รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษ
นักเรียนโรงเรียนบ้านรังย้อย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
ผู้ประเมิน นายสุภเดช อินอิ่ม ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านรังย้อย
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านรังย้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3
ปีที่รายงาน 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนักเรียนโรงเรียนบ้านรังย้อย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน คุณธรรม จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ 1. มีวินัยมีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ 2. มีความซื่อสัตย์สุจริต 3. มีความกตัญญูกตเวที 4. มีความเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละเพื่อส่วนรวม 5. ประหยัดรู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตัว และส่วนรวมอย่างคุ้มค่า 6. ความภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทยนิยมไทยและดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย กิจกรรม จำนวน 8 กิจกรรม คือ 1. กิจกรรมวันสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2. กิจกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียน 3. กิจกรรมต่อต้านสารเสพติด ในโรงเรียน 4. กิจกรรมอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน 5. กิจกรรมสมุนไพรใกล้ตัว พืชสวนครัว รั้วกินได้ 6. กิจกรรมประหยัดอดออม 7. กิจกรรมร้านค้าสหกรณ์โรงเรียน และ 8. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกายสุขภาพจิต มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับเรื่อง ต่อไปนี้ (4.1) ศึกษาและเปรียบเทียบ
คุณธรรม จริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนก่อนและหลังการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน (4.2) ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินการโครงการ การประเมินโครงการใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 6 ฉบับ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโครงการ จำนวน 9 คน คณะกรรมการดำเนินโครงการ จำนวน 15 คน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ครู จำนวน 6 คน นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 91 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 50 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 180 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนก่อนและหลังดำเนินโครงการโดยใช้ t – test แบบ Dependent Sample test ผลการประเมินโครงการปรากฏ ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนักเรียนโรงเรียนบ้านรังย้อย ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.35)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนักเรียนโรงเรียนบ้านรังย้อย ตามความคิดเห็นของณะกรรมการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.31)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนักเรียนโรงเรียนบ้านรังย้อย ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.33)
4. ผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนักเรียนโรงเรียนบ้านรังย้อย ในประเด็นเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
4.1 ผลการศึกษาและเปรียบเทียบคุณธรรม จริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนักเรียนโรงเรียนบ้านรังย้อย หลังการดำเนินโครงการสูงกว่าก่อนการดำเนินโครงการทุกรายการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนักเรียนโรงเรียนบ้านรังย้อย พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.32)
4.3 ผลประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีผลต่อการดำเนินการตามโครงการ
พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านรังย้อย โดยภาพรวม นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.45, S.D. = 0.38)
กิตติกรรมประกาศ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงนักเรียนโรงเรียนบ้านรังย้อย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 สำเร็จลุล่วงด้วยความกรุณาและได้รับความอนุเคราะห์จากบุคคลหลายฝ่าย ขอขอบพระคุณ นายเสรี สุขพ่อค้า ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเนินถาวร สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและแผนการจัดการศึกษา) นายปรเมศร์ ศรีรักษา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาตะกรุด สพป.เพชร
บูรณ์เขต 3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและแผนการจัดการศึกษา) นายฐากร ตะกรุดสงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกสะแกลาด สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและแผนการจัดการศึกษา) นายมนูญ สิงห์คำ ผู้อำนวย
การโรงเรียนบ้านพระที่นั่ง สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินโครงการ) นางอุภรรัจม์ แถวไธสง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบัววัฒนา สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินโครงการ) ดร.วัชระ มะรังศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่าแดง – เขาค้อ สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินโครงการ) ว่าที่ร้อยเอก ดร.สมชาย แก้วเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียน วัดโคกพุทรา (อดุลราษฎร์บำรุง) สพป.อ่างทอง วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (ผู้เชี่ยวชาญด้านวัดผลประเมินผล) นายต้น นครดี อำนวยการโรงเรียนบ้านนาเกาะ สพป.ชัยภูมิ เขต 2 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (ผู้เชี่ยวชาญด้านวัดผลประเมินผล) นายวุฒิชัย จำปาหวาย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าเริงรมย์ สพป.ชัยภูมิ เขต 2 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (ผู้เชี่ยวชาญด้านวัดผลประเมินผล) ที่ให้ความอนุเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและกรุณาให้คำปรึกษาแนะนำตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่องด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างดียิ่ง
ขอขอบคุณผู้บริหาร คณะครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านหนองย่างทอย และโรงเรียนบ้านโคกรังน้อย ที่กรุณาให้ความร่วมมือ ในการทดลองหาคุณภาพของเครื่องมือ
ขอขอบคุณ คณะครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านรังย้อย ที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ให้การสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อำนวยความสะดวกในการดำเนินโครงการ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ช่วยให้การประเมินโครงการครั้งนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี
คุณความดีที่ทำให้เกิดรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาฉบับนี้ ขอมอบแด่ครู อาจารย์ทุกท่านที่ได้ประสิทธิ์ประสาทให้ความรู้แก่ผู้รายงานตั้งแต่ต้นมาจนถึงปัจจุบัน
กราบระลึกถึงพระคุณของบิดา-มารดา พี่น้องและสมาชิกทุกคนในครอบครัว ตลอดจนเพื่อนร่วมงานที่ได้ให้กำลังใจตลอดมา
สุภเดช อินอิ่ม