเรียนรู้ การนิเทศ กำกับ และติดตามที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้จัดการเรียนการสอนตามรูปแบบที่เหมาะสมตามการประชุมและตกลงกันในการทำ PLC และใช้กระบวนการนิเทศที่หลากหลาย แนะนำแนวทางเพื่อให้เกิดการพัฒนา เป็นการยอมรับฟังเสียงสะท้อนอย่างรอบด้านที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนของครู
N : Norm (บรรทัดฐาน) ; สถานศึกษาต้องส่งเสริมและดำเนินการใช้รูปแบบที่ต่อเนื่อง และส่งเสริมให้ทุกคนได้ยึดถือเป็นแบบแผน/แนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นการดำเนินการให้สอดคล้องเป็นปกติของวิถีการทำงาน (new normal)
E : Evaluate (การประเมินค่า) ; สถานศึกษาต้องมีการประเมินผลการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและนำผลการประเมินสู่การแก้ไข ปรับปรุง เพื่อพัฒนาที่ต่อเนื่อง หรือควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนนอกจากนี้ “ TURBINE MODEL” จะสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายจำเป็นต้องใช้กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้วยกระบวนการที่เป็นระบบเชิงคุณภาพ (PDCA) และการใช้ชุมชนทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อขับเคลื่อนให้องค์ประกอบขององค์การทั้ง 7 ด้าน ดำเนินการไปด้วยประสิทธิภาพ
3. การใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม ของโรงเรียนชัยสิทธาวาส“พัฒน์ สายบำรุง” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปทุมธานี โดยใช้กระบวนการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน พบว่าทั้งมิติด้านองค์ประกอบของสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม ทั้ง 7 องค์ประกอบ และมิติการบริหารขับเคลื่อนสู่องค์การนวัตกรรม ด้วยกระบวนการชุมชนทางวิชาชีพและกระบวนการบริหารเชิงคุณภาพ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
4. การประเมินผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรมของโรงเรียนชัยสิทธาวาส “พัฒน์ สายบำรุง” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปทุมธานีพบว่าสถานศึกษามีผลงานการพัฒนานวัตกรรมทั้งในระดับองค์การ ผู้บริหาร ครู และนักเรียน จนได้รับรางวัลทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค และระดับประเทศ ผลงานเชิงประจักษ์ตามเกณฑ์การประเมินของระบบประกันคุณภาพการศึกษามีการพัฒนาที่สูงขึ้นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง และมีผลการประเมินความพึงพอใจต่อ12รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรมของโรงเรียนชัยสิทธาวาส “พัฒน์ สายบำรุง ” สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปทุมธานี ของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยรวมอยู่ในระดับมาก
อภิปรายผล
ผลการวิจัย เรื่อง รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีศึกษาโรงเรียนชัยสิทธาวาส “พัฒน์ สายบำรุง” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปทุมธานี ครั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่ควรนำมาสู่การอภิปรายผล มีประเด็นดังต่อไปนี้
1. ผลการศึกษาและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 2 มิติ คือมิติด้านองค์ประกอบของสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์การนวัตกรรม และมิติของกระบวนการเพื่อขับเคลื่อนสู่องค์การนวัตกรรม ดังนี้
1) มิติขององค์ประกอบของสถานศึกษา ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก คือ การกำหนดเป้าหมาย การทำความเข้าใจร่วมกัน การปรับเปลี่ยนองค์การ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน การพัฒนาการเรียนการสอน การปรับสู่วิถีใหม่ และการประเมินผล ทั้งนี้สถานศึกษาต้องมีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาหรือดำเนินการอย่างชัดเจน โดยใช้กระบวนการที่ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์องค์การ และการร่วมกันกำหนดทิศทางสู่เป้าหมายของการพัฒนา และการรับรู้ถึงภาพความสำเร็จขององค์การร่วมกัน เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจแนวทางวิธีการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างชัดเจนและเป็นทิศทางเดียวกัน เข้าใจการปรับเปลี่ยนองค์การ การปรับตัวหรือพฤติกรรมการทำงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม การพัฒนาเทคนิคการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี หรือกระแสการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกกาภิวัฒน์ การร่วมกันสร้างเสริมแนวทางการทำงานในองค์การยุคใหม่ที่หรือเรียกกันว่า “new normal” และสร้างความคุ้นชินกันวิถีการประเมินผลขององค์การ โดยเฉพาะการพัฒนาสู่องค์การนวัตกรรม ที่ต้องใช้กระบวนการในการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของการพัฒนาองค์กรสู่ความสำเร็จของ McKensay ที่เสนอไว้ว่าการนำองค์การสู่ความสำเร็จนั้น จะเริ่มต้นด้วยการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Share vision) เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงทิศทางในการพัฒนาก่อนลงมือปฏิบัตินอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแนวคิดของการบริหารระบบคุณภาพโดยรวมทั้งองค์การ (TQM : Total Quality Management) ที่เริ่มด้วยการนำองค์การเป็นส่วยสำคัญของการพัฒนาองค์การคุณภาพ และ Dundon (2002, pp173-187) ได้เสนอว่าองค์การนวัตกรรมเริ่มด้วยการสร้างวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ร่วมในการสร้างนวัตกรรม (Shared Innovation Vision and Strategy) บุคลากรทุกระดับในองค์การต้องมีส่วนร่วมในการสร้าง นวัตกรรม เพราะนวัตกรรมสามารถมาจากทุกคนและสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกที่
2). มิติการขับเคลื่อนสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม ด้วยระบบคุณภาพ (PDCA) และกระบวนการชุมชนทางวิชาชีพ (PLC) ที่เน้นการมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลตามเป้าหมายหรือความคาดหวัง ต้องอาศัยกระบวนการบริหารจัดการที่มีระบบที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการ13ด้วยระบบคุณภาพที่เน้นการมีส่วนร่วม เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อน สนับสนุน ส่งเสริม แก้ปัญหาและเป็นการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่เหมาะสม สอดคล้องกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(2560) ที่ได้สรุปไว้ว่าการสร้างชุมชนทางวิชาชีพ หรือ ชุมชนกัลยาณมิตร (Caring community) ของกลุ่มคนที่อยู่ร่วมโดยมีวิถีและวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกัน ในชุมชน มีคุณลักษณะคือ มุ่งเน้นความเป็นชุมชนแห่งความสุขทั้งการทำงานและการอยู่ร่วมกันที่มีลักษณะวัฒนธรรมแบบ “วัฒนธรรมแบบเปิดเผย” ที่ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของตนเป็นวิถีแห่งอิสรภาพ และเป็นพื้นที่ให้ความรู้สึกปลอดภัยหรือปลอดการใช้อำนาจกดดัน บนพื้นฐานความไว้วางใจ เคารพซึ่งกันและกัน มีจริยธรรมแห่งความเอื้ออาทรเป็นพลังเชิงคุณธรรม คุณงามความดีที่สมาชิกร่วมกันทำงานแบบอุทิศตนเพื่อวิชาชีพโดยมีเจตคติเชิงบวกต่อการศึกษาและผู้เรียนสอดคล้องกับ Sergiovanni (1994) ที่ว่า PLC เป็นกลุ่มที่มีวิทยสัมพันธ์ต่อกันเป็นกลุ่มที่เหนียวแน่นจากภายในใช้ความเป็นกัลยาณมิตรเชิงวิชาการต่อกัน ทำให้ลดความโดดเดี่ยวระหว่าง ปฏิบัติงานสอนของครู มีความศรัทธาร่วมอยู่ร่วมกันแบบเชิงบวก การเชื่อมโยงการพัฒนา PLC ไปกับวิถีชีวิตตนเองและวิถีชีวิตชุมชนอันเป็นพื้นฐานสำคัญของ สังคมฐานการพึ่งพาตนเอง (สุรพล ธรรมร่มดี และคณะ, 2553) มีบรรยากาศของ“วัฒนธรรมแบบเปิดเผย” ทุกคนมีเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็นของตน เป็นวิถีแห่งอิสรภาพ ยึดความสามารถ และสร้างพื้นที่ปลอดการใช้อำนาจกดดัน
2. ผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ของโรงเรียนชัยสิทธาวาส “พัฒน์ สายบำรุง” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปทุมธานี มีผลการประเมินด้านความเหมาะสมของรูปแบบในการนำไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม ทั้งมิติด้านองค์ประกอบขององค์การนวัตกรรมในโรงเรียน และมิติการใช้กระบวนการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนสู่องค์การนวัตกรรมด้วยระบบบริหารเชิงคุณภาพและการใช้ชุมชนทางวิชาชีพที่เน้นการมีส่วนร่วม โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรมของโรงเรียนชัยสิทธาวาส “พัฒน์ สายบำรุง” ของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษานักเรียนและผู้ปกครอง พบว่ามีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม“ TURBINE MODEL” ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่าโรงเรียนมีผลการพัฒนาด้านนวัตกรรมโดยรวมทั้งในระดับองค์การ ระดับผู้บริหาร ระดับครูและนักเรียนเป็นอย่างดียิ่งส่งผลให้ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรมทั้งในระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค และ
ระดับประเทศ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากการใช้รูปแบบการบริหารรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษา มีกระบวนการที่ช่วยขับเคลื่อนในการบริหารจัดการที่เหมาะสม โดยเน้นการมีส่วนร่วมทำให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องได้มีความเข้าใจจุดหมาย แนวดำเนินการ ที่ชัดเจน ตลอดจนการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมส่งผลต่อความรับผิดชอบตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และการทำงานร่วมกันเป็นทีมทำให้เกิดประสิทธิผลที่ชัดเจนขึ้นเป็นรูปธรรมและส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับผล14การศึกษาต่อรูปแบบการบริหารคุณภาพทั้งองค์การ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของรุ่งรัชดาพร เวหะชาติ (2548) พบว่า ผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ประกอบด้วยผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษามีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพทั้งองค์การ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสอดคล้องกับจุฑามาส พัฒนศิริ (2560, หน้า 126) ที่ได้ศึกษารูปแบบการบริหารสถานศึกษา ของโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 พบว่าความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาไปใช้โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้
1. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในมิติของการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพที่เน้นการมีส่วนร่วม ควรมุ่งเน้นการพัฒนาด้านกระบวนการบริหารจัดการมากขึ้นรองลงมาเป็นด้านผลลัพธ์ และด้านอื่นๆ ตามลำดับ
2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปทุมธานี ในมิติของการใช้ภาวะผู้นำเพื่อการจัดการเรียนรู้ ควรเน้นการพัฒนาด้านทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มากขึ้น รองลงมาเป็นด้านเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริตและด้านอื่นๆ ตามลำดับ
3. สถานศึกษาสามารถนำรูปแบบการบริหารสู่องค์การนวัตกรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามบริบทของสถานศึกษา
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^