LASTEST NEWS

01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 

รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลป่าบอน ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2564
2) การพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพและสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
3) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการ 5) ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินโครงการ คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น
5.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 (GPA) 5.2) ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 5.3) สมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 5.4) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอน จำนวน 40 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 461 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 461 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ จำนวน 12 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.86-0.95 และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับสถานศึกษา
ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง แบบบันทึกผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้น ป.6 ตามสภาพจริง แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง แบบบันทึกการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
    ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
    1. ผลการประเมินข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลป่าบอน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูและผู้บริหารมีความคิดเห็นโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.52, S.D.=0.28 ) ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.52, S.D.=0.27 ) เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
    2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลป่าบอน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหาร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูและผู้บริหารมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.54, S.D.=0.24 ) ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.60, S.D.=0.21 )
ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
    3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลป่าบอน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหาร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูและผู้บริหารมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.51, S.D.=0.24 ) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้กครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด
( x ̅=4.53, S.D.=0.22 ) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( x ̅=4.59, S.D.=0.21 ) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
    4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลป่าบอน ปีการศึกษา 2564 มีรายละเอียดดังนี้
     4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลป่าบอน ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหาร พบว่า
โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.52, S.D.=0.27 ) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า ผู้บริหาร ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องเรียนรู้และร่วมศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นเร่งด่วนของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.73,S.D.=0.64 ) รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในการกำหนดข้อตกลงหรือการปฏิบัติงานร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.67, S.D.=0.60 ) ส่วนรายการการส่งเสริมให้ครูมีเวลาหรืออำนวยความสะดวกให้ครูได้พบปะเพื่อสะท้อนผลการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนซึ่งกันและกัน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( x ̅=4.39, S.D.=0.77 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
     4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับนักเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหาร พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.54, S.D.=0.23 ) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านการมีสุขภาพกายสุขภาพจิตและสุขนิสัยที่ดี มีค่าเฉลี่ยคุณภาพสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.58, S.D.=0.41 ) รองลงมา คือด้านการรู้จักตนเองและพึ่งตนเองได้ มีค่าเฉลี่ยคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.56, S.D.=0.36 ) ด้านการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและสังคม มีค่าเฉลี่ยคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด
( x ̅=4.54, S.D.=0.37 ) ด้านการมีทักษะในการหลีกเลี่ยงป้องกันอันตรายและพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.53, S.D.=0.28 ) ส่วนด้านการมีเจตคติที่ดีและมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพสุจริตและด้านรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.52, S.D.=0.42 ) และ ( x ̅=4.52, S.D.=0.43 )
     4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับนักเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.55, S.D.=0.24 ) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านการรู้จักตนเองและพึ่งตนเองได้ มีค่าเฉลี่ยคุณภาพสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.61, S.D.=0.31 ) รองลงมา คือ ด้านการมีเจตคติที่ดีและมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพสุจริต มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.58, S.D.=0.40 ) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีค่าเฉลี่ย และ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.51, S.D.=0.40 )
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับนักเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.56, S.D.=0.24 ) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านการรู้จักตนเองและพึ่งตนเองได้ มีค่าเฉลี่ยคุณภาพสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.62, S.D.=0.32 ) รองลงมา คือ ด้านรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.58, S.D.=0.34 ) ด้านการมีเจตคติที่ดีและมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพสุจริต มีค่าเฉลี่ยคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.57, S.D.=0.40 ) ตามลำดับ ส่วนด้านการมีทักษะในการหลีกเลี่ยงป้องกันอันตรายและพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.51, S.D.=0.34 )
4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับนักเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.56,
S.D.=0.20 ) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า
ด้านรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยคุณภาพสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.67, S.D.=0.25 ) รองลงมา คือ ด้านการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและสังคม
มีค่าเฉลี่ยคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.61, S.D.=0.41 ) ด้านการมีสุขภาพกายสุขภาพจิตและสุขนิสัยที่ดี มีค่าเฉลี่ยคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.61, S.D.=0.26 ) ตามลำดับ
ส่วนด้านการมีทักษะในการหลีกเลี่ยงป้องกันอันตรายและพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( x ̅=4.47, S.D.=0.30 )
    4.6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับนักเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพและสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหาร นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูและผู้บริหารมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.54, S.D.=0.23 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.55, S.D.=0.24 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.56, S.D.=0.24 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์
การประเมิน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.56, S.D.=0.20 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลป่าบอน ตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหาร นักเรียน และผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.51, S.D.=0.29 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.54, S.D.=0.26 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 4 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้ปกครองมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅=4.52, S.D.=0.29 )
ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

    4.8 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพผู้เรียน จำแนกได้ดังนี้
        4.8.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 (GPA) 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนอนุบาลป่าบอน โดยภาพรวม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ย GPA ร้อยละ 73.63 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.8.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนอนุบาลป่าบอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 มีค่าคะแนนเฉลี่ย 46.60 มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.8.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินสมรรถนะนักเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง โดยภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับ
ดี-ดีเยี่ยม ร้อยละ 93.10 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 7 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.8.4 ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง โดยภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับดี-ดีเยี่ยม ร้อยละ 97.54 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 8 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    สรุปผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลป่าบอน
ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
    1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาโครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    2. ควรจัดให้มีโครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นโครงการต่อเนื่องในทุก ๆ
ปีการศึกษา
    3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
    4. โรงเรียนควรพัฒนาการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
จนกลายเป็นวิถีของโรงเรียนที่มีความเด่นชัดและมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเองสามารถเป็นแบบอย่างของโรงเรียนอื่นได้

    ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการหรือการวิจัยครั้งต่อไป
    1. ควรนำรูปแบบการประเมินโครงการของ CIPP Model ไปปรับใช้กับการประเมินโครงการอื่น ๆ ในโรงเรียน เนื่องจากสารสนเทศที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการยกระดับพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต่อไป
2. ควรมีการประเมินโครงการเชิงสาเหตุเพื่อให้ทราบว่าสาเหตุหรือปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของโครงการ ซึ่งจะทำให้เป็นแนวทางการนำมาปรับปรุงพัฒนาโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
    3. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^