การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน
ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวพัณณิตา สุวรรณภักดี ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ
ผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนวัดท่าสะท้อน อำเภอชะอวด จังหวัด
นครศรีธรรมราช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564
2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564
3. เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564
4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 ได้แก่
4.1 ผลการจัดกิจกรรมการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564
4.2 ความสามารถในการสำรวจ วิเคราะห์ วางแผนเกี่ยวกับงานอาชีพที่นักเรียนมีความสนใจ มีความถนัด และความสามารถของตนเอง
4.3 คุณลักษณะทางทักษะอาชีพและประสบการณ์อาชีพของนักเรียน
4.4 ความพึงพอใจของครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564
4.5 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพ
จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน รวมทั้งหมดจำนวน 91 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 9 คน ครูและบุคลากร จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมตัวแทนครู จำนวน 1 คน และผู้บริหาร จำนวน 1 คน) และผู้ปกครอง จำนวน 50 คน และนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 – 6 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 18 คน ของโรงเรียนวัดท่าสะท้อน อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2564
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ จำนวน 12 ข้อ
ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 12 ข้อ ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการของโครงการ จำนวน 25 ข้อ ฉบับที่ 4 แบบประเมินด้านผลผลิตโครงการ ประกอบด้วย
ฉบับที่ 4.1 แบบประเมินผลการจัดกิจกรรมการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 ข้อ
ฉบับที่ 4.2 แบบประเมินความสามารถในการสำรวจ วิเคราะห์ วางแผนเกี่ยวกับงานอาชีพที่นักเรียนมีความสนใจ มีความถนัด และความสามารถของตนเอง จำนวน 10 ข้อ
ฉบับที่ 4.3 แบบประเมินผลคุณลักษณะทางทักษะอาชีพและประสบการณ์อาชีพของนักเรียน จำนวน 10 ข้อ
ฉบับที่ 4.4 แบบประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 ข้อ
ฉบับที่ 4.5 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 ในด้านสภาพแวดล้อม(Context) ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ครูและบุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป มีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์การประเมินที่จะดำเนินการต่อไป
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 ตามคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ครูและบุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป มีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์การประเมินที่จะดำเนินการต่อไป
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ(Process) โครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 ผ่านเกณฑ์การประเมินซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมินโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 ในด้านผลผลิต (Product) ของโครงการ ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่
4.1 ลการจัดกิจกรรมการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 ผ่านเกณฑ์การประเมินซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.2 ผลการประเมินความสามารถในการสำรวจ วิเคราะห์ วางแผนเกี่ยวกับงานอาชีพที่นักเรียนมีความสนใจ มีความถนัด และความสามารถของตนเอง ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร และผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.57 ผ่านเกณฑ์การประเมินซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.3 ผลการประเมินคุณลักษณะทางทักษะอาชีพและประสบการณ์อาชีพของนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.5 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าสะท้อน ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.54 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
อ่านต่อได้ที่: https://www.kruwandee.com/index.php?module=forum-write&cat=10