LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567เช็กด่วน!! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 25 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 5 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.- บาท สนใจสมัครตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567

การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชาติตระการวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ โดยใช้วงจร PDCA
ชื่อผู้รายงาน : นายพงษภัทร์ ยอดเพชร
ตำแหน่ง : รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ : รองผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการ
สถานศึกษา : โรงเรียน ชาติตระการวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์
ปีการศึกษา : 2565

การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชาติตระการวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พิษณุโลก อุตรดิตถ์ โดยใช้วงจร PDCA ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชาติตระการวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ 2. เพื่อพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชาติตระการวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์โดยใช้วงจร PDCA กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาอย่างเจาะจงจากผู้มีความพร้อมและเต็มใจให้ข้อมูล โดยใช้การสัมภาษณ์ ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนชาติตระการวิทยา จำนวน 1 คน ครูประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 12 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 33 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 66 คน รวมจำนวน 117 คนและกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ที่ได้มาอย่างเจาะจงจาก ผู้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และเป็นผู้มีความพร้อมและเต็มใจ ให้ข้อมูล ประกอบด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน ผู้อำนวยการโรงเรียน ชาติตระการวิทยา จำนวน 1 คน ครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 6 คน ครูฝ่ายปกครองโรงเรียนชาติตระการวิทยา จำนวน 2 คน ครูโรงเรียนชาติตระการวิทยา จำนวน 6 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียนชาติตระการวิทยา จำนวน 1 คน รวมจำนวน 21 คน การรวบรวมข้อมูลใช้กรอบการสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยแยกตามวัตถุประสงค์ มีดังนี้ 1) กรอบการสัมภาษณ์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อสรุปและสังเคราะห์ผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชาติตระการวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์และการบรรยาย สถิติในการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของงานวิจัย (Index of Item – Objective Congruence หรือ IOC สรุปผลการวิจัย จากการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนยังมีปัญหาขาดการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ ขาดการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง ขาดบุคลากรในการดำเนินการโดยตรงในเรื่องของประมวลผลข้อมูล ในการดำเนินงานด้านการคัดกรองนักเรียน การแปลผลข้อมูลขัดแย้งกัน และข้อความขาดความยืดหยุ่น ส่งผลให้ข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนกับพฤติกรรมของนักเรียน ยังไม่มีการประมวลข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีครูไม่เพียงพอต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเท่าที่ควร ส่วนในการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ครูไม่สามารถติดตาม ดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง และยังขาดการมีส่วนร่วมภายในโรงเรียน ไม่มีการบันทึกข้อมูล ในด้านของพฤติกรรมนักเรียน ขาดความเข้าใจและปล่อยปะละเลย และพบว่ายังไม่มีความชัดเจน ของข้อมูลในด้านการประสานงาน การส่งต่อนักเรียน มีเฉพาะภายในสถานศึกษา ผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA ของโรงเรียนชาติตระการวิทยานั้น จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้แนวทางการดำเนินงานโดยใช้วงจร PDCA ซึ่งต้องมีการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ต้องมีการสร้างความตระหนักและความเข้าใจระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พัฒนาและจัดทำเอกสารคู่มือที่สมบูรณ์ มีการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินมีแบบฟอร์มเอกสารการประเมินและแบบบันทึกพฤติกรรมนักเรียนให้ชัดเจน ตามวงจร PDCA ประชุมเพื่อรายงานความสำเร็จ ความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรคตามเกณฑ์ของโรงเรียนที่กำหนดไว้ คณะครูทบทวนการปฏิบัติงานที่ผ่านมาภายใต้วงจร PDCA เพื่อใช้ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชาติตระการวิทยาในปีการศึกษาต่อไป



ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^