LASTEST NEWS

24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ

usericon

ชื่อผลงานทางวิชาการ    รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์
ผู้วิจัย                ว่าที่เรือตรีศุภวัฒน์ เทียมศรีรัชนีกร
ตำแหน่ง            ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี
ปีที่ทำวิจัย            2564

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ 3) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ 4) ประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ วิธีดำเนินการวิจัย มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้เรียน โดยการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้เรียน 2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้เรียน โดยการนำผลการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้เรียนมากำหนดเป็นกรอบในการยกร่างรูปแบบ การตรวจสอบความตรงและความเหมาะสมของรูปแบบ โดยการจัดประชาพิจารณ์ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวแทนครู ตัวแทนนักเรียน และผู้ปกครองเครือข่าย รวมผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์จำนวน 50 คน 3) การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้เรียน ดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ 4) การประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 547 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ มีความตรงและความเหมาะสมมาก ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) การพัฒนาศักยภาพครู 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การพัฒนาสื่อและนวัตกรรม 4) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และ 5) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และชุมชนในการจัดการศึกษา
    2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ ได้แก่ 1) การพัฒนาศักยภาพครู พบว่า ครูได้รับการพัฒนาตนเอง สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนวิธีการสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พบว่า ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมด้วยตนเอง ได้คิด และลงมือปฏิบัติจริง ทำให้ผู้เรียนมีความสุข และสนุกกับการเรียนรู้ 3) การพัฒนาสื่อและนวัตกรรม พบว่า ครูมีการผลิตและพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะเรียนรู้มากขึ้น 4) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ พบว่า โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้น ครู บุคลากร และนักเรียนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ได้จากทุกอาคารเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ และมีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงพอต่อผู้เรียน 5) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และชุมชนในการจัดการศึกษา พบว่า ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนมากขึ้น นำไปสู่การดูแลช่วยเหลือผู้เรียนได้ตรงตามสภาพปัญหา และ 6) การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่ทางโรงเรียนกำหนดและมีทักษะการคิดวิเคราะห์ ที่พัฒนาขึ้นกว่าเดิม
    3. ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^