เผยแพร่ผลงาน
โรงเรียนบ้านท่าโสม โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบชิปป์ (CIPP MODEL)
ผู้รายงาน นางสาวศิวะรักษ์ ศรีละ
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านท่าโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี
ปี พ.ศ. 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าโสม โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบชิปป์ (CIPP MODEL) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการด้านสิ่งแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านท่าโสม โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบชิปป์ (CIPP MODEL) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ปี การศึกษา 2564 กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ครู จำนวน 62 คน โดยใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน คัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 จำนวน 192 คน คัดเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling)
เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถามและบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยละส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน ประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าโสม โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบชิปป์ (CIPP MODEL) ผลการประเมินรวมอยู่ในระดับ มาก
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าโสม โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบชิปป์ (CIPP MODEL) ผลการประเมินรวมอยู่ในระดับ มาก
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าโสม โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบชิปป์ (CIPP MODEL) ผลการประเมินรวมอยู่ในระดับ มาก
4. การประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าโสม โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบชิปป์ (CIPP MODEL) ผลการประเมินรวมอยู่ในระดับ มาก
5. การประเมินความพึงพอใจในความสำเร็จของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าโสม โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบชิปป์ (CIPP MODEL) ผลการประเมินรวมอยู่ในระดับ มาก