รายงานการประเมินโครงการ
ของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
ผู้รายงาน นางสาวณิชารินทร์ ถนอมโกมล
ปีที่ศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยใช้รูปแบบประเมินซิปป์ (CIPP Model) ซึ่งแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน คือ การประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) การประเมินผลผลิต (Product Evaluation)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) จำนวน 37 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–3 โรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) จำนวน 183 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) จำนวน 13 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–3 โรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) จำนวน 183 คน รวมทั้งหมด 416 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (Percentage: %)
ผลการประเมิน สรุปได้ดังนี้
1. การประเมินโครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X =4.89, S.D. = 0.27)
2. การประเมินโครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) อยู่ในระดับ มากที่สุด (X =4.92, S.D. = 0.07) โดยผลการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 2 โครงการมีความสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาและมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียน และข้อ 10 ผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชน ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามโครงการ
3. การประเมินโครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) อยู่ในระดับ มากที่สุด (X =4.88, S.D. = 0.11) โดยผลการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ข้อ 9 งบประมาณที่ใช้ในโครงการมีความเหมาะสมและใช้ตามความจำเป็น ข้อ 10 สื่อ วัสดุและอุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความพร้อมใช้งาน และเพียงพอต่อการจัดกิจกรรม และ ข้อ 12 มีการจัดป้ายนิเทศกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ
4. การประเมินโครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) อยู่ในระดับ มากที่สุด (X =4.97, S.D. = 0.05) โดยผลการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 100 มีมากถึง 12 ข้อ จากแบบสอบถามด้านนี้ทั้งหมด 15 ข้อ เช่น ข้อ 3 มีการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายการพัฒนาไว้อย่างเป็นรูปธรรม ข้อ 4 มีการจัดทำโครงการ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ข้อ 5 มีการประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักแก่ครู บุคลากร และผู้เกี่ยวข้องเพื่อการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่กิจกรรมการเรียนรู้ เป็นต้น
5. การประเมินโครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ด้านผลผลิต (Output) อยู่ในระดับ มากที่สุด (X =4.83, S.D. = 0.09) โดยผลการประเมินของครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ ข้อ 6 กิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 6 กิจกรรม มีป้ายชื่อชัดเจนและมั่นคง กับข้อ 8 โรงเรียนมีบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ รองลงมา คือข้อ 7 กิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 6 กิจกรรม มีป้ายเพื่อให้ความรู้ และข้อ 1 นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความพอเพียง กับข้อ 5 ครูมีการใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามลำดับ
จากการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ (สฤษดิ์ วิจิตรา ธนะรัชต์บำเพ็ญ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ทำให้สรุปผลที่เกิดขึ้นในภาพรวมของการส่งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน ตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้ผลระดับมากที่สุด (X =4.89, S.D. = 0.27) ทางโรงเรียนควรดำเนินการต่อเนื่องต่อไป