รายงานการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2564
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) โรงเรียนบ่อทองวงษ์จันทร์วิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
ผู้รายงาน นางสาวพรวิภา มธุรส
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ่อทองวงษ์จันทร์วิทยา
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2564 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) โรงเรียนบ่อทองวงษ์จันทร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2564 ด้านบริบท 2) เพื่อประเมินหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2564 ด้านปัจจัยนำเข้า 3) เพื่อประเมินหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2564 ด้านกระบวนการ 4) เพื่อประเมินหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2564 ด้านผลผลิต
รูปแบบการประเมินโครงการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปโมเดล (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ประกอบด้วยการประเมิน 4 ด้านได้แก่ การประเมิน ด้านบริบท (Context) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) การประเมินด้านกระบวนการ (Process) และ การประเมินด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2564 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) โรงเรียนบ่อทองวงษ์จันทร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Xˉ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการประเมิน พบว่า
1. การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2564 ด้านบริบท พบว่า ความนำ
วิสัยทัศน์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และคำอธิบายรายวิชา ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และเกณฑ์การจบการศึกษา ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
2. การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2564 ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ความพร้อมของครูผู้สอน ทักษะการถ่ายทอดของครู สื่อการเรียนรู้ เทคนิคการสอน และการวัดและประเมินผล ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ความพร้อมของนักเรียน เทคโนโลยี ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โครงการสนับสนุนหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตร และการบริหารจัดการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
3. การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2564 ด้านกระบวนการ พบว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการวัดและประเมินผล การนิเทศติดตามการใช้หลักสูตร และ การมีส่วนร่วมของชุมชน ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
4. การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2564 ด้านผลผลิต พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก