การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด
ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด
ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้ประเมิน : นายปฏิเวธ แก้วนาม ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ
รองผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564
2. เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564
3. เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564
4. เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 ได้แก่
4.1 ผลผลิตโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 เกี่ยวกับคุณภาพของการดำเนินการ
4.2 ผลผลิตโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 เกี่ยวกับผลที่เกิดกับนักเรียน
4.3 ผลการคัดกรองและแก้ปัญหาการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีปัญหาตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564
ข
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน มีจำนวนทั้งสิ้น 599 คน จำแนกเป็น
1. ประชากรครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 จำนวน 76 คน
2. ประชากรคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 จำนวน 13 คน (ไม่นับรวมตัวแทนครู จำนวน 1 คน และผู้บริหาร จำนวน 1 คน)
3. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของนักเรียน ได้แก่
3.1 ประชากรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งสิ้น จำนวน 1,532 คน
3.2 กลุ่มตัวอย่างนักเรียน รวมทั้งสิ้น จำนวน 240 คน จำแนกเป็น
3.2.1 กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จำนวน 3 ห้องเรียนได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) จากนักเรียน ม.1/1 ม.2/1 และ ม.3/1 ที่มีนักเรียนห้องละ 40 คน รวมจำนวน 120 คน
3.2.2 กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 3 ห้องเรียนได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) จากนักเรียน ม. 4/1 ม. 5/1 และ ม. 6/1 ที่มีนักเรียนห้องละ 40 คน รวมจำนวน 120 คน
4. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของผู้ปกครอง จำแนกเป็น
4.1 ประชากรที่เป็นผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น 1,485 คน (ผู้ปกครองซ้ำกัน จำนวน 47 คน จากนักเรียนทั้งหมดจำนวน 1,532 คน)
4.2 กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จำนวน 3 ห้องเรียนได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) จากนักเรียน ม. 1/1 ม. 2/1 และ ม.3/1 ที่มีนักเรียนห้องละ 40 คน รวมจำนวน 120 คน
4.3 กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 3 ห้องเรียนได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) จากนักเรียน ม. 4/1 ม. 5/1 และ ม. 6/1 ที่มีนักเรียนห้องละ 40 คน รวมจำนวน 120 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 8 ฉบับ ได้แก่
ฉบับที่ 1 แบบประเมินสภาพแวดล้อม จำนวน 15 ข้อ
ฉบับที่ 2 แบบประเมินปัจจัยนำเข้า จำนวน 10 ข้อ
ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการ จำนวน 88 ข้อ
ฉบับที่ 4 แบบประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 เกี่ยวกับคุณภาพของการดำเนินการ จำนวน 53 ข้อ
ค
ฉบับที่ 5 แบบประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 เกี่ยวกับผลที่เกิดกับนักเรียน จำนวน 30 ข้อ
ฉบับที่ 6 แบบันทึกผลการคัดกรองและแก้ปัญหาการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่มีปัญหาตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564
ฉบับที่ 7 แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 10 ข้อ
ฉบับที่ 8 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 10 ข้อ
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 ในด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป มีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์การประเมินที่จะดำเนินการต่อไป
2. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 ในด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป มีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์การประเมินที่จะดำเนินการต่อไป
3. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 ในด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 ผ่านเกณฑ์การประเมินซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่
4.1 ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 เกี่ยวกับคุณภาพของการดำเนินการตามโครงการ ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47 ผ่านเกณฑ์ การประเมินซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
ง
4.2 ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 เกี่ยวกับผลที่เกิดกับนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.3 ผลการคัดกรองและแก้ปัญหาการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีปัญหาตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 634 คน คิดเป็นร้อยละ 41.38 จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ทั้งหมดจำนวน 1,532 คน โดยมีนักเรียนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มมีปัญหาด้านการเรียนมากที่สุด จำนวน 615 คน คิดเป็นร้อยละ 40.14 โรงเรียนสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีปัญหาด้านการเรียน โดยไม่มีนักเรียนที่มีผลการเรียน 0,ร มส และ มผ ร้อยละ 100
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49 ผ่านเกณฑ์การประเมินซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.5 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชะอวด ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.56 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50