การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านดอนสำนัก ปีก
ผู้รายงาน นางสาวไอลดา โสรถาวร
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนสำนัก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านดอนสำนัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านดอนสำนัก 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านดอนสำนัก 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านดอนสำนัก 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านดอนสำนัก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ คณะครู จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมผู้บริหารและตัวแทนครู) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 จำนวน 40 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้ปกครองนักเรียน 40 คน ซึ่งเป็นผู้ปกครองนักเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 ทุกคน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้น 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model โดยแบบประเมิน มี 4 ด้านได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สำหรับครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนสำนัก ฉบับที่ 2 แบบประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนสำนัก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่(Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของตารางประกอบการบรรยาย โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป
ผลการประเมินโครงการพบว่า
จากการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านดอนสำนัก สรุปผลการประเมินได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินสภาวะแวดล้อม โดยการประเมินของครู คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน พบว่า ผลประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินมีระดับความสอดคล้องมากที่สุด เรียงตามลำดับได้ ดังนี้ สภาพแวดล้อมในโรงเรียนสวยงามเอื้อต่อการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์การประเมินมีระดับความสอดคล้องมากที่สุด สภาพแวดล้อมในโรงเรียนสะอาดตามมาตรฐานสุขาภิบาล ผ่านเกณฑ์การประเมินมีระดับความสอดคล้องมากที่สุด โรงเรียนมีนโยบายและแผนการส่งเสริมสุขภาพประกาศใช้อย่างชัดเจนและครอบคลุม ผ่านเกณฑ์การประเมินมีระดับความสอดคล้องมากที่สุด และในส่วนแบบประเมินของนักเรียน โรงเรียนมีครูคอยดูแลความเป็นระเบียบการเข้าออกจากโรงเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมินมีระดับความพร้อมมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ โดยการประเมินของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน พบว่า ผลประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน มีระดับความเพียงพอมากที่สุด เรียงตามลำดับได้ ดังนี้ คู่มือการดำเนินงานมีความชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้ ผ่านเกณฑ์การประเมินมีระดับความเพียงพอมากที่สุด บุคลากรในโรงเรียนและประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดและร่วมดำเนินการ ผ่านเกณฑ์การประเมินมีระดับความเพียงพอมากที่สุด และในส่วนแบบประเมินของนักเรียน โรงเรียนมีห้องพยาบาลและมียาเพียงพอต่อจำนวนนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมินมีระดับความเพียงพอมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ โดยการประเมินของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน พบว่า ผลประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน มีระดับการดำเนินงานมากที่สุด เรียงตามลำดับได้ ดังนี้ ดำเนินการดูแลปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ ผ่านเกณฑ์การประเมินมีระดับการดำเนินงานมากที่สุด การดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบเป็นไปในรูปของคณะกรรมการ ผ่านเกณฑ์การประเมินมีระดับการดำเนินงานมากที่สุด โรงเรียนส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจสุขภาพตนเองอย่างสม่ำเสมอ ผ่านเกณฑ์การประเมินมีระดับการดำเนินงานมากที่สุด ในส่วนแบบประเมินของนักเรียน นักเรียนล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารกลางวัน ผ่านเกณฑ์การประเมินมีระดับการดำเนินงานมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยการประเมินของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน พบว่า ผลประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน มีระดับผลการดำเนินงานและความพึงพอใจมากที่สุด เรียงตามลำดับได้ ดังนี้ นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพพื้นฐานที่จำเป็น ผ่านเกณฑ์การประเมินมีระดับผลการดำเนินงานและความพึงพอใจมากที่สุด สภาพแวดล้อมในโรงเรียนมีความสะอาดและถูกสุขลักษณะ ผ่านเกณฑ์การประเมินมีระดับผลการดำเนินงานและความพึงพอใจมากที่สุด ปัญหาสุขภาพได้รับการแก้ไข /ปรับปรุง สอดคล้องกับสภาพปัญหาของชุมชน เช่น โรคไข้เลือดออก ผ่านเกณฑ์การประเมินมีระดับผลการดำเนินงานและความพึงพอใจมาก ในส่วนแบบประเมินของนักเรียน นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินมีระดับผลการดำเนินงานและความพึงพอใจมากที่สุด