LASTEST NEWS

24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนบ้านนาคู

usericon

ชื่อเรื่อง     การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านนาคู
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4
ผู้ประเมิน    นายวันชัย แทนกอง
ตำแหน่ง     ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ
สถานที่ทำงาน    โรงเรียนบ้านนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4
ปีที่พิมพ์     2564

บทคัดย่อ
    การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตและผลกระทบของการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 กลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่ร่วมผู้อำนวยการโรงเรียนและตัวแทนครู) ครู จำนวน 5 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 22 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 22 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า
    1. ผลการประเมินบริบทของโครงการ พบว่า โดยรวมมีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56) ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ โดยประเด็นที่ผลการประเมินสูงสุดคือ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษาเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนการเสริมสร้างทักษะชีวิต และการคุ้มครองนักเรียน มีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75) รองลงมาคือ โครงการมีความสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโครงการมีความสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.67) และประเด็นประเมินที่มีความสอดคล้องต่ำสุด คือ โครงการมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ( = 4.33)
    2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินโครงการ พบว่า โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.41 ) ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ โดยประเด็นที่ผลการประเมินสูงสุดคือ ด้านภาคีเครือข่าย มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54 ) รองลงมาคือด้านบุคลากร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48 ) ด้านการบริหารจัดการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42) ด้านวัสดุอุปกรณ์ และสื่อการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37) และด้านงบประมาณมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.25) ตามลำดับ
    3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนบ้านนาคู พบว่า โดยรวม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( =4.50) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยกิจกรรมที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ กิจกรรมการส่งเสริมนักเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53) รองลงมาคือกิจกรรม กิจกรรมการคัดกรองนักเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.52) กิจกรรมกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51) กิจกรรมกิจกรรมการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก( =4.48) และกิจกรรมกิจกรรมการส่งต่อนักเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 4.44) ตามลำดับ
    4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ ได้แก่
        4.1 ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูของโครงการ พบว่า ครูมีความเห็นว่า ผลการประเมินระดับความเหมาะสมด้านผลผลิตการดำเนินโครงการ โดยรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ( = 4.69) รองลงมา คือ ด้านเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67) ด้านความสามารถในการเรียนรู้ มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58) และด้านการป้องกันและแก้ไขด้านการเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 4.50) ตามลำดับ สรุปได้ว่าประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.2 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาและสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านนาคู พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนบ้านนาคู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 73.50 ซึ่งนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา (โรงเรียนกำหนดค่าเป้าหมายมาตรฐานของโรงเรียนมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร ผู้เรียนร้อยละ 70 บรรลุและมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้งมีความก้าวหน้าในผลการ ทดสอบระดับชาติ ผลการทดสอบรายสาระการเรียนรู้ และ/หรือ ผลการทดสอบอื่น ๆ) โดยรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 75.10 และปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 86.96 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.86 รวมถึง ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 36.54 ปีการศึกษา 2564 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 39.73 มีผลการพัฒนา รวมเฉลี่ยเท่ากับ +6.30 อีกทั้ง ผลต่างจำนวนผลการเรียนรู้ 0 ร มส มผ ของนักเรียนปีการศึกษา 2563 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.13 และปีการศึกษา 2564 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.24 โดยภาพรวมผลการเรียนรู้ 0 ร มส มผ ลดลงทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ -2.88
    5. ผลประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคู ได้แก่ ประเมินความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 โดยรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ทุกกลุ่มมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55) และ ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54) ตามลำดับ
    สรุปได้ว่า ประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่าด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด และคุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็นผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ค่าเฉลี่ย GPA ≥ 2.00 และสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาระดับดี- ดีมาก ≥ ร้อยละ 90 และทุกประเด็นตัวชี้วัดสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกเรื่อง
    สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ที่ได้จากการประเมินโครงการในแต่ละด้าน สรุปได้ดังนี้
    1. ควรนำผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 เสนอหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานภายนอกและผู้ปกครองนักเรียน เพื่อให้ได้รับการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
    2. ควรมีการการวางแผน การปฏิบัติงานการดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
    3. โรงเรียนควรนำผลสรุปที่ได้จากการดำเนินโครงการเผยแพร่ในงานส่งเสริมประพฤตินักเรียนในสังกัดทุกแห่ง เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและ ปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบ
    4. ควรจัดให้มีโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปีการศึกษา มีการประเมินผลการดำเนินงานโครงการและขยายผลสำเร็จสู่ภายนอก
    5. โรงเรียนควรพัฒนาการจัดกิจกรรมต่างๆ ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืน

    
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^