การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
ผู้จัดทำ นางสาวณัฐสุดา เกษา ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย โรงเรียนฮอดพิทยาคม
บทที่ 1
ที่มาและความสำคัญ
การพัฒนาของโลกในยุคปัจจุบันมุ่งสู่ทิศทางของสังคมแห่งการเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ ของมนุษย์จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันยุคทันสมัยและเข้ากันได้กับสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนี้เป็นช่วงยุคดิจิตอลในศตวรรษที่ 21 หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่ายุคสังคมสารสนเทศ ดังนั้นสื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงถือว่ามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการถ่ายทอดความรู้ด้วยกระบวนต่าง ๆ ที่หลากหลาย ไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการต่างกัน นับตั้งแต่มีการพัฒนาอินเทอร์เน็ต การติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ก็เป็นไปด้วย ความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น รวมทั้งการเรียนการสอนและการศึกษาหาความรู้ก็สามารถทำได้อย่างไร้พรมแดนทำให้เกิดคำว่า E-Learning หรือ Electronic Learning เป็นที่รู้จักกันไป ทั่วโลก (ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา, 2550)
พระราชบัญญัติการศึกษาชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ได้กำหนดแนวการจัดการศึกษา ปรากฎในหมวด 4 มาตรา 22, 23 สรุปสาระสำคัญ คือ “การจัดการศึกษาต้องยึดหลัก ผู้เรียนว่ามีความสามารถในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และต้องส่งเสริมผู้เรียน ให้มีการพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มศักยภาพ ส่วนการจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ที่เน้นความสำคัญ ทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา”
กระทรวงศึกษาได้มีการรับรองการศึกษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ต้นปี 2549 จึงทำให้การเติบโตของหลักสูตร e-learning มีอัตราการเติบโตเป็นเท่าตัว เพราะการศึกษาทางไกลไม่เพียงจะอำนวยความสะดวก และเอื้อประโยชน์ต่อผู้เรียนแล้วยังอานวยประโยชน์ให้กับสถาบันการศึกษาในแง่ของการบริหารจัดการอีกด้วย คือ ทำให้ต้นทุนในการจัดการหลักสูตรต่างๆ ลง ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลที่นักเรียนไม่ต้องเดินทางมาเข้าชั้นเรียน และสามารถรองรับนักเรียนได้อย่างไม่จำกัด เป็นช่องทางในการสร้างและขยายโอกาสทางการศึกษาให้เข้าถึงผู้ที่มีความต้องการในวงกว้างขึ้น
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 : COVID-19) มีการระบาดในวงกว้าง องค์การอนามัยโลก ได้ประเมินสถานการณ์และประกาศให้โรค COVID-19 เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ โดยแนะนําให้ทุกประเทศเร่งรัดการเฝ้าระวัง และป้องกันความเสี่ยงจากเชื้อ COVID-19 ซึ่งสถานศึกษาเป็นสถานที่ที่มีนักเรียนอยู่รวมกันจํานวนมาก มักจะมีความเสี่ยงสูง หากมีระบบการจัดการที่ไม่ดี อาจจะมีการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ได้ในกลุ่มเด็ก เนื่องจากพบว่าการติดเชื้อ COVID-19 ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการหรือมีอาการแสดง ค่อนข้างน้อย ความรุนแรงจะน้อยมาก อาจทําให้การแพร่ระบาดเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว (Super spread) ไปยังบุคคลในบ้าน หากมีการระบาดในกลุ่มนักเรียนขึ้นจะมีผลกระทบในสังคม หรือผู้ใกล้ชิด เช่น ครู พ่อแม่ ผู้สูงอายุ ที่ติดเชื้อจากเด็ก ดังนั้น หากมีการเปิดเรียน มีโอกาสสูงที่จะเกิดการติดเชื้อ ในกลุ่มเด็กเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเด็กเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลและระมัดระวังในการกระจายเชื้อเป็นอย่างมาก มาตรการในการเปิดเทอม จึงมีความสําคัญมากในการควบคุมการระบาด การวางแผนเปิด เทอมจึงต้องมั่นใจว่าสามารถควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดของโรคได้
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสําคัญ ในการดูแลนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา จึงได้จัดทําแนวทางการจัดการเรียน การสอนของโรงเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2563 เพื่อให้โรงเรียนใช้เป็นแนวทาง ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัดอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งการระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรนา ส่งผลต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก โรงเรียนจึงได้เตรียมตัวให้พร้อมในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่สอดรับกับมาตรการป้องกันการระบาด พร้อมกับเตรียมมาตรการ ต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เรียนได้รับผลกระทบจากรูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนไป
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เน้นการเรียนการสอนที่กระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งในช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มควบคุมยาก และเข้าสู่ภาวะโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก การจัดการเรียนการสอนจึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์ และGoogle Sites เป็นอีกหนึ่งช่องทาง ที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษา สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาได้ทุกที่ ทุกเวลา และสามารถฝึกทักษะที่จำเป็นต่อสภาวการณ์ปัจจุบัน
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ ที่มุ่งเน้นในการพัฒนาผู้เรียนผ่านระบบ Google Sites เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนฮอดพิทยาคม