ขออนุญาตเผยแพร่ผลงาน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564
โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model)
ผู้ศึกษา เรืองอุไร โตประภากร
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของโรงเรียนอนุบาลระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model)
มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิต จากโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของโรงเรียนอนุบาลระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร คณะครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งสิ้น 761 คน
โดยกลุ่มของผู้บริหาร ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน และรองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 4 คน ส่วนกลุ่มของคณะครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Proportionate Stratified Random Sampling) ซึ่งประกอบด้วย คณะครู จำนวน 84 คน นักเรียน จำนวน 336 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 336 คน รวมทั้งสิ้น 756 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie, R.V. and Morgan, D.W.) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ของลิเคิร์ท (Likert) โดยแบ่งแบบสอบถามออกเป็น 4 ชุด ประกอบด้วย
ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และคณะครู เพื่อประเมินด้านบริบท (Context) จำนวน 15 ข้อ
ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และคณะครู เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) จำนวน 18 ข้อ
ชุดที่ 3 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และคณะครู เพื่อประเมินด้านกระบวนการ
ดำเนินงาน (Process) จำนวน 16 ข้อ
ชุดที่ 4 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน
เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product) จำนวน 17 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย (X ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของโรงเรียนอนุบาลระยอง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564
โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) สรุปได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของโรงเรียนอนุบาลระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษา และคณะครู โดยรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย สามอันดับแรก ได้แก่ ด้านกระบวนการดำเนินงาน ด้านผลผลิต และด้านปัจจัยนำเข้า
1.1 ด้านบริบท โดยรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ
พบว่า เกือบทุกข้ออยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย สามอันดับแรก ได้แก่
การกำหนดเป้าหมายของโครงการมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและวัตถุประสงค์ของโครงการ มีวิธีการดำเนินงานของโครงการมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการในด้านส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน
ใฝ่เรียนรู้ ศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ตลอดจนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และการกำหนดหลักการของโครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียน
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า
เกือบทุกข้ออยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย สามอันดับแรก ได้แก่ มีการกำหนดนโยบายและวิสัยทัศน์สนับสนุน ผู้บริหาร และคณะครูที่รับผิดชอบการจัดกิจกรรมในโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ
ในเรื่องนโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ และมีงบประมาณสนับสนุนโครงการส่งเสริมนิสัย
รักการอ่านเพียงพอ
1.3 ด้านกระบวนการดำเนินงาน โดยรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ
พบว่า เกือบทุกข้ออยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย สามอันดับแรก ได้แก่
มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างชัดเจนเหมาะสม มีการประสานงานกับครูประจำชั้นและครูผู้สอนภาษาไทยในแต่ละระดับชั้น เพื่อจัดกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างทั่วถึง และมีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อปรึกษาหารือและร่วมกันวางแผนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัย
รักการอ่าน
1.4 ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า เกือบทุกข้ออยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย สามอันดับแรก ได้แก่ ผู้บริหาร คณะครู และ
ผู้ปกครองนักเรียน สนับสนุนส่งเสริมการจัดกิจกรรม โดยเน้นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านแก่นักเรียน นักเรียนมีผลการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนดีขึ้น และโรงเรียนจัดแหล่งเรียนรู้และแหล่งค้นคว้าให้กับนักเรียน
2. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของโรงเรียนอนุบาลระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ด้านผลผลิต โดยรวมและรายข้อ
อยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด โดย
เรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย สามอันดับแรก ได้แก่ นักเรียนมีสมุดบันทึกการอ่านของตนเอง นักเรียนมีความสุข
จากการอ่านหนังสือจากสื่อทุกรูปแบบ และโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านเกิดประโยชน์ต่อนักเรียน
3. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของโรงเรียนอนุบาลระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ด้านผลผลิต โดยรวมและรายข้อ อยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด โดย
เรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย สามอันดับแรก ได้แก่ ผู้บริหาร คณะครู และผู้ปกครองนักเรียน สนับสนุนส่งเสริม
การจัดกิจกรรม โดยเน้นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านแก่นักเรียน นักเรียนมีสมุดบันทึกการอ่านของตนเอง และโครงการ
ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านเกิดประโยชน์ต่อนักเรียน