LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567เช็กด่วน!! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 25 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 5 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.- บาท สนใจสมัครตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

usericon

ชื่อเรื่อง         รายงานการประเมินโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านทุ่งนารี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้ประเมิน    นายวีระวัฒน์ กิติศักดิ์รณกรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งนารี
ปีการศึกษา        2564

บทสรุปผลการประเมินโครงการ

รายงานการประเมินโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านทุ่งนารี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการเพื่อ 1) ประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและวัตถุประสงค์ของโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ความพร้อมและความเหมาะสมด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการของโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) ประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านกระบวนการ ได้แก่ การวางแผน การประชาสัมพันธ์ การรับสมัคร การอำนวยความสะดวก การจัดกิจกรรม ปัญหาและอุปสรรคของโครงการ 4) ประเมินผลผลิตของโครงการ (1) ประเมินความสำเร็จโดยภาพรวม ของโครงการ (2) ประเมินผลสำเร็จของกิจกรรม (3) ประเมินความพึงพอใจของ ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และผู้นำชุมชน (4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน คือ ครู 20 คน (เลือกเจาะจงเฉพาะครูผู้สอน) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (เลือกเจาะจงเฉพาะบุคคลที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารและครูโรงเรียนบ้านทุ่งนารี ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 102 คน (เลือกเจาะจงเฉพาะผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) ผู้นำชุมชน 10 คน (เลือกเจาะจงเฉพาะผู้ที่ ไม่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน) นักเรียนจำนวน 102 คน (เลือกเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ฉบับที่ 1 ด้านสภาพแวดล้อม มีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 ด้านปัจจัยนำเข้า มีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 ด้านกระบวนการมีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 4 ด้านผลผลิตเกี่ยวกับความสำเร็จของโครงการ มีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้นำชุมชน ฉบับที่ 5 ด้านผลผลิตเกี่ยวกับความสำเร็จของกิจกรรม มีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้นำชุมชน ฉบับที่ 6 ด้านความพึงพอใจ มีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชนและผู้ปกครอง และฉบับที่ 7 ด้านความพึงพอใจ มีข้อคำถาม 8 ข้อ สำหรับถามนักเรียน

สรุปผลการประเมิน

1. ผลการประเมินในภาพรวมของโครงการ พบว่าผลการประเมินโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2 รายการ โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ดังนี้ การประเมินด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.63, S.D= 0.58) การประเมินด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D= 0.16) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D= 0.25) และการประเมิน ด้านสภาพแวดล้อม อยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D= 0.40)
2. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านสภาพแวดล้อมของโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D = 0.40) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของโรงเรียน และหน่วยงานต้นสังกัด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D = 0.48) รองลงมา คือ โรงเรียนมีความพร้อมในด้านสถานที่เพื่อทำการเกษตร ทั้งปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D = 0.55) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียน มีเป้าหมายให้นักเรียนทุกคนได้มีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก ( = 4.00, S.D = 0.79)
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D = 0.25) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ชุมชนให้ความร่วมมือ และสนับสนุนกิจกรรมของโครงการ จัดการเรียนการสอนบูรณาการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 4.64, S.D = 0.49) รองลงมา คือ วัสดุอุปกรณ์ ในการดำเนินงานโครงการมีอย่างเพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D = 0.71) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D = 0.70)

4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านกระบวนการของโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D = 0.16) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การดำเนินกิจกรรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79, S.D = 0.42) รองลงมา คือ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความร่วมมือดำเนินโครงการ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 4.67, S.D = 0.48) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียนมีการวางแผนการดำเนินโครงการทุกขั้นตอน อยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D = 0.71)
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า
5.1 ผลการประเมินความสำเร็จของโครงการ พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้นำชุมชนในด้านผลผลิต ความสำเร็จของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.57, S.D = 0.18) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการผลิตผลทางการเกษตร อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D=0.44) รองลงมา คือ ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านทุ่งนารี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72, S.D=0.45) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ย ต่ำสุด คือ ผลการดำเนินโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านทุ่งนารี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ปีการศึกษา 2564 เป็นแบบอย่าง แก่โรงเรียนอื่น/หน่วยงานอื่น อยู่ในระดับมาก ( = 4.23, S.D = 0.84)
5.2 ผลการประเมินความสำเร็จของกิจกรรม พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้นำชุมชนด้านผลผลิต ผลสำเร็จของกิจกรรมโดย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D = 0.19) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจกิจกรรมการออมทรัพย์ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77, S.D = 0.53) รองลงมา คือ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจกิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านทุ่งนารี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 4.74, S.D = 0.58) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของกิจกรรม ในโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านทุ่งนารี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมาก ( = 4.35, S.D = 0.58)

5.3 ด้านความพึงพอใจ
5.3.1 ผลการประเมินความพึงพอใจ ของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและผู้นำชุมชน พบว่า ความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและผู้นำชุมชน ต่อการดำเนินโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านทุ่งนารี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D = 0.19) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ในการผลิตผลทางการ เกษตรและสามารถ นำประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.81, S.D = 0.43) รองลงมา คือนักเรียนร่วมกิจกรรมโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านทุ่งนารี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีความสุข อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80, S.D = 0.43) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรจากภาครัฐและเอกชน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D = 0.67)
5.3.2 ผลการประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียน พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการดำเนินโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านทุ่งนารี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ปีการศึกษา 2564 มีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D = 0.19) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านทุ่งนารี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80, S.D = 0.49) รองลงมา คือ ผู้ปกครองของนักเรียนสนับสนุนให้บุตรหลานร่วมกิจกรรมโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านทุ่งนารี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77, S.D = 0.44) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียนนำผลผลิตที่ได้จากโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านทุ่งนารี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ส่งผู้ประกอบอาหารกลางวันและจำหน่ายในหมู่บ้าน อยู่ในระดับมาก ( = 4.60, S.D = 0.62)

ข้อเสนอแนะ

1. นโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียนในแต่ละปีการศึกษา ควรสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและเข้าใจตรงกันเพื่อว่า จะมีการตรวจสอบทบทวนนโยบายของโรงเรียน ซึ่งบริบทของสังคมได้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
2. การดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ควรมีการประสานความร่วมมือกับบุคคลและหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนด ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. กิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการควรกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติให้ชัดเจนและสื่อความหมายที่เข้าใจได้ง่าย พร้อมปฏิบัติได้ทันที
4. การมอบหมายให้บุคลากรในโรงเรียนรับผิดชอบ ควรพรรณนางานไว้ด้วย เพื่อผู้ปฏิบัติจะรู้ขอบข่ายของงาน และบุคลากรอื่นสามารถปฏิบัติแทนได้เมื่อมีเหตุจำเป็น
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^