ประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบActive Learning
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ สมุทรสาคร ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตน
ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ชื่อผู้ประเมิน นายศิวาณัฏฐ์ จิรภาสวุฒิกุล
รองผู้อำนวยการโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ สมุทรสาคร ในพระราชูปถัมภ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ Active Learning โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ สมุทรสาคร ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ผู้ประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบ IPO Model โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ก่อนการดำเนินโครงการ 2) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ขณะดำเนินโครงการ 3) เพื่อประเมินผลผลิต (Output Evaluation) หลังการดำเนินโครงการ จากประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เป็นผู้ประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Output Evaluation) พฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูตามรูปแบบ Active Learning
ซึ่งประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเฉลิม
พระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ สมุทรสาคร ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 3 ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (µ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
กลุ่มที่ 2 เป็นผู้ให้ข้อมูล ด้านผลผลิต (Output Evaluation) (ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน) ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ สมุทรสาครในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1,433 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและแบบสรุปข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
ค่าร้อยละ
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า โครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ Active Learning โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์สมุทรสาคร ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวม มีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านทรัพยากร อุปกรณ์ อาคารสถานที่ รองลงมา คือ ด้านการบริหารที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรม ส่วนด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านบุคลากร และด้านงบประมาณ ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านกระบวนการ โครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ Active Learning โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ สมุทรสาคร ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานและรายงานผล (Act) รองลงมา คือ ด้านการดำเนินกิจกรรม (Do) และการวางแผนกำหนดงาน (Plan) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลกิจกรรม (Check)ตามลำดับ
3. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Output Evaluation) ของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ Active Learning โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ สมุทรสาคร ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มี 2 ด้าน ดังนี้
3.1 พฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูตามรูปแบบ Active Learning โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ สมุทรสาคร ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการออกแบบการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการใช้และพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและด้านการวัดและประเมินผล
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์
สมุทรสาคร ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงที่สุด และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนน้อยที่สุด
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบค่าร้อยละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนปีการศึกษา 2563 กับ ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมพบว่ามีพัฒนาการสูงขึ้น และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนปีการศึกษา 2563 กับ ปีการศึกษา 2564 พบว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงขึ้นมากที่สุด และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงขึ้นน้อยที่สุด
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนปีการศึกษา 2564 กับค่าเป้าหมายของสถานศึกษา โดยภาพรวมพบว่ามีพัฒนาการสูงขึ้น และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนปีการศึกษา 2564 กับค่าเป้าหมายของสถานศึกษา พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าค่าเป้าหมายของสถานศึกษามากที่สุด และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าค่าเป้าหมายของสถานศึกษาน้อยที่สุด