รายงานการประเมินโครงการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนอนุบาลโพทะเล "รัฐบำรุง"
ผู้ประเมิน นางทิพยรัตน์อาภา สืบสวง
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
รายงานการประเมินโครงการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลโพทะเล "รัฐบำรุง" ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อโครงการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลโพทะเล "รัฐบำรุง" สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ปีการศึกษา 2564 โดยการประเมินโครงการตามรูปแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม ประเมิน 4 ด้าน คือ 1) ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) 3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนอนุบาลโพทะเล "รัฐบำรุง" ปีการศึกษา 2564 จำนวนรวมทั้งสิ้น 575 คน กำหนดขนาดของ กลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane (1973) และใช้วิธีการเทียบxxxส่วน (Proportion) และสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินโครงการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลโพทะเล "รัฐบำรุง" โดยภาพรวม คือ ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และ ด้านผลผลิต พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ รายละเอียด แต่ละด้านดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) โครงการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลโพทะเล "รัฐบำรุง" ประเมินโดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและข้าราชการครูและบุคลากร พบว่า ผลการประเมิน ในภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
2. ผลการการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) โครงการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลโพทะเล "รัฐบำรุง" ประเมินโดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และข้าราชการครูและบุคลากร พบว่า ผลการประเมินในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
3. ผลการการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) โครงการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลโพทะเล "รัฐบำรุง" ประเมินโดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และข้าราชการครูและบุคลากร พบว่า ผลการประเมินในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) โครงการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลโพทะเล "รัฐบำรุง" ประเมินโดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้าราชการครูและบุคลากร ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน พบว่า ผลการประเมินในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้