การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนฯ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์
ผู้วิจัย ธวัชชัย บุญหนัก
สถานที่ โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการบริหารงานวิชาการด้านคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 702 คน ได้มาโดยครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก (Sample Random Sampling) ส่วนนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามxxxส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ เครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และ ครูวิชาการโรงเรียน ที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 75 คน ซึ่งได้มาของผู้ให้ข้อมูล โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครูที่ปฏิบัติการสอน และนักเรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1900 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คู่มือการดำเนินงาน และแบบประเมิน ระยะที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จำนวน 702 คน ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก (Sample Random Sampling) ส่วนนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามxxxส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.05) และ ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.26)
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ขอบข่ายของงานวิชาการ 2) การพัฒนาทีมงานวิชาการในสถานศึกษา 3) การมีส่วนร่วม 4) กระบวนการบริหารงานวิชาการ
3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ พบว่า 1) ขอบข่ายงานวิชาการ ได้แก่ การวางแผนงานวิชาการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ การวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน การแนะแนวการศึกษา และการประเมินผล 2) ผลการพัฒนางานวิชาการโดยการทำงานเป็นทีม ได้แก่ การรับรู้และค้นหาปัญหา การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผนปฏิบัติการ การนำแผนไปปฏิบัติ และการประเมินผลลัพธ์ 3) ผลการมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้นในการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ การมีส่วนร่วมวางแผนกลยุทธ์ การมีส่วนร่วมการวางแผน การมีส่วนร่วมการปฏิบัติการ การมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผล การมีส่วนร่วมการตัดสินใจ การมีส่วนสร้างความชื่นชมร่วมกับชุมชน และการมีส่วนร่วมปรับปรุงและพัฒนา 4) กระบวนการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไข
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และ ครูผู้สอน