การประเมินโครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์เทคโนโลยี
ผู้ประเมิน นางสาวรมณี เหลี่ยมแสง
หน่วยงาน โรงเรียนหล่มสักวิทยาคม อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามมาตรฐาน สสวท. ของโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม เป็นรายงานการประเมินความสำเร็จของผลการดำเนินงานโครงการตามรูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) โดยวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อมของโครงการ เกี่ยวกับความต้องการความจำเป็น ความเหมาะสมของโครงการ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน และความเป็นไปได้ของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ สื่อ และสถานที่ งบประมาณ การบริหารจัดการ และการสนับสนุน 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ เกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆของโครงการ ได้แก่ขั้นที่ 1ขั้นที่ 1 L: Learning (การเรียนรู้) ขั้นที่ 2 O: Objective (เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์)ขั้นที่ 3 M: Management (การบริหารจัดการ) ขั้นที่ 4 S: Surveying (การสำรวจตรวจสอบ)ขั้นที่ 5 A: Applying (การประยุกต์ใช้) และขั้นที่ 6 K: Knowledge management (การจัดการความรู้) 4) เพื่อประเมินผลผลิตของการดำเนินโครงการเกี่ยวกับคุณภาพผู้เรียน คุณภาพครู และการบริหารจัดการของโรงเรียน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและครู 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 1 คน ผู้ปกครอง 175 คน และนักเรียน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินจำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1) ผลการวิเคราะห์ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามมาตรฐาน สสวท. ของโรงเรียน หล่มสักวิทยาคม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.52, SD.= 0.40) และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดและระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน ("X" ̅ = 4.62, SD.= 0.47) รองลงมาคือ ความต้องการและความจำเป็นของโครงการ ("X" ̅ = 4.57, SD.= 0.42) และโดยสรุปเห็นว่าการจัดโครงการครั้งนี้มีความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน และมีความต้องการและความจำเป็นในการดำเนินโครงการ
เมื่อเทียบกับเกณฑ์ประเมินสรุปได้ว่า ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ในการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามมาตรฐาน สสวท. ของโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์การประเมิน ("X" ̅ = 3.51) ทุกรายการ
2) ผลการวิเคราะห์การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามมาตรฐาน สสวท. ของโรงเรียนหล่มสักวิทยาคมตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.24, SD.= 0.49) และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดบุคลากร (Man) ("X" ̅ = 4.39, SD.= 0.46) รองลงมาคือ การบริหารจัดการ (Management) ("X" ̅ = 4.29, SD.= 0.60)
เมื่อเทียบกับเกณฑ์ประเมินสรุปได้ว่า ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ในการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามมาตรฐาน สสวท. ของโรงเรียนหล่มสักวิทยาคมตามมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์การประเมิน ("X" ̅ = 3.51) ทุกรายการ
3) ผลการวิเคราะห์การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของการโครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามมาตรฐาน สสวท. ของโรงเรียนหล่มสักวิทยาคมตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.42, SD.= 0.54) และเมื่อพิจารณารายข้อความคิดเห็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ขั้นที่ 3 M : Management (การบริหารจัดการ) ("X" ̅ = 4.49, SD.= 0.53) รองลงมาคือขั้นที่ 2 O : Objective (วัตถุประสงค์) ("X" ̅ = 4.47, SD.= 0.66)
เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมินสรุปได้ว่า ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ในการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามมาตรฐาน สสวท. ของโรงเรียนหล่มสักวิทยาคมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์การประเมิน (("X " ) ̅= 3.51) ทุกรายการ
4) ผลการวิเคราะห์การประเมินด้านผลผลิต (Output Evaluation) ของการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามมาตรฐาน สสวท. ของโรงเรียนหล่มสักวิทยาคมตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.33) และเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ความคิดเห็นก็อยู่ในระดับมากทุกกลุ่ม โดยกลุ่มที่มีความเห็นสูงสุด ("X" ̅ = 4.34) คือ ครู เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.21, SD.= 0.56) และความคิดเห็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การบริหารจัดการโรงเรียน ("X" ̅ = 4.43, SD.= 0.44)
เมื่อเทียบกับเกณฑ์ประเมินสรุปได้ว่า ผลการประเมินด้านผลผลิต (Output Evaluation) ในการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามมาตรฐาน สสวท. ของโรงเรียนหล่มสักวิทยาคมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์การประเมิน ("X" ̅ = 3.51) ทุกรายการ