การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา
ชื่อเรื่องการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา
ผู้วิจัยนางสาวขนิษฐา พลายเพ็ชร์
ปีที่ทำวิจัยปีการศึกษา 2563 – 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. สร้างรูปแบบการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา เพื่อนำมา
พัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเหมาะสม
2. ประเมินรูปแบบการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้ปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียน
สระกระโจมโสภณพิทยา จำนวน 27 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร 2 คน และครู25 คนกลุ่มตัวอย่างที่
ใช้ในการวิจัยได้แก่กลุ่มผู้ให้ข้อมูลการสนทนากลุ่ม(Focus group) เกี่ยวกับรูปแบบการนิเทศของ
โรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยาในอนาคต จำนวน 15 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์
จำนวน 15 คน และกลุ่มผู้ร่วมสนทนากลุ่มของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา จำนวน 10 คน
มีวิธีดำเนินการวิจัย6 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นตอนที่1การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไป
ตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา
ขั้นตอนที่2EDFR รอบที่1เป็นการนำแบบสัมภาษณ์ที่ได้จากการสนทนา ไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ
โดยผู้วิจัยส่งหัวข้อการสัมภาษณ์ไปยังผู้เชี่ยวชาญ 15 คน ขั้นตอนที่3การสร้างแบบสอบถาม โดย
ผู้วิจัยนําข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ (EDFR รอบที่1) สร้างแบบสอบถามถาม เป็น
แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับขั้นตอนที่4นําข้อความจากความคิดเห็นของ
ผู้เชี่ยวชาญจากการสัมภาษณ์รอบที่1ที่มีความเห็นสอดคล้องกันตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป สร้าง
แบบสอบถามรูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา มาทำ EDFR รอบที่2และรอบที่3ขั้นตอนที่5การ
ตรวจสอบความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการนําไปปฏิบัติของรูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตาม
บริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา ผู้วิจัย
ดำเนินการ โดยการสนทนากลุ่ม(Focus group discussion) และขั้นตอนที่6สรุปความคิดเห็นที่ได้
จากการสนทนากลุ่มเครื่องมือที่ใช้เก็บรวมรวมข้อมูลในการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามการพัฒนา
รูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
สระกระโจมโสภณพิทยา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC: Index of Item-Objective Congruent) ร้อยละ (Percentage)
ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์(Interquartile range) และการตรวจสอบรูปแบบ
การนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระ
กระโจมโสภณพิทยา โดยการสนทนากลุ่ม(Focus group) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสม และความ
เป็นไปได้ในการนำรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาไปใช้ในโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ
โรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา ประกอบด้วยกระบวนการ 8 ด้าน62 องค์ประกอบ ได้แก่ด้านการ
วิเคราะห์สภาพความต้องการของการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา 6 องค์ประกอบ
ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนัก8 องค์ประกอบ ด้านการพัฒนาทักษะการทำงาน
กลุ่ม8 องค์ประกอบ ด้านการเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพและการสาธิตรูปแบบการสอน 10
องค์ประกอบ ด้านการร่วมคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้/กิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) 7
องค์ประกอบ ด้านการพัฒนาหลักสูตร10 องค์ประกอบ ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน 7
องค์ประกอบ และด้านการติดตาม ประเมินผลตลอดกระบวนการ 6 องค์ประกอบ
2. ผลการตรวจสอบรูปแบบการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนา
คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา มีความเหมาะสมสามารถนำไปปฏิบัติได้และ
มีองค์ประกอบเหมือนกับองค์ประกอบที่สร้างขึ้นตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
3. ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของ
สถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา โดยภาพรวม พบว่า
มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก มีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
บทนำ
โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาประเทศอย่าง
หลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจสังคม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเมืองการปกครอง
และการศึกษา มนุษย์จึงเป็นปัจจัยหลักที่จะต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นลำดับแรก โดยการ
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาประเทศ ซึ่งการจัดการศึกษาของไทย
มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตามสถานการณ์นโยบายปฏิรูปการศึกษามาโดยลำดับการศึกษาเป็น
รากฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาประเทศชาติและแก้ปัญหาต่างๆ
บนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างรอบด้าน เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาคนให้มี
การเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่21 ซึ่งมีสิ่งที่สำคัญที่สุดคือทักษะ
การเรียนรู้และการเสริมสร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพของคน
ดังนั้นกระบวนการจัดการศึกษา จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียน
การสอนให้สอดคล้องกับปรัชญาและจุดหมายของการศึกษา ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการนำหลักสูตร
ไปใช้ก็คือครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา โดยมีบทบาทสำคัญที่จะต้องทำหน้าที่กระตุ้นเร่งเร้า
ให้ครูมีความตื่นตัวที่จะปรับปรุงการเรียนการสอน และพัฒนาศักยภาพของตนไปสู่ความสำเร็จในการ
จัดการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่คาดหวังของสังคมไทย ให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ
มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีคุณภาพ
มีหลากหลายวิธีและวิธีที่สถานศึกษาสามารถดำเนินงานได้ทั้งระบบด้วยกันได้คือการนิเทศ
การศึกษา ซึ่งถือเป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลโดยตรงต่อมาตรฐานการจัดการศึกษา และ
พัฒนาการศึกษาในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การ
นิเทศการศึกษาจะเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนได้เป็น
อย่างด ีเพราะการนิเทศเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา และเป็นกระบวนการที่มีจุดหมายหลัก
ในการช่วยพัฒนาครูให้มีความสามารถในการพัฒนาศักยภาพในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศกับ
ครูผู้รับการนิเทศ เพื่อให้มีขวัญกำลังใจ สามารถพัฒนาการจัดการเรียนการสอนรวมถึงการทำงานของ
ตนเองได้และมีผลต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน
ต่อไปในที่สุดดังคำกล่าวที่ว่า“การจัดการที่ดีเป็นกุญแจนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรการนิเทศ
การศึกษาที่ดีนำไปสู่การจัดการที่ด”ี(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2562)
จากที่กล่าวมาข้างต้นสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่4)พ.ศ. 2562 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2562) ได้กล่าวอีกว่าการ
กระจายอำนาจมีเป้าหมายหลักที่สำคัญ3 ประการ คือพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาและการ
เรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้เกิดการเรียนรู้อย่างทั่วถึงมีคุณภาพ และส่งเสริมการมี
ส่วนร่วมของคนทุกภาคส่วนในการบริหารและการจัดการศึกษา ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนา
คุณภาพการศึกษา ประกอบด้วยกระบวนการบริหาร กระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการ
นิเทศการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอน โดยมีศึกษานิเทศก์เป็น
กำลังสำคัญในการสนับสนุนความสามารถของครูกระตุ้นยั่วยุให้ครูผู้บริหารโรงเรียนสามารถ
ปฏิบัติงานการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลต่อผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ ถึงแม้ว่าการนิเทศ
การศึกษาจะมีเป้าหมายหลักอยู่ที่คุณภาพผู้เรียน แต่การดำเนินงานกระทำผ่านตัวกลาง คือครูและ
บุคลากรทางการศึกษา ด้วยมีความคาดหวังว่ากิจกรรมต่างๆ ที่ครูได้รับนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการ
พัฒนาพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนซึ่งมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโดยตรง
(สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ,2541) และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์การขับเคลื่อน
ภารกิจตามนโยบายในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
หน่วยงานทางการศึกษามีแนวทางในการปฏิบัติมากมาย ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมการดำเนินการที่
สำคัญคือการนิเทศติดตาม ส่งเสริมช่วยเหลือและพัฒนาการจัดการศึกษา เพื่อให้เกิดคุณภาพโดย
อาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่ายในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาคุณภาพ
การเรียนการสอน ซึ่งปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงของสังคม ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วทำให้บุคลากรต้องมีการปรับปรุงพัฒนาตนเองให้ทันต่อการ
เปลี่ยนแปลง เพื่อการปฏิบัติงานที่ได้คุณภาพ การนิเทศการสอนมีความสำคัญต่อการเรียนการสอน
เป็นอย่างยิ่งเพราะในบางครั้งแม้ว่าครูผู้สอนจะได้ใช้ความรู้ความสามารถในกิจกรรมที่ได้วางแผนไว้
แล้วก็ตาม อาจจะมีบางอย่างขาดตกบกพร่องไม่สมบูรณ์หากมีบุคคลอื่นคอยชี้แนะ แนะนำ ช่วยเหลือ
จะทำให้การสอนเกิดผลดีกว่าการสอนเพียงคนเดียว(วัชรา เล่าเรียนดี,2553, น. 21)
การจัดการศึกษาของสถานศึกษาจะเกิดคุณภาพนั้นได้ต้องประกอบด้วย3 กระบวนการ คือ
กระบวนการบริหาร กระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการนิเทศการศึกษา ทั้งนี้จึงแสดงให้เห็น
ว่าการนิเทศการศึกษามีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการนิเทศการศึกษาเป็นการ
ชี้แจง การแนะนำ และการนิเทศการศึกษาเป็นภารกิจที่จำเป็นต่อการศึกษา เป็นเรื่องละเอียดอ่อน
จำเป็นที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่ายในหลาย ๆ ด้าน เพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา ดังจะเห็นจากความจำเป็นหลายประการ ได้แก่ประการแรก คือความเปลี่ยนแปลงของ
สังคม ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็วบุคลากรในหน่วยงาน
ทางการศึกษาจำเป็นต้องปรับปรุงตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะได้ปฏิบัติงานได้อย่างมี
คุณภาพ ซึ่งการนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือและพัฒนางานให้ทันต่อ
สภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นประการที่สอง คือในหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับมีเป้าหมาย
ในการปฏิบัติงานร่วมกันคือพัฒนาคุณภาพการศึกษา จึงจำเป็นต้องใช้กระบวนการการบริหาร
กระบวนการเรียนการสอนและกระบวนการนิเทศเพื่อจะได้ช่วยส่งเสริมสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและ
กันดังนั้นการนิเทศการศึกษาจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเหลือสนับสนุนให้กระบวนการบริหาร
และกระบวนการเรียนการสอนมีคุณภาพถึงระดับที่พึงประสงค์และประการสุดท้ายคือมาตรฐาน
การศึกษาของประเทศ จำเป็นต้องมีการรักษาและควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐาน และกระบวนการ
นิเทศการศึกษาก็มีขอบข่ายการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นการควบคุมมาตรฐานการศึกษาโดยตรง จะเห็นว่า
การนิเทศการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษาใน
สถานศึกษาให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนและปัญหาอื่นๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา เมื่อเป็น
เช่นนั้นแล้วเราจะละเลยไม่มีการนิเทศการศึกษาได้อย่างไร (อารีบัวแฝง, 2563 อ้างถึงใน ทิพวรรณ
ถาวรโชต, 2564) การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อช่วยเหลือและพัฒนางาน
ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและยังช่วยพัฒนา สนับสนุนส่งเสริมการทำงานซึ่งกันและกันการ
นิเทศการศึกษาจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการบริหาร และกระบวนการเรียน
การสอนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ประกอบด้วยการให้ความช่วยเหลือครูผู้สอน โดยให้มี
การปรับปรุงแนวการสอน รูปแบบการสอนของครูอย่างสม่ำเสมอ มีการวางแผนการแก้ปัญหา กำหนด
เป้าหมายของกลุ่มรวมกันมีการปรับกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพและความ
ต้องการของผู้เรียน (ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์,2553, น. 226)
ปัญหาของการนิเทศการศึกษาในสถานศึกษา เป็นปัญหาที่สถานศึกษาต้องการความ
ช่วยเหลือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในทุกๆ ด้าน เพื่อชี้แนะแนวทางและพัฒนาการจัด
การศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีขนาดเล็ก/กลาง และอยู่ห่างไกล ซึ่งต้องการการช่วยเหลือจากภาคส่วน
ต่างๆ ที่มีบทบาทในการช่วยพัฒนาการจัดการศึกษา ทั้งในด้านการบริหารวิชาการ การบริหาร
งบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป ปัญหาที่เกิดขึ้นของการจัดการศึกษานั้นต้องมี
การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดและตรงกับหลักการต่าง ๆ ของการจัดการศึกษา ซึ่งจะทำให้เกิด
ประสิทธิภาพดังที่ได้กล่าวมานั้นแต่ความต้องการของสถานศึกษาดังกล่าวยังไม่ได้รับการตอบสนอง
อย่างแท้จริงเนื่องมาจากการขาดแคลนศึกษานิเทศก์และบุคลากรในการนิเทศการศึกษา รวมทั้ง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีความจําเป็นในการพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมาย โดยให้
สถานศึกษาปฏิบัติงานได้ตามมาตราฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษา
การสร้างคุณภาพการศึกษาจึงต้องประกอบด้วยหลักการร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและ
หน่วยงานหลายภาคส่วนการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างกลุ่มบุคคล ทั้งนี้การรวมกลุ่มของบุคลากร
ที่มีบทบาทด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์และครูผู้สอน
ถือว่ามีความจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน อีกทั้งสภาพบริบทของสถานศึกษาแต่ละ
แห่งมีความแตกต่างกันทั้งด้านปัจจัยนำเข้า(นักเรียน) ลักษณะของครูและบุคลากรทางการศึกษาใน
โรงเรียน สภาพแวดล้อม วัฒนธรรมองค์กรรวมถึงปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ซึ่งส่งผลต่อการ
พัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งสิ้นทั้งนี้รูปแบบการนิเทศภายในที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้อง
อาศัยทั้งความร่วมมือและต้องมีรูปแบบที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์หลัก
เพื่อพัฒนาการศึกษาให้เกิดคุณภาพ นั่นคือความพยายามทุกอย่างของผู้ปฏิบัติหน้าที่ทางการศึกษาใน
การให้ความช่วยเหลือแนะนําครูหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการ
ปรับปรุงวิธีสอน ที่จะช่วยพัฒนาครูให้เกิดความงอกงามทางวิชาชีพทางการศึกษาให้รู้จักเลือกและใช้
วัสดุอุปกรณ์การสอน ปรับปรุงหลักสูตรและเลือกเนื้อหาสาระที่จะนํามาสอน ที่จะรวมถึงการพัฒนา
และปรับปรุงวิธีสอน และการประเมินผลการสอน (Good, 1973)
โรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ตั้งอยู่ตำบลสระกระโจม
อำเภอดอนเจดีย์จังหวัดสุพรรณบุรีมีสภาพพื้นที่แห้งแล้งประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่
อ้อยรับจ้างเลี้ยงวัวและรับจ้างทั่วไป ฐานะทางเศรษฐกิจยากจนถึงปานกลาง ส่งผลให้คุณภาพชีวิต
อยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง นักเรียนส่วนใหญ่ด้อยโอกาสทางการศึกษาและมีฐานะยากจน ดังนั้นครู
และบุคลากรของโรงเรียนถือเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานต่างๆ ทั้งด้านการจัดการศึกษาและ
การดูแลนักเรียน ครูและบุคลากรส่วนใหญ่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีศักยภาพเฉพาะตัว
บุคคลสูงและหลากหลาย แต่จากการสำรวจผลการปฏิบัติงาน ในปีการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าส่วน
ใหญ่ขาดความกระตือรือร้นในการร่วมกันขับเคลื่อนโรงเรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด คือการ
มุ่งยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่อก้าวสู่มาตรฐานสากล นอกจากนี้ยังมีการบรรจุครูใหม่เข้ามาทุกปี
การศึกษา ในขณะที่มีการเกษียณอายุราชการของบุคลากรทุกปีการศึกษาเช่นกันจึงทำให้เกิดความ
ต่างของวัยในการทำงานร่วมกันของครูและบุคลากร ซึ่งมีวิธีการ/ รูปแบบในการจัดการเรียนการสอน
รวมถึงการทำงานที่แตกต่างกันไปตามวัยการจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่ยังใช้สื่อการสอนแบบเดิม
ๆ ขาดการสร้าง/ พัฒนาสื่อการสอนหรือนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
กระบวนการสอนไม่จูงใจผู้เรียนให้เกิดความใฝ่รู้ใฝ่เรียน เท่าที่ควร ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้
ของผู้เรียนยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานของชาติการนิเทศการจัดการ
เรียนการสอนจึงมีบทบาทสูงมากในการที่จะช่วยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้พัฒนาตนเองให้มี
สมรรถนะสูงเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะ
ตามที่สังคมและประเทศชาติต้องการ เพื่อให้การนิเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ
นโยบายการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาของ
กระทรวงศึกษาธิการ รูปแบบและกระบวนการนิเทศจึงจำเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อให้
สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งความต้องการของผู้รับการนิเทศด้วยเหมือนกันควรมีการ
นำเอารูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ที่ประสบความสำเร็จเข้ามาประยุกต์ใช้(โรงเรียนสระกระโจม
โสภณพิทยา, 2564, น.7)
จากการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม และการเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่าง
รวดเร็วรวมถึงศึกษาและวิเคราะห์สภาพบริบทของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา ผู้วิจัยมีความสนใจ
ศึกษารูปแบบการนิเทศที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยามากที่สุดเรื่องการ
พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ
โรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา โดยออกแบบระบบการนิเทศภายในที่มีรูปลักษณ์ของกระบวนการ
ปฏิบัติเป็นแบบเฉพาะของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา เพื่อนำมาใช้ในการกำกับติดตามการ
ปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับสภาพจริงของโรงเรียน เพื่อพัฒนาและยกระดับศักยภาพของบุคลากรในด้าน
การจัดการเรียนการสอน และการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ก้าวสู่มาตรฐานครูมืออาชีพและ
ตอบสนองการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของโรงเรียน คือ“โรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา เป็นโรงเรียน
มาตรฐานสากล ฝึกฝนความมีวินัยรักษ์ความเป็นไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่ง
หมายและหลักการ รวมทั้งแนวการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. สร้างรูปแบบการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา เพื่อนำมา
พัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเหมาะสม
2. ประเมินรูปแบบการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
ขั้นตอนที่1การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนา
คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา ผู้วิจัยดำเนินการ ดังนี้
1. การศึกษาข้อมูลเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎีและ
งานวิจัยที่เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาของ Glickman (2004, pp. 11) ซึ่งประกอบด้วยหลัก5
ประการ คือ1) การให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง 2) การพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม3) การ
เสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ4) การพัฒนาหลักสูตรและ 5) การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน
ประกอบกับแนวคิดของ สุมน อมรวิวัฒน์(2545, น. 217-220) ได้กล่าวถึงการนิเทศโดยรูปแบบ
กัลยาณมิตรไว้4ประการ คือ1) การสร้างศรัทธา 2) การสาธิตรูปแบบการสอน 3) การร่วมคิดและ
เปลี่ยนเรียนรู้และ 4) การติดตามประเมินผลตลิดกระบวนการ และกระบวนการนิเทศของโรงเรียน
สระกระโจม-โสภณพิทยา ได้แก่1) ขั้นเตรียมการ-เตรียมใจ/ ความรู้/สื่อ/เครื่องมือ/สถานท ี่2) ขั้น
ดำเนินการ-สร้างความตระหนักความรู้ความเข้าใจ ปฏิบัติตาม องค์ประกอบของ “KRACHOM S
MODEL” ซึ่งมี7องค์ประกอบ ได้แก่K= Knowledge หมายถึงความรู้R= Reciprocity หมายถึง
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้A= Active Learning หมายถึงการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมและมี
ปฏิสัมพันธ์C= 21st Century Skills หมายถึงทักษะในศตวรรษที่21 H = Heartiness หมายถึง
เป็นหนึ่งเดียว O = Oneness หมายถึงเป็นหนึ่งเดียว และ M = Manage หมายถึงการบริหาร
จัดการ โดยมีกิจกรรมการนิเทศภายใน 6 กิจกรรม ได้แก่การเยี่ยมชั้นเรียน, การชี้แนะและสอนงาน,
การประชุมนิเทศ ติดตาม ทบทวนการปฏิบัติงาน, การนิเทศบูรณาการ สร้างสรรค์ร่วมกับชุมชนการ
เรียนรู้วิชาชีพ,การนิเทศ Online (สถานการณ์Covid-19) โดยใช้ข้อมูลเป็นฐาน และการสรุปและ
รายงานผลการนิเทศ และ 3) ขั้นประเมินผล-วิเคราะห์ตรวจสอบ สังเกต และรับฟังข้อมูลป้อนกลับ
เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงและพัฒนา
ซึ่งการได้มาของกระบวนการนิเทศของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยานั้นผู้วิจัยได้ทำการ
วิเคราะห์สภาพบริบทของโรงเรียน จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกแบบ C-PEST คือการ
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงาน นำปัจจัย5 ด้านประกอบด้วย1) ด้านพฤติกรรมของ
ลูกค้านักเรียน/ ผู้ปกครอง: C 2) ด้านการเมืองและกฎหมาย: P 3) ด้านเศรษฐกิจ:E 4) ด้านสังคมและ
วัฒนธรรม: S และ 5) ด้านเทคโนโลยี:Tที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการหน่วยงานให้บรรลุวัตถุประสงค์
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นโอกาส และข้อมูลที่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ยังวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
แบบ 7S โดยนำปัจจัย7 ด้านมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นโอกาส ข้อมูลที่เป็นอุปสรรค ซึ่ง
ประกอบด้วย 1) ด้านโครงสร้าง: S1 2) ด้านกลยุทธ์ของสถานศึกษา: S2 3) ด้านระบบในการ
ดำเนินงานของสถานศึกษา: S3 4) ด้านแบบแผนหรือพฤติกรรมในการบริหารจัดการ: S4 5) ด้าน
บุคลากรในสถานศึกษา: S5 6) ด้านทักษะความรู้ความสามารถของบุคลากร: S6 และ 7) ด้านค่านิยม
ร่วมกันของบุคลากรในสถานศึกษา: S7
2. ร่างรูปแบบจากกรอบแนวคิดของการวิจัยในข้อที่1เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่
เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา
โดยสร้างรูปแบบการนิเทศ 8 ด้านคือ1) ด้านการวิเคราะห์สภาพความต้องการของการนิเทศภายในที่
เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา จำนวน 6 ข้อ2) ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจ และความ
ตระหนักจำนวน 6 ข้อ3) ด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่มจำนวน 8 ข้อ4) ด้านการเสริมสร้าง
ประสบการณ์ทางวิชาชีพและการสาธิตรูปแบบการสอน จำนวน 10 ข้อ5) ด้านการร่วมคิด
แลกเปลี่ยนเรียนรู้/กิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) จำนวน 7 ข้อ6) ด้านการพัฒนา
หลักสูตรจำนวน 10 ข้อ7) ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 7 ข้อและ 8) ด้านการ
ติดตาม ประเมินผลตลอดกระบวนการ จำนวน 6 ข้อ
3. การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา โดยการนำรูปแบบจากข้อที่2มาสัมภาษณ์และ
สอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาฉันทามติโดยใช้เทคนิคเดลฟาย จำนวน 3 รอบ
4. ตรวจสอบกรอบแนวคิดการวิจัยโดยจัดสนทนากลุ่ม(Focus group) ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
รูปแบบการนิเทศของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยาในอนาคต กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 15 คน
ประกอบด้วยผู้บริหาร 2 คน หัวหน้าฝ่าย4 คน และเป็นครู9คน ณ ห้องโสตฯ 1 โรงเรียนสระ
กระโจมโสภณพิทยา เมื่อวันที่2มิถุนายน พ.ศ. 2564 ณ ห้องโสตทัศนศึกษา 1 โรงเรียนสระกระโจม
โสภณพิทยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้พิจารณากรอบแนวคิดในการวิจัยและร่วม
แสดงความคิดเห็นรูปแบบการนิเทศในอนาคตของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา นำแบบสอบถาม
ที่ได้ส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาอีกครั้ง
ขั้นตอนที่2EDFR รอบที่1เป็นการนำแบบสัมภาษณ์ที่ได้จากการสนทนา ไปสัมภาษณ์
ผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้วิจัยส่งหัวข้อการสัมภาษณ์ไปยังผู้เชี่ยวชาญ 15 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน
มัธยมศึกษา 4 คน ศึกษานิเทศก์ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการ 3 คน และครูผู้สอนที่มีวิทยฐานะ
ไม่ต่ำกว่าชำนาญการ และเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้8คน ก่อนที่จะเดินทางไปสัมภาษณ์การ
สัมภาษณ์แบบ EFR (Ethnographic Futures Research) เป็นการสัมภาษณ์แบบปลายเปิดและไม่
เป็นคำถามแบบชี้นำ (Non-directive open- ended) รวมทั้งอนาคตภาพด้านที่ดี(Optimistic-
realistic) อนาคตภาพด้านที่ไม่ดี(Pessimistic-realistic) และอนาคตที่คาดว่ามีโอกาสที่จะเกิดขึ้น
จริงหรือที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ตามลำดับโดยผู้วิจัยดำเนินการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
จำนวน 15 คน ด้วยตนเอง พร้อมทั้งบันทึกไว้ระยะเวลาในการสัมภาษณ์ตั้งแต่1-3 ชั่วโมง ใช้เวลาใน
การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2564
1. เกณฑ์การคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญในการสัมภาษณ์
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญแบบเจาะจง (Purposive sampling) ตาม
เกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์จำนวน 15 ท่านกำหนดคุณสมบัติดังนี้
1.1 เป็นผู้มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอน หรือการนิเทศไม่น้อยกว่า5 ปี
1.2 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโททางด้านการศึกษา หรือมีวิทยฐานะไม่
ต่ำกว่าชำนาญการ
1.3 เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ บทบาทหน้าที่ในการนิเทศเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้
1.4 เป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์และครูที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้า
กลุ่มสาระการเรียนรู้
2. กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 4 คน
ศึกษานิเทศก์ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการ 3 คน และครูผู้สอนที่เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้8คน
ขั้นตอนที่3การสร้างแบบสอบถาม โดยผู้วิจัยนําข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ
(EDFR รอบที่1) สร้างแบบสอบถามถาม เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับโดย
กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้(Best & Kalm, 1993, pp. 246-250)
จากนั้นนําแบบสอบถามสอบถามให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา โดยการ
หาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Item Objective Congruence Index: IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน
ขั้นตอนที่4นําข้อความจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากการสัมภาษณ์รอบที่1ที่มี
ความเห็นสอดคล้องกันตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป สร้างแบบสอบถามรูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไป
ตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา มาทำ
EDFR รอบที่2และรอบที่3โดยผู้วิจัยนําแบบสอบถามส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตอบครั้งที่2และเมื่อได้รับ
แบบสอบถามกลับมา ผู้วิจัยนําแบบสอบถามส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตอบอีกเป็นครั้งที่3เมื่อได้แบบสอบถาม
ครั้งที่3กลับมา ผู้วิจัยนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่ามัธยฐาน (Median: Men.) และค่าพิสัยระหว่างควอ
ไทล์(Interquartile Range: IR.) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาข้อที่มีค่ามัธยฐาน ตั้งแต่3.50 ขึ้นไป
และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์1.50 ลงมา
ขั้นตอนที่5การตรวจสอบความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการนําไปปฏิบัติของรูปแบบการ
นิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจม
โสภณพิทยา ผู้วิจัยดำเนินการ โดยการสนทนากลุ่ม(Focus group discussion) ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการ
เพื่อตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายในของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา
กับผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา จำนวน 10 คน ได้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน
1 คน รองผู้อํานวยการโรงเรียนจำนวน 1 คน หัวหน้าฝ่ายจำนวน 4 คน และครูผู้สอน จำนวน 4 คน
ขั้นตอนที่6สรุปความคิดเห็นที่ได้จากการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุ