เผยแพร่ผลงาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2
ปีที่วิจัย : 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการอ่านจับใจความก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบActive Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบActive Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนไตรคามประชาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 จำนวน 17 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ4R แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบวัดเจตคติที่มีต่อแบบฝึกทักษะอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ4R และการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 89.00/84.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6256 แสดงว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้พัฒนาการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความรู้เพิ่มขึ้น 0.6176 หรือคิดเป็นร้อยละ 62.56
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเจตคติต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการ
อ่านแบบ SQ4R อยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.44 และการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.09