LASTEST NEWS

24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

การพัฒนาระบบเครือข่ายทางวิชาการ

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาระบบเครือข่ายทางวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี โรงเรียนเสาวนิต (บ้านวังแซ)
ผู้วิจัย นายสุขสันต์ พวงทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนเสาวนิต (บ้านวังแซ)
ปีการศึกษา    2564

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการพัฒนาระบบเครือข่ายทางวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการพัฒนาระบบเครือข่ายทางวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการส่งเสริมทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และ (4) ศึกษาแนวทางพัฒนาระบบเครือข่ายทางวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ประชากรที่ใช้วิจัยในการวิจัยครั้งนี้ได้จำแนกประชากรเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 15 คน ประกอบด้วย (2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key - Informant) จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบประเมินประสิทธิภาพระบบเครือข่ายทางวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (2) แบบประเมินทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการส่งเสริมทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี สถิติที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้ (1) ค่าเฉลี่ย (2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ (3) การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ที่ไม่อิสระจากกัน (T-test Dependent Sample)

ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการประเมินประสิทธิภาพ และประสิทธิผลจากการพัฒนาระบบเครือข่ายทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี มีดังนี้
1.1 ผลการประเมินประสิทธิภาพ: ระบบเครือข่ายทางวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21 ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี โรงเรียนเสาวนิต (บ้านวังแซ) พบว่า ระยะที่ 1 ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก รายขั้นตอนเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ขั้นที่ 2 สร้างข้อตกลงและ ร่วมวางแผน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ขั้นที่ 1 เตรียมการและแสวงหาผู้ร่วมพัฒนา ขั้นที่ 3 ร่วมดำเนินงานและกำกับติดตาม และขั้นที่ 4 ทบทวนผลการดำเนินงาน ทั้ง 3 ขั้นตอนมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ซึ่งทุกขั้นตอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนระยะที่ 2 ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รายขั้นตอนเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ขั้นที่ 4 ทบทวนผลการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ขั้นที่ 2 สร้างข้อตกลงและร่วมวางแผน และขั้นที่ 3 ร่วมดำเนินงานและกำกับติดตาม ส่วนขั้นที่ 1 เตรียมการและแสวงหาผู้ร่วมพัฒนา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ตามลำดับ ซึ่งทุกขั้นตอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 ผลการประเมินประสิทธิผล: ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี โรงเรียนเสาวนิต (บ้านวังแซ) พบว่า ระยะที่ 1 ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก รายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่ 3 การรู้ทันไอซีที (ICT: Information, Communication and Technology Literacy) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านที่ 2 การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) และด้านที่ 1 การรู้เท่าทันสารสนเทศ (Information Literacy) ตามลำดับ ซึ่งทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนระยะที่ 2 ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่ 2 การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านที่ 1 การรู้เท่าทันสารสนเทศ (Information Literacy) และด้านที่ 3 การรู้ทันไอซีที (ICT: Information, Communication and Technology Literacy) ซึ่งทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลจากการพัฒนาระบบเครือข่ายทางวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี พบว่า ประสิทธิภาพ: ระบบเครือข่ายทางวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี โรงเรียนเสาวนิต (บ้านวังแซ) และประสิทธิผล: ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี โรงเรียนเสาวนิต (บ้านวังแซ) ระยะที่ 1 กับระยะที่ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3 ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการส่งเสริมทักษะผู้เรียนในศตวรรษ ที่ 21ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4 แนวทางพัฒนาระบบเครือข่ายทางวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี โรงเรียนเสาวนิต (บ้านวังแซ) จำแนกตามขั้นตอน พบว่า
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการและแสวงหาผู้ร่วมพัฒนา พบข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) ผู้บริหารโรงเรียนประชุมชี้แจง อภิปราย รับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางการสร้างเครือข่าย และโรงเรียนร่วมพัฒนาสู่มาตรฐานสากลให้กับบุคลากรหลักของโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้องหลักเพื่อสร้างความตระหนักร่วมกัน (2) โรงเรียนแต่งตั้งคณะทำงานเครือข่าย (Partnership Committee) ประกอบด้วย ผู้บริหาร บุคลากรหลักของโรงเรียน รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ อาจจะเป็นศิษย์เก่าที่มีประสบการณ์หรือผู้นำองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้บริหารโรงเรียนเครือข่ายร่วมพัฒนา เพื่อกำหนดแผน เป้าหมาย และแหล่งร่วมพัฒนา ตลอดจนแนวทางการสนับสนุนจากชุมชน สถานศึกษา และองค์กรต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความต้องการและโอกาสของนักเรียนว่าจะมีส่วนเข้าถึงกิจกรรม และบริการร่วมพัฒนาได้ทั่วถึงทุกคนหรือเฉพาะกลุ่ม (3) ศึกษาทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับทิศทาง และกลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียน โดยคำนึงถึงคุณประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายที่อาจได้รับ หรือเรียนรู้จากโรงเรียนร่วมพัฒนา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว (4) สำรวจ ทบทวนว่ามีกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาหรือโรงเรียนที่เป็นคู่พัฒนาอยู่ในท้องถิ่นพื้นที่ใกล้เคียงอยู่เดิมแล้ว หรือโรงเรียนที่จะสามารถเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาได้ตามที่กำหนด เป้าหมายไว้หรือไม่ หรืออาจแสวงหาแนวทางสร้างคู่พัฒนา ในลักษณะกลุ่มร่วมพัฒนา (Cluster Partnerships) กับโรงเรียนในท้องถิ่นหรือภูมิภาคอื่นเพิ่มเติม และ (5) ประสานงานขอความร่วมมือจากครู บุคลากร หรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อใช้สัมพันธภาพส่วนตัวในการแสวงหาคู่ร่วมพัฒนา ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีประการหนึ่งในการได้มาซึ่งคู่ร่วมพัฒนาที่หลากหลาย ตรงตามความต้องการเฉพาะด้านของโรงเรียน
ขั้นที่ 2 สร้างข้อตกลงและร่วมวางแผน พบข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) การติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนสารสนเทศเพื่อการทำความรู้จัก และร่วมทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และแนวทาง การร่วมเป็นคู่พัฒนา (2) มีการศึกษาหลักสูตรร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการสร้างเครือข่าย และ (3) จัดทำและลงนามข้อตกลง และร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานร่วมระหว่างเครือข่ายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ขั้นที่ 3 ร่วมดำเนินงานและกำกับติดตาม พบข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) คณะทำงานเครือข่ายของโรงเรียนศึกษารายละเอียด วิเคราะห์ ตรวจสอบ ทบทวนแผนงาน โครงการประชุมชี้แจง เผยแพร่สร้างความเข้าใจผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้าใจมีความ พร้อมที่จะปฏิบัติตามแผน (2) คณะกรรมการบริหาร/คณะทำงานของเครือข่าย ผู้รับผิดชอบระหว่างเครือข่ายนำข้อตกลง กิจกรรมนำมาปฏิบัติ เพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนสู่มาตรฐาน (3) เชิญชวนผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชนท้องถิ่นทั้ง สองฝ่ายให้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และ (4) จัดให้มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่าง ผู้ปฏิบัติและนักเรียน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ และร่วมมือกันพัฒนาครูและบุคลากร ทางการศึกษา และ (5) การกำกับ ติดตาม และประเมินผลในข้อตกลงควรกำหนดเรื่องของผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ เครื่องมือ วิธีการ งบประมาณและ ระยะเวลา เพื่อต้องการให้รู้ว่าผลการดำเนินงานของเครือข่ายบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่อย่างไร จะนำผลการประเมินให้คณะกรรมการบริหารเครือข่ายรับทราบจะได้นำไปศึกษาวิเคราะห์เพื่อการปรับปรุงพัฒนาเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
ขั้นที่ 4 ทบทวนผลการดำเนินงาน พบข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) คณะกรรมการบริหารเครือข่ายร่วมกันทบทวนผลการดำเนินงานของคู่พัฒนาว่ามีความก้าวหน้าหรือประสบผลสำเร็จตามที่ร่วมกันกำหนดไว้อย่างไรบ้าง มีผลกระทบต่อเนื่องจากการดำเนินงานอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ควรมีการแสดงข้อมูล หลักฐาน ร่องรอยผลการปฏิบัติงานมาใช้ประกอบการพิจารณา (2) ทบทวนแผนการดำเนินงาน และข้อตกลงร่วมกันเพื่อพิจารณา ปรับปรุง พัฒนา หรือดำเนินการตามที่เห็นสมควรร่วมกันต่อไป และ (3) ผลการตรวจสอบทบทวนนำไปเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานหรือพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป ถ้าหากเห็นว่าเป็นปัญหาอุปสรรคควรปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^