ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD
ผู้วิจัย นางสาวอรวิมล จันทร์พวง
ปีที่ศึกษา 2563
บทคัดย่อ
ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เปรียบเทียบทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลขามใหญ่บ้านหนองไผ่ สังกัด กองการศึกษา เทศบาลตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD จำนวน 20 แผน 2) หนังสืออ่านเพิ่มเติม จำนวน 5 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ 4) แบบวัดทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย จำนวน 20 ข้อ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.65/84.71
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.52, S.D. = 0.53)