LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง      : รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี
     ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้ประเมิน : นายธีระเดช บัวล้อม
     ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
ปีการศึกษา     : 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี ปีการศึกษา 2564 ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP model มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการ และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ โดยใช้ประชากรทั้งหมดที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ในการประเมิน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 13 คน
รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ไม่รวมผู้แทนครูและผู้อำนวยการโรงเรียน) จำนวน 7 คน รวมทั้งหมด 21 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลการประเมินบริบท ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการและผลผลิตของโครงการ และนักเรียน จำนวน 139 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 139 คน รวมทั้งหมด 278 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลการประเมินด้านความพึงพอใจต่อโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ฉบับที่ 1 ประเมินบริบทของโครงการ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.950 ฉบับที่ 2 ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.884 ฉบับที่ 3 ประเมินกระบวนการของโครงการ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.901 ฉบับที่ 4 ประเมินผลผลิตของโครงการ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.962 และฉบับที่ 5 ประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.972 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (μ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
    ผลการประเมินโครงการพบว่า
    1. ผลการประเมินบริบทของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี
ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน รองผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.44, σ = 0.34) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความต้องการจำเป็นของโครงการ (μ = 4.51, σ = 0.36) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการ (μ = 4.45, σ = 0.40) และความเป็นไปได้ของโครงการ (μ = 4.37, σ = 0.28) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของของครูผู้สอน รองผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.38, σ = 0.37) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความพร้อมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง (μ = 4.48, σ = 0.37) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความเพียงพอของงบประมาณ (μ = 4.40, σ = 0.31) และการบริหารจัดการ (μ = 4.36, σ = 0.40) ตามลำดับ และความเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์และสถานที่
(μ = 4.28, σ = 0.37) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน รองผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (μ = 4.10, σ = 0.38) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน (μ = 4.23, σ = 0.37) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (μ = 4.17, σ = 0.42) การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน (μ = 4.15, σ = 0.39) และการคัดกรองนักเรียน (μ = 3.95, σ = 0.40) ตามลำดับ และการส่งต่อนักเรียน (μ = 3.93, σ = 0.34) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี
ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของของครูผู้สอน รองผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.55, σ = 0.34) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความสามารถในการเรียนรู้ (μ = 4.61, σ = 0.35) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ทักษะชีวิตและการคุ้มครองตนเอง (μ = 4.55, σ = 0.31) และลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน (μ = 4.50, σ = 0.35) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (μ = 4.31, σ = 0.40) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ครูที่ปรึกษาไปเยี่ยมบ้านนักเรียน สร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและร่วมกันแก้ไขปัญหานักเรียน (μ = 4.89, σ = 0.35) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับที่สูงขึ้น (μ = 4.79, σ = 0.55) และการคัดกรองเพื่อให้ครูที่ปรึกษารู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างละเอียด (μ = 3.97, σ = 0.45) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^