การจัดการเรียนรู้แบบ cippa
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model)
ผู้วิจัย อรทัย เหล่าพิพัฒน์กุล
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง ไฟฟ้าสถิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ วิชาฟิสิกส์ เรื่อง ไฟฟ้าสถิต โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบไม่เข้าขั้นการทดลอง (Pre-Experimental Research) โดยใช้รูปแบบการวิจัยเป็นแบบ One Shot Case Study กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนหวายคำวิทยา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่อง ไฟฟ้าสถิต โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) จำนวน 10 แผน รวมเวลาสอน 20 ชั่วโมง และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง ไฟฟ้าสถิต จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.33 – 0.61
ค่าความยากง่าย (P) ระหว่าง 0.48 – 0.62 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่อง ไฟฟ้าสถิต โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง ไฟฟ้าสถิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) พบว่า ในจำนวนนักเรียน 29 คน มีนักเรียนที่ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 82.76 ซึ่งผ่านเกณฑ์
ที่กำหนดไว้
2. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ วิชาฟิสิกส์ เรื่อง ไฟฟ้าสถิต โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, = 0.51)