การพัฒนาครู ของโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้รายงาน : ว่าที่ ร.ต.ณพล ดำรงธนชัย
ตำแหน่ง : รองผู้อำนวยการ
สถานศึกษา : โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ
ปีการศึกษา : 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ 1. เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาครู ของข้าราชการครู การพัฒนาครู ของโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 2. แนวทางการพัฒนาครู ของโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต ๒ จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ๑. ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการ จำนวน ๔ คน ๒. ฝ่ายครูปฏิบัติการสอน ครู หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้ากลุ่มงาน จำนวน ๘๐ คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น ๘๔ คน เครื่องมือที่ใชในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการพัฒนาครู นํามาจากแนวคิดของ วอลเนอรและดีไซมอน (Werner and Desimone.) ตามวุฒิการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรา ประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .๔๙ - .๕๐ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .9๗ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (X) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การพัฒนาครู ของโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 มีความต้องการในการพัฒนาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงตามค่ามัชฌิมเลขคณิต จากมากไปน้อยตามลำดับ ดังนี้ การประเมินผลการพัฒนาบุคลากร การประเมินความต้องการในการพัฒนาบุคลากร การดำเนินการพัฒนาบุคลากร และการออกแบบวิธีการพัฒนาบุคลากร
2. แนวทางในการพัฒนาครู ของโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 พบว่า การสัมภาษณ์ฝ่ายบริหาร และฝ่ายครูผู้สอนของโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ เกี่ยวกับแนวทาง การพัฒนาครู ของโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมส่วนใหญ่ พบว่า มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ดังนี้ 1. โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ ควรมีการกําหนดบทบาทหน้าที่ผู้ดำเนินการและผู้รับผิดชอบในการพัฒนาบุคลากรอย่างชัดเจน เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบ ดำเนินการ และประสานงานเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรหรือการจัดอบรมต่างๆ 2. โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ ควรมีการสํารวจความต้องการในการพัฒนาครูด้านวิชาการ กับ ด้านวิชาชีพของโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ เพิ่มมากขึ้น เพื่อทราบถึงความต้องการในการพัฒนาครู ด้านวิชาชีพ ของข้าราชกาครูโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ 3. ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้เข้ารับการอบรมพัฒนา บุคลากร ควรมีส่วนร่วมในการประเมินความพึงพอใจในการพัฒนาครู ทุกๆครั้งที่มีการจัดอบรม และพัฒนาครูโดยการทำแบบสอบถามหรือแบบทดสอบต่าง ๆ 4. ผู้สอนควรมี ส่วนร่วมในการกําหนดวิธีและเกณฑ์การประเมินผลการพัฒนาครู โดยการจัดประชุมกำหนดวิธี และเกณฑ์การประเมินผลการพัฒนาบุคลากร เพื่อครูทราบและตระหนักถึงความสำคัญในการจัดอบรมหรือพัฒนาครูในแต่ละครั้ง 5. โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ ควรมีการจัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวกและสนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินการอบรมพัฒนาครูอย่างเพียงพอ เพื่อให้ครูเกิดขวัญและกําลังใจในการพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ 6. ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อกําหนด วัตถุประสงค์และร่วมจัดทำแผนพัฒนาครูรวมทั้งชี้แจงรายละเอียดในการดำเนินการตามแผนงาน ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 7. จัดอบรม โดยจัดหาวิทยากรจากหน่วยงานภายนอกมาเป็นผู้ให้ความรู้ในด้าน หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 8. ให้โอกาสครูผู้สอน มีส่วนร่วมในการคัดเลือกวิธีการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้ตรงกับหน้าที่ที่รับผิดชอบ
3. ผลจากการสัมภาษณ์ฝ่ายบริหาร และฝ่ายครูผู้สอนของ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ได้ข้อเสนอแนะใน เรื่อง แนวทางการพัฒนาครู ของโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ ในเรื่องแนวทางการพัฒนาครูในด้าน การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การสอนออนไลน์ที่สอนเหมือนกันกับการสอนแบบอ้อฟไลน์ จัดการเรียนการสอนที่เอื้อประโยชน์ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
คำสำคัญ : การพัฒนาครู, มาตราฐานวิชาชีพ