การประเมินโครงการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนฯ
ของโรคติดเชื้อโควิด 19 โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครศรีธรรมราช เขต 1
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาววิไลวรรณ ภัยรี
ตำแหน่ง : รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPPเModel)เประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตเโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (ContextเEvaluation) เกี่ยวกับความต้องการจำเป็น ความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด 2)เประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับความเหมาะสมของระบบบริหารจัดการของโรงเรียน ความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณและทรัพยากร ความเพียงพอของสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ ความเหมาะสมอของวัฒนธรรมการทำงานในโรงเรียน 3)เประเมินกระบวนการ (ProcessเEvaluation) เกี่ยวกับการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการนิเทศ การวางแผนและกำหนดทิศทางการนิเทศ การดำเนินการนิเทศภายใน การสร้างขวัญกำลังใจ การประเมินและสรุปผลเ4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับด้านคุณภาพครู คุณภาพนักเรียน คุณภาพผู้บริหาร คุณภาพโรงเรียนและด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ อำเภอเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ในปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน 4,259 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (PurposiveเRandom Sampling) จำนวน 215 คน โดยศึกษาจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50เคน (สุ่มอย่างง่ายชั้นละ 10 คน) ครูผู้สอน จำนวน 100 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 50 คน (ผู้ปกครองที่นักเรียนถูกเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง) และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามประเมินบริบท ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ จำแนกเป็น 5 ตัวชี้วัด มีข้อคำถามจำนวน 37 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.86 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ จำแนกเป็น 5 ตัวชี้วัด มีข้อคำถามเจำนวนเ40เข้อเมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.89 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินกระบวนการ ประเมินระหว่างดำเนินงานโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด ข้อคำถามเจำนวนเ50 ข้อเมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 4 แบบสอบถามประเมินผลผลิต ประเมินหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงานโครงการ มีจำนวน 4 ตัวชี้วัด มีข้อคำถาม จำนวน 52 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 ประเมินโดยครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ มีข้อคำถาม จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับเ0.87 ประเมินโดยนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถามตามประเด็นการประเมินเวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติคือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows 16.0
ผลการประเมิน
1. การประเมินด้านบริบทของโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ความสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ และการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ความเหมาะสมของระบบบริหารจัดการของโรงเรียน มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ความเพียงพอของสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ ด้านความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณและทรัพยากร ความเหมาะสมของวัฒนธรรมการทำงานในโรงเรียน ตามลำดับ
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการนิเทศ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ การวางแผนและกำหนดทิศทาง การประเมินผลและสรุปผล การดำเนินการนิเทศ และการสร้างขวัญกำลังใจ ตามลำดับ
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ จำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านคุณภาพโรงเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านคุณภาพผู้บริหารโรงเรียน ด้านคุณภาพครู และด้านคุณภาพนักเรียน ตามลำดับ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด